Sunday, March 13, 2016

Enzyme for soil

การฟื้นฟูคุณภาพดิน ล้างพิษดิน และสูตรปุ๋ยน้ำหมักจาก พืช และสัตว์ ......เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช ..... 
รากของพืช กินอาหาร แร่ธาตุ จากดินโดยตรงไม่ได้ ต้องอาศัยจุลินทรีย์ซึ่งเกาะอยู่ที่รากเป็นคนเคี้ยว แล้วป้อนให้รากของพืชอีกครั้งหนึ่ง แต่จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ที่รากของพืชที่เราต้องการจะไม่ค่อยแข็งแรง มีความต้านทานน้อยกว่าจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ที่รากของวัชพืช แล้วแถมจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ยังใจเสาะ ตายง่ายเสียอีก โดนแดดจังๆ ก็ตาย โดนปุ๋ยเคมีก็ตาย(เพราะโดนดูดน้ำออกจากตัว) โดนยาฆ่าหญ้าก็ตาย(เพราะเป็นพิษ) 
ดังนั้นการที่จะบำรุงให้พืชของเรางอกงามก็ต้องทำให้จุลินทรีย์ที่รากของพืชของเรามีจำนวนมากๆ และปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้จุลินทรีย์เหล่านี้อยู่อย่างมีความสุข ขยายพันธุ์ต่อ ต่อไปได้มากๆ ก็โดย
– คลุมดิน จุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ชอบอยู่ในที่มืด ร้อน และชื้น(แต่ไม่ใช่แฉะ) ดังนั้นการใช้ฟาง หรือหญ้าคลุมโคนต้นไม้จึงเป็นการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับจุลินทรีย์……..และยังเก็บกักความชื้นให้กับพืชในหน้าแล้ง และช่วยชลอไม่ให้น้ำฝนพัดพาสิ่งที่มีประโยชน์ไปในหน้าฝน ได้ดีอีกด้วยครับ…….
– เลิกใช้ปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยเคมีจะดูดน้ำจากรอบตัวเพื่อละลาย ปลดปล่อยอิออนจากตัว…….จุลินทรีย์ของเราก็จะพลอยโดนดูดน้ำออกจากตัวไปด้วย….ตาย…สนิท…ครับ แล้วยังมีพวกสารผสมในปุ๋ยที่ไม่เกี่ยวกับพืช (แต่ทำให้ได้น้ำหนัก ได้เปอร์เซนต์ตามกฎหมาย) แต่ตกค้างเป็นพิษกับจุลินทรีย์อีก……ตกค้างมากๆ ก็เป็นพิษกับพืชได้อีกนาครับ……..
– เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหญ้าเป็นพิษและส่งผลกระทบมหาศาล ที่ชัดเจนที่สุดในสวนยาง เปลือกต้นยางจากพื้นดินจนถึงประมาณ 30 ซม. หน้ายางแห้ง ไม่มีน้ำยางเลย แม้จะเลิกมา 2 ปีแล้วก็เถิด คงไม่ฟื้นคืนอีกแล้ว
– ใส่ปุ๋ยแห้งชาม แห้งชามคือใส่ปุ๋ยหมักแห้ง ความถี่ของการใส่ปุ๋ยหมักแห้งคือประมาณ “เดือนละครั้ง”
– ใส่ปุ๋ยน้ำชาม คือ ใส่ปุ๋ยหมักน้ำ จะใช้รดพื้นดิน หรือฉีดพ่นอาบ ใบ ลำต้น ไปเลยก็ไม่ผิดกติกา หรือ พวกผัก ไม้เตี้ย ไม้ลงหัว จะใส่ฝักบัวรดไปเลยก็ได้ ความถี่ของการใส่ปุ๋ยน้ำ ก็ทุก 1 – 2 สัปดาห์ นอกนั้นรดน้ำเปล่า
– ปริมาณของชามแห้ง และชามน้ำ ก็กะประมาณเอาเองตามขนาดของพืชของเรา เช่น ต้นยางกรีดแล้ว จะใส่เดือนละ 1 กำมือก็กระไรอยู่……พริกขี้หนู ถ้าจะใส่เดือนละกิโลก็เกินเหตุ….
สร้างโรงงานผลิตปุ๋ย (ปุ๋ยน้ำหมักจากจุลินทรีย์)
การทำปุ๋ยใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยใช้วัตถุดิบที่เราหาได้ง่ายๆ มาทำ ก่อนอื่นเราต้องสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยของเราไว้ใช้เองเสียก่อน
การลงทุนสร้างโรงงานระยะแรกต้องตั้งงบประมาณไว้ เป็นค่าถังหมัก ค่าหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ซื้อใช้เถิด ไม่ต้องมัวไปเพาะเองอยู่) 1 ลิตร และค่าน้ำตาลทรายแดง 1 ก.ก.
โรงงานผลิตปุ๋ย ก็คือ จุลินทรีย์ เบื้องต้นเราซื้อมาใช้ 1 ลิตร แล้วนำมาหมักขยายก่อนจะได้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ประมาณ 22 ลิตร ถ้าอยากได้มากกว่านั้น ก็เอาหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักขยายไว้แล้วนี้หมักขยายต่อไปได้อีกเรื่อยๆ จุลินทรีย์ที่หมักขยายแล้วนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการทำปุ๋ยทั้งปุ๋ยหมักแห้ง และปุ๋ยหมักน้ำ ต่อจากนี้ไปคำว่า “หัวเชื้อจุลินทรีย์” จะหมายถึงจุลินทรีย์ที่หมักขยายเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องวิ่งไปซื้อใหม่ลิตรละร้อยอยู่ทุกครั้งที่จะหมักปุ๋ย
จุลินทรีย์ที่หมักขยายแล้วนี้ยังไม่ใช่ปุ๋ย จะเอาไปรดต้นไม้ก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไรมาก ได้แต่จุลินทรีย์กับน้ำตาลนิดหน่อย ใจเย็นๆ สร้างโรงงานผลิตก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยว่ากันต่อถึงขบวนการผลิตปุ๋ยต่อไป
หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่จะนำมาหมักขยาย เพื่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย หรือจะใช้แบบที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด
ถังที่ใช้หมักขยายเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ถังพลาสติกสิดำ หรือสีน้ำเงิน แบบมีเข็มขัดรัดฝา ความจุประมาณ 20 – 30 ลิตร ล้าง ทำความสะอาดให้เรียบร้อย
น้ำตาลทรายแดงที่จะใช้หมักขยายเชื้อจุลินทรีย์ ในตลาดใกล้บ้าน จุถุงละ 0.5 ก.ก. เราใช้ 1 ก.ก. ก็ซื้อมา 2 ถุง
ใส่น้ำสะอาดลงไปในถังหมัก 20 ลิตรครับ……จะเป็นน้ำประปา น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำคลอง ยกเว้นน้ำทะเล…..แต่ถ้าเป็นน้ำประปาต้องขังไว้ให้คลอรีนระเหยไปให้หมดก่อน
เพื่อความรวดเร็วในการละลายน้ำตาลทรายแดง ผมเลยตักน้ำจากในถังหมักออกมา 2 ขัน ใส่หม้อตั้งไฟพออุ่นๆ ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปทั้งสองถุง คนจนละลายหมด แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วก็เทกลับลงไปในถังหมัก คนให้เข้ากันดี
เทหัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร ที่เตรียมไว้แล้วลงไปในถังหมัก แล้วก็คนให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง
ปิดฝาถัง รัดเข็มขัดล็อค แล้วติดป้ายบอกไว้เสียหน่อย แล้วก็เก็บไว้ในที่ร่ม เย็น ไม่ให้โดนแสงแดด ประมาณ 10 – 15 วัน ก็นำไปหมักขยายต่อ หรือจะนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยก็ได้แล้ว
เมื่อเปิดฝาถังขึ้นมา แล้วได้กลิ่นหอมคล้าย คล้าย ไวน์ ที่ผิวหน้ามีฝ้าขาว ขาว ลอยอยู่ แสดงว่าถูกต้องแล้ว
การผลิตปุ๋ยหมักน้ำ
เมื่อเราสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย (หมักขยายเชื้อจุลินทรีย์จนได้ที่แล้ว) คราวนี้ก็ถึงทีที่จะเดินเครื่องผลิตอาหารเลี้ยงดิน เพื่อให้ดินเลี้ยงพืชของเราต่อ
อาหารเลี้ยงดินที่เราจะผลิต และใช้กับพืชผลของเรา มีอยู่ 2 ชนิด ที่จำเป็น และเราจะต้องใช้ร่วมกัน คือปุ๋ยหมักแห้ง และปุ๋ยหมักน้ำ
ความถี่และปริมาณของการให้อาหารจะขึ้นอยู่กับประเภทของพืช เช่น
– ไม้ผล จะให้ปุ๋ยหมักแห้งเดือนละ 1 ครั้ง ปริมาณ 1 – 2 ก.ก. และรดปุ๋ยหมักน้ำ 1 – 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง นอกจากนั้น รดด้วยน้ำธรรมดา และอาจจะฉีดพ่น ใบ ลำต้น ด้วยน้ำส้มควันไม้(มีฮอร์โมนพืช) สลับกับน้ำหมักเปลือกกุ้ง กากปู(มีสารไคโตซาน) 1 – 2 เดือนต่อครั้ง
– ผักอายุสั้น อาจจะให้ปุ๋ยหมักแห้งสัปดาห์ละครั้ง แต่ปริมาณน้อยๆ และรดปุ๋ยหมักน้ำทุกวัน(ผสมเจือจางมากๆ)
สิ่งสำคัญก็คือการสังเกต เรียนรู้ หมั่นทดลอง ของเรานะครับ เพราะว่าการทำเกษตรไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว และยังมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย
การทำปุ๋ยหมักน้ำ
วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักน้ำ หลักๆ จะมีอยู่ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก ได้แก่ พืชสด ซึ่งแบ่งเป็นประเภทได้อีก 7 ประเภท ตาม รส และกลิ่น ของพืชสดที่ใช้ สรรพคุณของน้ำหมักที่ได้ก็จะต่างกันไปตามคุณสมบัติแต่ละประเภท ส่วนพืชแห้งไม่เหมาะที่จะนำมาทำปุ๋ยหมักน้ำ เหมาะที่จะนำไปทำปุ๋ยหมักแห้งมากกว่า
1. พืชรสจืด ได้แก่ ผักบุ้ง ผักตบชวา บัว ผักกะเฉด จอก แหน ผักต่างๆ ที่บริโภคในครัว และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ ปรับสภาพดิน ช่วยล้างพิษตกค้างในดิน บำรุงดิน ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
2. พืชรสขม ได้แก่ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร ลูกใต้ใบ ขี้เหล็ก มะระ และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช หรือใช้ผสมน้ำดื่มให้สัตว์เลี้ยงจะทำให้สัตว์เลี้ยงสุขภาพดีขึ้น กลิ่นมูลสัตว์ลดลง
3. พืชรสฝาด ได้แก่ กล้วยดิบ เปลือกผลมังคุด เปลือกแค หมาก และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ ช่วยป้องกันเชื้อรา
4. พืชรสเมาเบื่อ ได้แก่ กลอย สะเดา สแยก(สะ-แหยก) ผักคูน หางไหลแดง น้อยหน่า ยาฉุน และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ ไล่แมลงศัตรูพืช
5. พืชรสหอมระเหย ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระเพรา ชะพลู มะกรูด โหระพา กานพลู ยูคาลิปตัส และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ ยกเว้นไม่ควรทำใช้งานนะครับ ยิ่งเป็นสวนไม้ผลยิ่งอันตรายครับ เพราะกลายเป็นดึงดูดแมลงวันทองให้เข้ามาหา
6. พืชรสเผ็ดร้อน ได้แก่ พริก ดีปลี เครื่องแกง และ ฯลฯ
สรรพคุณ ไล่แมลง ทำให้แมลงแสบร้อน ระคายผิว
7. พืชรสเปรี้ยว ได้แก่ ตะลิงปิง มะเฟือง มะนาว มะม่วง(เปรี้ยว) มะไฟ และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้ไข่ของแมลงฝ่อ หรือตัวอ่อนฝ่อไม่สามารถเติบโตได้
กลุ่มที่สอง ได้แก่ สัตว์ หรือผลิตผลจากสัตว์ ที่นิยมนำมาทำปุ๋ยหมักน้ำ ได้แก่…..
1. ปลา ทั้งปลาน้ำจืด และปลาทะเล จะได้ทั้ง โปรตีน กรดอะมิโน ธาตุอาหารหลัก ( N, P, K) ธาตุอาหารรอง (แคลเซี่ยม, โบรอน, สังกะสี, ทองแดง ฯลฯ ครบครัน)
2. เปลือกกุ้ง กากปู นอกจากธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองครบครันแล้ว ยังได้สารไคโตซาน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้พืชอีกด้วย
3. หอย เช่น หอยเชอรี่จากในนาข้าว หอยทากจากในสวน เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส นอกจากลดจำนวนประชากรศัตรูพืชแล้ว ยังได้ปุ๋ย โปรตีน แคลเซี่ยม ไว้ใส่ต้นไม้อีก
วิธีการทำปุ๋ยหมักน้ำ
ก่อนอื่นก็ต้องมีถังหมัก ต้องใช้ถังแบบมีเข็มขัดรัดฝาเหมือนกับถังหมักขยายเชื้อจุลินทรีย์ แต่คราวนี้เลือกขนาดถังตามใจชอบ ขอแค่ตรวจสอบดูว่าเป็นถังแบบที่ล็อคฝาได้แน่นหนาพอสมควร (มีถังใส่สารเคมีในโรงงานแบบเป็นผง เข็มขัดจะรัดฝาได้ไม่แน่น และฝาไม่ค่อยแข็งแรง ร้านค้าจะขายในราคาถูกกว่าถังบรรจุของเหลวมาก ไม่แนะนำให้ใช้ ใช้แบบถังบรรจุของเหลวดีกว่า)
อัตราส่วนผสม ตัวเลขนี้สำหรับถัง 20 ลิตร ถ้าใช้ถังใหญ่กว่านี้เช่นถัง 60 ลิตร ก็คูณ 3 เข้าไปได้เลย
1. พืชชนิดที่ต้องการหมัก มาสับ, ตำ, หั่น, ปั่น ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3 กิโลกรัม
ให้แยกชนิดพืชทั้ง 7 ประเภท ไม่ควรนำมาหมักรวมกันนะครับ เพราะสรรพคุณจะลดลง ในกรณีพืชรสจืดจากผักก้นครัวอาจจะอนุโลมหมักผักกาด รวมกับคะน้า รวมกับผักบุ้ง รวมกับผักเหลียง ได้ แต่ให้แยกพริก มะกรูด โหระพา สะระแหน่ กระเพรา ออก
2. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
กากน้ำตาลจะราคาถูก แต่ต้องใช้เวลาหมักนานกว่า ต้องหมักไว้ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้สารทาร์ ในกากน้ำตาลลดความเป็นพิษลงจนปลอดภัยต่อพืช จึงจะนำไปใช้ได้ ถ้าใช้น้ำตาลทรายแดง หมักไว้ประมาณ 1 เดือนก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว แต่หลังจากพ้นระยะปลอดภัยไปแล้ว ยิ่งหมักไว้นานยิ่งดี
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์(ที่หมักขยายไว้แล้ว) 1 ลิตร
4. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีการหมัก
เทน้ำสะอาด กากน้ำตาล และหัวเชื้อจุลินทรีย์ ลงในถังคนให้กากน้ำตาลละลายน้ำให้หมด……ถ้าให้ดี ใช้มือล้วงลงไปตรวจสอบที่ก้นถังด้วย เพราะกากน้ำตาลละลายน้ำยากเหมือนกัน
นำพืชที่ต้องการหมักใส่ลงไปในถัง คนให้ทั่ว และกดให้พืชจมน้ำให้หมด สังเกตว่าจะมีช่องว่างเหนือผิวน้ำถึงฝาถังประมาณ 20 % อย่าหมักจนเต็ม หรือเกือบเต็มถัง
ปิดฝาถัง ล็อคให้สนิท เก็บไว้ในที่แห้ง เย็น ไม่โดนแสงแดด ทิ้งไว้สัก 3 เดือนก่อน
ระยะแรกๆ คอยเปิดฝาถังดู สัก 3 – 5 วัน/ครั้งนะครับ เพราะพืชจะลอยขึ้นเหนือน้ำ ต้องคอย คน และกดให้จมน้ำอยู่เสมอๆ ผ่านไปสักเดือนก็จะจมหมดเอง คราวนี้ก็ปล่อยได้เลย
หมายเหตุ ถ้าหมักกลุ่มที่ 2 (เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์) ก็ใช้วิธีเดียวกันกับพืช แต่ต้องเพิ่มกากน้ำตาลเป็น 3 กิโลกรัม เท่านั้นเอง ถ้ากากน้ำตาลน้อยจะมีกลิ่นเหม็น + มีหนอน
น้ำหมักเหล่านี้เป็นอาหารทางด่วน ทางใบที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย
มียกเว้นพืชประเภทหนึ่งครับ คือ สะระแหน่ ไม่ชอบน้ำหมัก รดเมื่อไหร่ก็เดี้ยงเมื่อนั้น แต่ชอบน้ำล้างปลา มากๆ การจะรด หรือฉีดพ่นน้ำหมักรสเมาเบื่อ ควรจะดูเวลาแมลงด้วย ส่วนใหญ่จะมาตอนเช้ามืด เราก็ฉีดเสียตั้งแต่ 4 – 5 นาฬิกา
ที่มา;http://www.monmai.com/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89…/

Pepper

พริกไทย...พืชนอกสายตา แต่ไม่ธรรมดา!!
หากพูดถึงแหล่งปลูกพริกไทยของบ้านเราแล้วล่ะก็เป็นต้องนึกถึงภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดจันทุบรี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกพริกไทยแหล่งใหญ่และเก่าแก่ของบ้านเรามายาวนาน พื้นที่อื่นแทบจะไม่มีการปลูกกันเลย 
แต่วันนี้เราจะพาไปดูพริกไทยที่ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นพืชต่างถิ่นที่เข้ามาในพื้นที่แห่งนี้ได้ไม่นานและมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่นี่ พืชเศรษฐกิจสำคัญของที่นี่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งยาสูบ มะนาว นาข้าว สวนพริกไทยของที่นี่เกิดจากความคิดต่างของ ดาบพรรบต และคุณนรัญภรณ์ สิริถาวรวิวัฒน์ ที่มองหาพืชที่จะสร้างรายได้ที่ดีในอนาคต โดยทั้งสองคนยังทำงานรับราชการด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นพืชที่เลือกปลูกนอกจากจะสร้างรายได้ที่ดีแล้ว ยังต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการเป็นพืชที่ดูแลไม่มาก ต้องเป็นพืชยืนต้นที่มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนาน ไม่ต้องมาปลูกบ่อยๆ พริกไทยดูจะเป็นพืชนอกสายตาและไม่เคยอยู่ในวิถีชีวิตของทั้งคู่ซึ่งเป็นชาวอุตรดิตถ์ ที่คุ้นเคยกับพืชพวกทุเรียน ลางสาด แต่หลังจากที่ศึกษาข้อมูลโดยเฉพาะด้านราคาแล้ว ดาบพรรบต และคุณนรัญภรณ์มองว่า พริกไทยเป็นพืชที่น่าสนใจเพราะราคาพริกไทยไม่เคยตกต่ำลงมาเลย พริกไทยราคาดีมาโดยตลอดระยะเวลาหลายปีติดต่อกัน โดยเฉพาะในช่วงแล้งราคาพริกไทยสูงมาก ราคาสูงถึง 450-600 บาท 
ทั้งสองท่านศึกษาข้อมูลการปลูกทางอินเตอร์เน็ตและไปศึกษาดูงานการปลูกพริกไทยในแปลงปลูกจริงที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นเพียงสวนพริกไทยสวนเดียวในพื้นที่เขตนี้ซึ่งปลูกมานานหลายปีแล้วและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พร้อมกับสั่งซื้อกิ่งพันธุ์จากที่นี่ด้วย โดยดาบพรรบต และคุณนรัญภรณ์ปลูกไปทั้งหมด 480 หลัก หรือประมาณ 200-250 หลัก/ไร่ ที่นี่ใช้ระยะปลูก 2.5x2.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะปลูกที่ห่างกว่าการปลูกพริกไทยในเขตจันทบุรี ซึ่งนิยมใช้ระยะปลูก 2x2 เมตร คุณนรัญภรณ์ บอกว่า พริกไทยที่ปลูกเป็นพันธุ์ซีลอนซึ่งเป็นพริกไทยที่นิยมบริโภคเป็นพริกไทยสดหรือพริกไทยอ่อนที่มีทรงพุ่มใหญ่ ต้นใหญ่ ใบใหญ่กว่าพริกไทยทางเขตจันทุบรีซึ่งนิยมปลูกพริกไทยแห้งกัน อีกทั้งระยะปลูกที่ห่างขึ้นจะทำให้สะดวกในการทำงานมากขึ้นด้วย
หลังจากปลูกปีแรกพริกไทยให้ผลผลิตที่ดี ก็เริ่มมีคนสนใจปลูกพริกไทยกัน อีกทั้งการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเฟสบุ๊ค (พริกไทยซีลอน ไร่ดาบบรรพต) และแฟนเพจ ก็มีคนสนใจกันมาก และมีการสั่งซื้อกิ่งพันธุ์กันเข้ามาเป็นจำนวนมาก ปีแรกขายกิ่งพันธุ์ไปกว่า 3,000 กิ่ง ราคากิ่งพันธุ์ 15 บาทถ้าเป็นกิ่งตอนตัดตุ้ม แต่ถ้าเป็นกิ่งชำราคา 20 บาท โดยการผลิตกิ่งพันธุ์จะเน้นทำในช่วงฝน ซึ่งช่วงนี้จะถือโอกาสพักต้นด้วย บำรุงต้นให้เจริญเติบโตเต็มที่เพื่อให้ต้นแตกกิ่งก้านเพื่อผลิตกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์และคุณภาพดี
คุณนรัญภรณ์ เล่าถึง การปลูกพริกไทยว่า หลายคนมองข้ามและให้ความสนใจในการปลูกพริกไทยกันน้อยนั้นส่วนหนึ่งก็มาจากการลงทุนที่ค่อนข้างสูงในช่วงแรก โดยเฉพาะต้นทุนค่าเสาค้างที่ลงทุนค่อนข้างหนัก ซึ่งจะใช้เสาปูนขนาดหน้า 4 สูง 3 เมตร ค่าเสาต้นละ 200 บาท ลงทุน 400 หลัก ก็เกือบ 2 แสนบาท ตั้งแต่การเตรียมแปลง ค่าเสา ค่าต้นพันธุ์ ค่าระบบน้ำ ค่าแรงงานและอื่นๆ ทั้งหมด การปลูกจะปลูกค้างละ 3 ต้น แต่ถ้าปลูก 4 ต้นพริกไทยจะเดินเต็มค้างเร็วกว่า
ในส่วนของการดูแลพริกไทยนั้นคุณนรัญภรณ์บอกว่า ไม่ว่าจะปลูกพืชอะไรก็ตามชาวสวนควรจะมีการตรวจสอบสภาพดินก่อนปลูก เพื่อที่จะให้ปุ๋ยได้ตรงกับสภาพดินและลดต้นทุนการให้ปุ๋ยที่เกินความจำเป็น คุณนรัญภรณ์เองในครั้งแรกก็ไม่ได้มีการตรวจสภาพดินเช่นกัน จึงเจอปัญหาพอสมควรเพราะไม่ได้ปรับสภาพดินก่อนปลูกให้ตรงกับความต้องการของพริกไทย แต่ก็มีการตรวจในช่วงหลังและค่อยๆปรับมาเรื่อยๆ พริกไทยชอบดินที่มีความเป็นกรดด่างประมาณ 5.5-6.5 ระหว่างแถวพริกไทยปลูกแฝกเพื่อดูดซับน้ำและปรับสภาพดินไปด้วย มีการให้ปุ๋ยคอกทุก 3 เดือน ครั้งละประมาณ 1 ถุงปุ๋ยต่อหลัก การใส่ปุ๋ยคอกจะเกลี่ยให้เป็นบริเวณกว้างในรัศมีของทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ ไม่ให้ปุ๋ยคอกกระจุกตัวอยู่บริเวณโคนต้นซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนปุ๋ยเคมีจะผสมปุ๋ยใช้เองจากแม่ปุ๋ย 3 ชนิดคือ 46-0-0,18-46-0,0-0-60 ในช่วงต้นเล็กก็จะบำรุงต้นด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 พอออกช่อเปลี่ยนมาให้สูตรตัวกลาง ตัวท้ายสูง 8-24-24 หลังออกช่อแล้วติดเม็ดขนาดเล็กใช้ 30-7-25 เพื่อบำรุงเม็ดให้ขยายขนาด โดยปุ๋ยเคมีจะให้เดือนละครั้ง ส่วนของโรค-แมลงก็มีรบกวนบ้าง ที่เจอบ่อยก็จะเป็นเพลี้ยแป้ง การป้องกันกำจัดจะเลือกใช้วิธีธรรมชาติก่อนโดยใช้น้ำส้มสายชู+น้ำยาล้างจาน+ยาสูบ หมักไว้ 1 คืน ก็ใช้ฉีดพ่นได้ แต่ถ้าระบาดหนักก็ต้องพ่นสารเคมีบ้างเป็นครั้งคราวเหมือนกัน
พริกไทยจะเริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 10-14 เดือน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะให้ผลผลิตที่อายุ 14 เดือน สำหรับพริกไทยที่ได้รับการดูแลเรื่องน้ำและปุ๋ยอย่างดีของสวนที่นี่ อายุ 10 เดือนก็เริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว อายุ 14 เดือนเก็บผลผลิตไปได้ 200 กก. แล้ว พริกไทยจะให้ผลผลิตตลอดทั้งปี แต่จะให้ผลผลิตรุ่นใหญ่ปีละ 2 รุ่น รุ่นแรกเริ่มเก็บประมาณ ม.ค.-ก.พ. พริกไทยที่ออกช่อช่วงนี้จะให้ผลผลิตน้อยประมาณ 1 กก./หลัก(ในช่วงการเก็บเกี่ยว 3-4 เดือน/รุ่น) เพราะช่วงนี้ค่อนข้างแล้ง รุ่นที่ 2 เก็บประมาณ มิ.ย. –ก.ค. โดยพริกไทยที่ออกช่อช่วงนี้ จะให้ผลผลิตสูงกว่าพริกไทยที่ออกช่วงแล้ง คือ ประมาณ 3 กก./หลัก (ในช่วงการเก็บเกี่ยว 3-4 เดือน/รุ่น) โดยพริกไทยที่ออกช่อ 1 รุ่นจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานประมาณ 4 เดือน คุณนรัญภรณ์บอกว่า จากข้อมูลการให้ผลผลิตของสวนพริกไทยโดยทั่วไป พริกไทยอายุ 2-3 ปี จะให้ผลผลิต 10 กก./หลัก/ปี คิดรายได้โดยประมาณไว้ที่หลักละ 1,000 บาท/ปี หรือประมาณ 200,000-250,000 บาท/ไร่/ปี นับว่าเป็นรายได้ที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

ผลผลิตพริกไทยของสวนจะส่งเข้ามายังตลาดไทเป็นหลัก โดยพริกไทยรุ่นแรกที่เก็บเกี่ยวไปเมื่อเดือน ม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา ราคา 90 บาท/กก. พอเข้าช่วงแล้งประมาณเดือน เม.ย. หลายพื้นที่จะขาดน้ำและถ้าพริกไทยขาดนี้ก็จะทำให้พริกไทยไม่ออกช่อ จึงทำให้พริกไทยที่เก็บเกี่ยวในช่วงฝนประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค.มีราคาสูง หลายปีที่ผ่านมามานี้ราคา พริกไทยช่วงนี้สูงถึง 300-400 บาท/กก. เลยทีเดียว ซึ่งทางสวนค่อนข้างได้เปรียบเนื่องจากมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้สวน จึงมีน้ำรดต้นพริกไทยได้ตลอดทั้งปีและทำให้พริกออกช่อได้ในช่วงแล้งและมีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฝน

วันนี้พริกไทยที่สวนเริ่มเก็บผลผลิต สร้างเม็ดเงินเข้าสวน คุณนรัญภรณ์บอกว่า หลังจากเห็นผลผลิตและรายได้แล้วเธอค่อนข้างมั่นใจว่าเธอเดินมาถูกทางแล้ว และเชื่อมั่นว่าตลาดพริกไทยจะมีความยั่งยืนไปได้อีกยาวนาน เนื่องจากพริกไทยสดยังเป็นที่นิยมใช้ในการประกอบอาหารต่างๆโดยเฉพาะอาหารที่ต้องการความเผ็ดร้อน ซึ่งเป็นเมนูสุดโปรดของคนที่ชอบอาหารรสชาติจัดจ้านตามแบบฉบับของคนไทย ตลาดพริกไทยน่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พื้นที่ปลูกพริกไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นน้อย เนื่องจากพริกไทยมีการปลูกอยู่เฉพาะในกลุ่มเดิมๆที่คุ้นเคยและปลูกพืชชนิดนี้มานาน พื้นที่ใหม่ๆหรือคนปลูกหน้าใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับพริกไทยให้ความสนใจและปลูกพริกไทยเพิ่มขึ้นกันน้อยมาก อาจเป็นเพราะพริกไทยเป็นพืชที่คนทั่วไปมองข้ามความสำคัญกันนั่นเอง เมื่อพื้นที่ปลูกไม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการของตลาดมีมาก จึงทำให้พริกไทยเป็นพืชที่ราคาไม่เคยตกต่ำเลยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
สนใจสั่งซื้อ ดาบพรรบต และคุณนรัญภรณ์ สิริถาวรวิวัฒน์ 52 ม.7 ต.หนองจิก อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย หรือเฟสบุ๊ค พริกไทย ซีลอน ไร่ดาบบรรพต เบอร์โทรศัพท์ 0866862584
ข้อมูลจาก คุณ Rakkaset Nungruethail รักษ์เกษตร

Sunday, February 21, 2016

Simple steps to grow straw mushroom

วิธีเพาะเห็ดฟาง ทำเอง เพื่อให้ได้เห็ดฟางปลอดสารพิษ ใครที่มีเวลาอยากจะเพาะเห็ดฟางไว้ทานเอง 

วันนี้เลยนำวิธีการเพาะเห็ดฟางด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ มาให้ทดลองทำ  ซึ่งวัสดุที่นำมาเพาะคือต้นกล้วยจัดหาได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น ต้นทุนต่ำและทำได้ง่าย ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดฟางได้ตามความต้องการ เส้นใยเห็ดฟางแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ผลผลิตสูง

มาทำเชื้อเห็ดฟางอย่างง่ายจากดอกเห็ดฟางสด ทำได้ด้วยตัวเอง

การเตรียมเชื้อเห็ดฟางจากดอกเห็ดฟางสด

ส่วนประกอบ

1. ต้นกล้วยสดตากแห้ง 1 กิโลกรัม
2. ดอกเห็ดฟางสด (ดอกตูม) 1 ดอก

กรรมวิธี เพาะเห็ดฟาง 

1.นำต้นกล้วยสด และควรเป็นต้นกล้วยตัดใหม่ๆ มาหั่นเป็นแว่น ๆ หนาประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ถ้าเป็นต้นกล้วยที่มีเครือแล้วให้เก็บส่วนของก้านเครือทิ้งให้หมด แล้วใช้มีดสับต้นกล้วยที่หั่นแล้วให้ละเอียดเล็กน้อยประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำไปผึ่งแดด โดยมีแผ่นพลาสติกหรือวัสดุรองพื้นที่สะอาดเกลี่ยให้บาง ๆ ประมาณ 4-5 วัน ควรกลับกองต้นกล้วยทุกวันจนต้นกล้วยแห้งสนิทจึงนำไปใช้เป็นเชื้อเห็ดฟาง หรือใส่ถุงพลาสติกเก็บรักษาไว้ใช้ต่อไป

2. นำต้นกล้วยที่แห้งแล้วดังกล่าวข้างต้น วางบนพื้นซีเมนต์หรือบนแผ่นพลาสติก พรมด้วยน้ำสะอาดผสมคลุกเคล้าจนทั่ว แล้วนำไปตรวจสอบให้มีความชื้นหมาด ๆ โดยการใช้มือกำต้นกล้วยแล้วบีบให้แน่น เมื่อคลายมือออกต้นกล้วยจะเป็นก้อนเล็กน้อย หรือรู้สึกชื้นมือ ถ้าบีบแล้วน้ำหยดหรือซึมออกตามง่ามมือแสดงว่าความชื้นมากเกินไปต้องผึ่งลมทิ้งไว้ให้ความชื้นระเหยไปประมาณ 1-2ชั่วโมง(ความชื้นมากเกินไปเส้นใยเห็ดฟางจะไม่เจริญ)

3.บรรจุต้นกล้วยลงถุงประมาณครึ่งถุง หรือมีน้ำหนักประมาณถุงละ 200 กรัม (ต้นกล้วยแห้งหนึ่งกิโลกรัม บรรจุได้ประมาณ 15-20 ถุง) นำไปตั้งเรียงไว้เป็นแถว ๆ

4. นำดอกเห็ดฟางสดมาทำความสะอาด โดยใช้มีดคัทเตอร์ตัดแบ่งบริเวณโคนดอกเห็ดฟางที่สกปรกหรือมีวัสดุเพาะติดโคนดอกมาออกให้หมด ควรทำอย่างระมัดระวัง อย่าให้ดอกเห็ดฟางกระทบกระเทือนหรือชอกช้ำมาก

5. เทแอลกอฮอล์ลงในแก้วประมาณครึ่งแก้ว แล้วนำดอกเห็ดฟางที่ตัดแต่งแล้วจุ่มลงไปจนมิดดอกเห็ดฟางแล้วนำออกมาวางในแก้วที่สะอาด ปล่อยให้แอลกอฮอล์ระเหยออกจากดอกเห็ดฟางจนแห้ง (ห้ามนำดอกเห็ดฟางแช่ลงในแอลกอฮอล์แล้วแช่ทิ้งไว้)

6. นำสำลีจุ่มลงในแอลกอฮอล์แล้วนำไปเช็ดถูทำความสะอาดใบมีดคัทเตอร์ ใช้มีดตัดส่วนของดอกเห็ดฟาง ส่วนใดก็ได้อย่างระมัดระวังขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ใส่ลงไปในถุงที่บรรจุต้นกล้วยเตรียมไว้ ถุงละ 1 ชิ้นทุกถุง เห็ดฟาง 1 ดอก ใช้ได้ประมาณ 10 ถุง

7. จับปากถุงแล้วเขย่าให้เนื้อเยื่อดอกเห็ดฟางอยู่ในบริเวณกึ่งกลางด้านข้างถุงพอดีแล้วแนบปากถุงพับลงมา 2-3 ครั้ง เย็บปากถุงด้วยเข็มเย็บกระดาษ 2-3 ครั้ง เป็นอันว่าเสร็จ 1 ถุง ให้ทำถุงต่อไปจนเสร็จสิ้นทั้งหมด

8. นำถุงเชื้อเห็ดฟางบรรจุลงในตะกร้าหรือลังไม้ เรียงเป็นแถว ทับซ้อนกันได้ไม่เกิน 2 ชั้น แล้วนำไปบ่มเชื้อในอุณหภูมิห้องปกติ (30 องศาเซลเซียส) ประมาณ 10-15 วัน เส้นใยเห็ดฟางจะเจริญจนเต็มถุง จึงนำไปเพาะหรือนำไปต่อเชื้อเพื่อขยายให้มีปริมาณมากขึ้นต่อไป
http://www.matichon.co.th/online/2015/11/14480833201448083347l.jpg

เห็ดฟาง ที่มาภาพจาก mushroomfarn.blogspot.com

ข้อดีของการใช้ต้นกล้วยทำเชื้อเห็ดฟาง
1. เป็นวัสดุที่จัดหาได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น
2. ต้นทุนต่ำและทำได้ง่าย
3. ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์
4. สามารถคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดฟางได้ตามความต้องการ เส้นใยเห็ดฟางแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ผลผลิตสูง

เครื่องมืออุปกรณ์ สำหรับเพาะเห็ดฟาง
1. ต้นกล้วยสดตากแห้ง 1 กิโลกรัม
2. ถุงพลาสติกชนิดใส ขนาด 6x9 นิ้ว 10 ใบ
3. มีดคัทเตอร์ 1 ด้าน
4. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70% 1 ขวด
5. แก้วเปล่า 1 ใบ
6. เข็มเย็บกระดาษ 1 อัน
7. ดอกเห็ดฟางสด (ดอกตูม) 1 ดอก
8. กระดาษที่สะอาด 1 แผ่น
9. สำลีเล็ดน้อย
10. น้ำสะอาดเล็กน้อย

เมื่อทราบวิธีเพาะเห็ดฟางอย่างง่ายแล้ว ใครชอบเพาะปลูกไว้ทานเองก็ลองวิธีนี้ได้เลย หรือถ้าใครว่ายาก ไม่มีเวลา ก็ออกไปอุดหนุนเกษตรกรที่เพาะเห็ดฟางขาย…ก็น่าจะดีกว่า win win กันทั้งสองฝ่ายเลย..

ขอบคุณที่มา : เกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 2/2550 และ เฟสบุคคุณ www.facebook.com/somjaigarden, ภาพจาก mushroomfarn.blogspot.com

how to make compost

มาดูว่าทำไมการทำปุ๋ยหมักวิธีของจารย์ลุงต้องทำเป็นชั้น ๆ บาง ๆ 10 ซม. ครับ
ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้
November 10, 2013
ในการขึ้นกองปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง จารย์ลุงกำหนดให้วางเศษพืชหนาแค่ 10 ซม.ต่อชั้น แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์ ...... มูลสัตว์ไม่มีความหนาครับ เพราะจะแทรกเข้าไปในชั้นเศษพืช ..... ถ้าเศษพืชเป็นใบไม้ ก็ทุกการวางใบไม้ 3 เข่ง ต้องโรยทับด้วยมูลสัตว์ 1 เข่ง (ใครไม่ใช้เข่ง กะด้วยสายตา หรือคำนวณเป็นน้ำหนัก ก็ไม่ใช่ลูกศิษย์จารย์ลุงครับ เพราะปุ๋ยหมักที่ได้มีโอกาสสูงที่จะไม่มีคุณภาพ สูตรของจารย์ลุงเป็นโดยการตวงด้วยเข่ง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของเกษตรกรไทยครับ) แล้วรดน้ำ .... ถ้าเศษพืชเป็นฟาง ผักตบชวา หญ้า เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็วาง 4 เข่ง ตามด้วยมูลสัตว์ 1 เข่ง แล้วรดน้ำ ... ทำสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตร ... ใครอยากได้กองยาว ๆ ก็ต่อไปเรื่อย ๆ ...... ใช้คราดเกลี่ย ๆ เขี่ย ๆ ในการปรับระดับแต่ละชั้น เพราะจารย์ลุงห้ามขึ้นไปเหยียบกองปุ๋ย ...... การเกลี่ย เขี่ย จะทำให้น้ำที่รด ลงไปแทรกในเศษพืชได้ ทำให้ชื้นสม่ำเสมอ ..... ในการขึ้นกองปุ๋ยห้ามเหยียบนะครับ เพราะการเหยียบจะทำให้กองปุ๋ยแน่นเกินไปจนอากาศเข้าไม่ได้ การเป็นปุ๋ยหมักจะเกิดได้ไม่สมบูรณ์
ยกตัวอย่างนะครับ ..... วัดความกว้างกองปุ๋ย 2.5 เมตร .... สมมติว่าจะทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ ก็เอาใบไม้อัดแน่น ๆ ในเข่ง เอามา 3 เข่ง วางเบา ๆ ในหน้ากว้าง 2.5 เมตรนั้น เอาคราดเกลี่ยให้หนาประมาณ 10 ซม. โดยไม่ต้องเหยียบ แล้วไปเอามูลสัตว์มา 1 เข่ง โรยมูลสัตว์ให้ทั่ว แล้วรดน้ำ .... ต่อไปก็เอาใบไม้มาอีก 3 เข่ง วางต่อตามความยาวไป มูลสัตว์ 1 เข่ง รดน้ำ ...... ถ้าได้ความยาวที่ต้องการ ก็ขึ้นชั้นที่สอง ..... ทำแบบเดียวกันครับ .... เน้นชั้นใบไม้หนา 10 ซม.นะครับ .... ทำกองให้เป็นสามเหลี่ยม พอถึงความสูง 1.5 เมตรก็หยุด เอามูลสัตว์โรยชั้นบนสุด เป็นเสร็จครับ 
เหตุผลที่ต้องวางเศษพืช 10 ซม. ก็ไม่มีอะไรครับ ... เพียงเพื่อให้ง่ายสำหรับการขึ้นกองเท่านั้น ความจริงใครจะผสมเศษพืชกับมูลสัตว์พร้อมกับรดน้ำไปด้วย แล้วค่อยทำกองเป็นรูปสามเหลี่ยม ก็จะให้ผลอย่างเดียวกัน ... เพียงแต่ว่าถ้าเริ่มต้นการสอนโดยกำหนดให้เกษตรกรผสมเศษพืชกับมูลสัตว์เป็นตัน ๆ ผมเกรงว่าเกษตรกรจะเลิกให้ความสนใจในการทำปุ๋ยหมักอ่ะครับ .... การทำเป็นชั้น ๆ จะเหนื่อยน้อยกว่า หยุดพักเมื่อยก็ได้ พรุ่งนี้มาต่อก็ได้ ... ง่ายกว่าเยอะเลย ... ยิ่งมีคราดมาเขี่ย ๆ ระหว่างชั้น ก็ยิ่งคล้ายกับการผสมให้เข้ากัน ... จุลินทรีย์ก็จะได้ใกล้ชิดกับเศษพืชมากขึ้น การย่อยสลายก็จะเร็วขึ้น ... 
... มีเท่านี้เองจริง ๆ ครับ 55555 ..... เพราะฉะนั้น ใครจะทำ 10 ซม. ก่อนรดน้ำ หรือรดน้ำแล้วยุบเหลือ 10 ซม. ก็ได้ทั้งนั้นครับ ...... ขออย่าให้เศษพืชหนามากเกินไปก็แล้วกัน ใครทำชั้นเศษพืชหนา 50 ซม. ก็ตัวใครตัวมันครับ เพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้
ในระหว่างการทำเป็นชั้น ๆ ใครจะเอาเศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหารมาวางสลับก็ได้ครับ ก็จะเป็นการทำปุ๋ยหมักที่ช่วยลดปริมาณของเสียแทนที่จะขนไปทิ้ง เป็นปุ๋ยหมักที่มีธาตุอาหารสูงขึ้นกว่าปกติ .... น่าเอาไปทำนะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรีสอร์ท โรงเรียน โรงแรม .... ทำโชว์แขกเลยว่าเรารักษ์สิ่งแวดล้อม ..... ได้ปุ๋ยหมักมาก็เอาไปปลูกผักปลูกข้าวอินทรีย์โชว์ก็ยังได้ เอาขายก็ยังดี ..... เปลือกทุเรียนก็ซอย ๆ ให้มีชิ้นเล็กลงหน่อย
ใครไม่อยากทำกองใหญ่ ก็ทำในวงตาข่ายที่มีรูด้านข้างโดยรอบก็ได้ครับ มีวิธีการและขั้นตอนแบบเดียวกันเลย
ท่านใดจะพลิกแพลง เอาน้ำผสมสารเร่ง พด. 1 ราดทุกชั้น หรือกรอกลงไปในรูที่เจาะทุก 10 วัน ก็ไม่มีปัญหาครับ มันอาจช่วยลดเวลาการย่อยสลายได้ และเร่งการย่อยสลายให้เกิดได้ทั่วถึง รวมทั้งจุลินทรีย์จาวปลวกและจุลินทรีย์หน่อกล้วยด้วย
พอขึ้นกองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยมเสร็จ ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ ต่อไปในช่วง 60 วันก็ต้องดูแลน้ำกองปุ๋ยอย่างประณีต 3 ขั้นตอน ห้ามพลาด มีอะไรบ้างต้องอ่านในลิ้งค์ต่อไปนี้ครับ
ลิ้งค์วิธีการและขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์แบบกองสามเหลี่ยมไม่พลิกกลับกองนะครับ
https://www.facebook.com/notes/ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้/การผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง/872779429405137

Strawberry from 25 baht to 590 baht per kg


https://www.facebook.com/CompostClassroom/
พี่ดำรงค์ทำสวนสตรอเบอรี่ ที่บ้านบ่อแก้ว สะเมิง เชียงใหม่ .... ผมรู้จักพี่ดำรงค์มา 4 ปีแล้วครับ จากการที่ชาวบ้านบ้านบ่อแก้วถวายฎีกาสมเด็จพระเทพรัตนฯ ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขอให้ท่านช่วยเรื่องปัญหาโรคระบาดแอนแทรกโนสในสตรอเบอรี่ ที่ทำให้สวนสตรอเบอรี่ที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในเชียงใหม่ต้องเสียหาย เกษตรกรเดือดร้อนขาดทุนเป็นจำนวนมาก 
ทาง ธ.ก.ส. ฝ่ายอารักขาพืชของโครงการหลวง และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ร่วมมือกันบูรณาการความรู้แล้วนำไปปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกและดูแลสวนสตรอเบอรี่ของชาวบ้านบ่อแก้วเสียใหม่ ..... ในตอนนั้นเราพบว่าดินปลูกของเกษตรกรมีค่าพีเอชดินเป็นกรดจัด มีค่า 4 สาเหตุจากการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีอย่างมโหฬารและใช้ติดต่อกันอย่างยาวนาน .... พอดินเป็นกรด การระบาดของโรคจึงเกิดได้ง่าย
ดังนั้น งานของจารย์ลุงในตอนนั้นคือส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกองเพื่อนำไปปรับความเป็นกรดของดิน เมื่อดินมีพีเอชเป็นกลาง เชื้อโรคที่ชอบอยู่ในดินที่เป็นกรดก็อยู่ไม่ได้ โดย ธ.ก.ส.สนับสนุนค่ามูลสัตว์ในการทำปุ๋ยหมักของชาวบ้าน รวมทั้งการจัดฝึกอบรมและการเดินทางไปตรวจติดตามงาน
เป็นที่น่าเศร้าว่า มีเกษตรกรเพียงไม่กี่รายที่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูก และเชื่อในสิ่งที่นักวิชาการลงไปช่วยสอน คือเลิกใช้ยาฆ่าหญ้า มีการจัดการในแปลงที่ดีแบบ GAP มีการทำน้ำหมักมูลสุกรบำรุงต้น ทำน้ำหมักชีวภาพไล่แมลง ทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองใช้ เปลี่ยนสายพันธุ์สตรอเบอรี่ ลดพื้นที่ลงให้เหลือไม่เกิน 5 ไร่เพื่อให้พอที่จะดูแลได้ทั่วถึง 
เราคุยกันเรื่องหลักความพอเพียงของในหลวงกับเกษตรกรกันด้วยครับ และได้ทำให้เกษตรกรไม่กี่รายเพียง 3 คนนั้น สามารถรอดพ้นปัญหาโรคแอนแทรกโนสได้ภายในเวลาเพียง 1 ปี นอกนั้นไม่ยอมปรับเปลี่ยน แต่คอยจะมองหายาวิเศษราคาแพงที่จะมารักษา ก็เลยขาดทุนเหมือนเดิมต่อไป
ผมไปเยี่ยมพี่ดำรงค์เกือบทุกปี ได้มองเห็นการลดต้นทุนของพี่ดำรงค์แล้วมีความสุข พี่ดำรงค์หดแปลงปลูกจาก 10 ไร่เหลือ 5 ไร่ เพื่อจะได้ดูแลหญ้าทัน จะได้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า ..... ปีนี้พี่ดำรงค์นำแปลง 5 ไร่เปลี่ยนเป็นปลูกกระเทียม เพื่อเปลี่ยนพืชที่ใช้ปลูกบ้าง ลดโรคในดินที่อาจมีการสะสม แล้วย้ายสตรอเบอรี่ไปปลูกในอีกแปลงในพื้นที่ 4 ไร่ ลงสตรอเบอรี่ไป 4 หมื่นต้น ... พี่ดำรงค์ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ใช้ยาฉีดป้องกันเชื้อราบ้างแต่ไม่มาก ใช้ปุ๋ยเคมีบ้าง แต่ที่ใช้มากคือปุ๋ยหมักครับ ... ใน 4 ไร่ทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองหมดขี้วัวไป 200 กระสอบ หรือได้ปุ๋ยหมักเกือบ 7 ตัน .... พี่ดำรงค์บอกว่าตั้งแต่ปรับเปลี่ยนความคิด มาทำแบบใหม่ ตอนนี้สามารถลดค่าซื้อปุ๋ยและสารเคมีในพื้นที่ 4 ไร่นี้ได้ถึง 5 หมื่นบาท .... ทุกวันนี้ผลผลิตดี เป็นโรคน้อย ต้นแข็งแรง เก็บสตรอเบอรี่วันเว้นวัน เก็บกันถึงตี 2 ได้เงินเป็นกอบเป็นกำ .... ตอนนี้สวนของแกได้ตัว Q และ GAP จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว
พี่เค้าปลูกต้นหอมในแถวสตรอเบอรี่และปลูกกะหล่ำปลีที่หัวแปลงด้วย เอาไว้กิน ที่เหลือขาย ได้เงินเพิ่มอีก และยังโชว์กองปุ๋ยหมักที่ต้องมีอยู่เสมอในแปลงเพื่อใช้บำรุงดินอีกด้วยครับ
สิ่งที่จารย์ลุงได้ทำงานไปอีกขั้นหนึ่ง คือพาแกไปพบกับผู้จัดการห้างริมปิงซุปเปอร์สโตร์ ที่มี 9 สาขาในเชียงใหม่ ที่ต้องการสตรอเบอรี่อินทรีย์ ปลอดภัยจากสารพิษไว้ขายให้ลูกค้า .... ในห้างนี้สตอรเบอรี่จะขายได้ กก.ละประมาณ 590 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าที่แกเคยเอาไปขายส่งโรงงานในราคาเดียวกันกับสตอเบอรี่เคมีราคาแค่ กก.ละ 25 บาท ..... ได้ราคาสูงกว่าหลายเท่าตัวครับ 
อ่านแล้วมีความเห็นว่ายังไงบ้างครับ กับการเพาะปลูกที่ลดการพึ่งพาเคมีแบบนี้ การเพาะปลูกนอกคอกที่มีแต่ผลดี ลดปัญหา เพิ่มผลผลิต สุขภาพคนปลูกและผู้บริโภคก็ปลอดภัย ดินดี เงินก็ดี ทั้ง ๆ ที่ลดพื้นที่การทำลง .... ทำน้อยแต่ได้มาก .... แต่ในขณะที่มีตัวอย่างดี ๆ แบบนี้ เชื่อไหมครับว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ที่นั่นก็ยังไม่ปรับเปลี่ยนและไม่ยอมเดินตามทางสายนี้ ด้วยเห็นว่ามันไม่ทันใจ .... น่าเสียดายนะครับ
อย่างนี้เองจึงจะเป็นการเกษตรที่ลดต้นทุน ดินดี โรคน้อย ผลผลิตราคาสูง ........ ทำน้อยแต่ได้มาก ..... พอเพียงแต่ยั่งยืน

Thursday, February 18, 2016

Jujube

พุทรานมสด เป็นการผสมข้ามพันธ์ระหว่างพุทราที่นำมาจากประเทศไต้หวันคือพันธ์จูจู๊บ ฮันนี่ผสมกับพุทราพันธ์ ดกพิเศษของไทย ซึ่งต่อกิ่งข้ามพันธ์มา 5 ปี การต่อกิ่งครั้งแรกใช้พันธ์พื้นเมืองของไทย ต่อกิ่งกับพันธ์ฮันนี่ของไต้หวัน เมื่อผลผลิตในปีแรกออกมามีลักษณะลูกกลมยาวแต่ไม่ใหญ่มากนัก ขนาด 13-16 ผล/กิโลกรัม ความหวาน 6-8 บริกซ์ อมเปรี้ยว กรอบเนื้อแน่น ผิวบาง เลี้ยงกิ่งมาตั้งแต่อายุ 15 เดือนจึงตัดกิ่งและนำมาต่อกิ่งกับพันธ์ดกพิเศษ ซึ่งเป็นพันธ์ที่มาจากประเทศอินเดีย ใบใหญ่ ปลายใบมนและเหยียดตรง ผลมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ผลจะยาว หัวท้ายมน ออกดอกติดผลดกมาก ประมาณ 3-6 ผลต่อข้อ เปลือกบาง รสหวาน กรอบ ผลแก่ร่วงง่าย ผลใหญ่ น้ำหนักต่อผลประมาณ 100-130 กรัมปริมาณการติดผลต้นละประมาณ 50 กก./ต้น/ปี ความหวานอยู่ที่ 8-10 บริกซ์ และเลี้ยงกิ่งจนอายุ 1 ปี จึงนำมาต่อกิ่งกับพันธ์พื้นเมืองที่เลี้ยงไว้อยู่แล้วได้ความหวานอยู่ที่ 8-10 บริกซ์ เลี้ยงกิ่งจนอายุ 1 ปี จึงนำมาต่อกิ่งกับพันธ์พื้นเมืองที่เลี้ยงกิ่งพร้อมที่จะขยายพันธ์ในไร่จุ่นจันทร์ ต.แม่แตง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ในระยะแรกจำนวน 10 ไร่ โดยปลูกระยะห่าง 3x5 เมตร ยกร่องตรงกลาง เพื่อป้องกันน้ำท่วม มีจำนวน 400 กว่าต้นและใช้ปุ๋ยเคมีฉีดพ่นทางใบใช้สูตร 13-27-27 ก่อนออกดอก 30 วัน ในอัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดทุกๆ 7-10 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวจะใช้สูตร 13-13-21 หลังติดผลแล้ว ประมาณ 1 เดือน และใส่ห่างกันทุก 2 เดือนจนกว่าจะเก็บผล ใช้อัตรา 2-5 กก.ต้นต่อปี เมื่อผลผลิตออกมาความหวานอยู่ที่ 8-10 บริกซ์ แต่ผลที่ออกมามีผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ ในต้นเดียวกันคือมีผลใหญ่เล็กปะปนกันไป รูปทรงไม่ดีคือเบี้ยว ตรงกลางลูกขอด ดินที่ปลูกมีลักษณะแข็ง มีน้ำท้วมขังในหน้าฝนและแห้งในหน้าร้อน ลำต้นไม่ใหญ่และแข็งแรง จึงได้จ้างนักวิชาการจากต่างประเทศไต้หวันมาปรับปรุงดิน ในเบื้องต้นปรับปรุงให้สภาพดี โดยการใช้รำละเอียด มูลวัว แกลบเผา และน้ำชีวภาพที่ใช้เปลือกผลไม้หมักกับกากน้ำตาล จนได้น้ำปุ๋ยหมักและนำมาผสมกันในอัตราส่วน มูลวัว 3/1/1 และนำไปคลุกเคล้ากับปุ๋ยที่ใช้เปลือกผลไม้ปลูกพุทรานมสดที่ปลูกไว้ทุกๆ 3 เดือน และใช้ปุ๋ยหมักผสมน้ำเต้าหู้ ผสมในอัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าใต้ผิวดินทุก 5 วัน จนอายุถึง 6 เดือนจึงใช้ปุ๋ยสูตรนมสด ผสมรำข้าว ไข่ไก่ ในอัตราส่วน 3/1/1 ฉีดเข้าใต้ผิวดิน รอเวลาจนเก็บผลผลิตพุทรา จะช่วยให้ผลผลิตพุทรานมสด มีความหวานประมาณ 14-16 บริกซ์ ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ หวานกรอบ เมื่อรับประทานจะมีกลิ่นน้ำนม จึงเป็นที่มาของคำว่า “พุทรานมสด” ขณะนี้ได้ทำการจดทะเบียนการค้าเบื้องต้นพร้อมขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว
การปลูกพุทรานมสด
พุทรานมสด สามารถปลูกได้ทั้งในที่ดอนและที่ราบลุ่ม ตั้งแต่ดินเหนียว ดินทราย จนถึงดินลูกรัง การปลูกควรปลูกในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพราะจะได้รับแสงแดดเต็มที่ หากปลูกในที่ดอน ควรใช้ระยะห่าง 5x5 เมตร หากเป็นที่ลุ่มควรยกร่องและปลูกเดี่ยวกลางร่อง ระยะห่างนั้นตามแต่ขนาดของร่อง ควรตากดินทิ้งไว้ 15 วัน จากนั้นจึงนำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกคลุกเคล้าดิน ปลูกลงในหลุม จึงนำต้นพุทราลงปลูก ใช้ไม้ปักหลักผูกให้แน่นเพื่อป้องกันลมโยก จะช่วยให้พุทราตั้งตัวได้เร็วขึ้น
การปฏิบัติดูแลรักษา
พุทราเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพอากาศต่างๆได้ดี การดูแลรักษาเช่นเดียวกับการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ควรให้น้ำวันละ 1 ครั้ง หลังปลูกจนถึง 3 เดือน จากนั้นจึงให้น้ำวันเว้นวันไปจนถึงเดือนที่ 6 พอเริ่มเดือนที่ 7 ต้นพุทราก็จะเริ่มติดดอกพร้อมให้ผลผลิต ช่วงนี้จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง การกำจัดวัชพืชควรกำจัดปีละ 2 ครั้ง โดยใช้มือถอนหรือดายหญ้าพร้อมกับการพรวนดิน การใส่ปุ๋ย เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยนมสดที่ผลิตขึ้นเองจากการนำเอาปุ๋ยหมักมาผสมกับน้ำนมสดหมักทิ้งไว้ประมาณ 20 วันจึงนำไปใช้ได้ การใส่ปุ๋ยจะใช้วิธีฉีดลงไปในดิน บริเวณรากของต้นพุทรา โดยใช้ปุ๋ยผสมน้ำ 1 ต่อ 20 ลิตร ฉีดเข้าใต้ผิวดินทุก 5 วันจนต้นพุทราอายุได้ 6 เดือน จะช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ กรอบนุ่ม และมีกลิ่นของนมสดการตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก หากไม่มีการตัดแต่งกิ่งจะให้ผลที่มีขนากเล็กและปริมาณน้อย การตัดแต่งกิ่งเรียกว่าเป็นการตัดแต่งอย่างหนัก นั่นคือตัดแต่งให้เหลือแต่ก้านใหญ่ๆจนถึงเหลือแต่ตอ คงเหลือกิ่งใหญ่ไว้ประมาณ 4-5 กิ่งรอบทิศทางทรงต้น จะช่วยให้โครงสร้างต้นที่แข็งแรงกิ่งจะสมบูรณ์กว่ากิ่งเก่า สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย อีกทั้งเป็นการบังคับให้แตกกิ่งก้านพร้อมๆกัน และให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วควรทาแผลด้วยปูนแดง ป้องกันเชื้อราเข้าไปทำลายที่จะทำให้ต้นพุทราตายได้ ระยะเวลาตัดแต่งกิ่งควรเป็นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะทำให้เก็บผลผลิตได้ประมาณเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม หากเกษตรกรปลูกในที่ลุ่ม ควรตัดแต่งกิ่งประมาณเดือนสิงหาคม จะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม การตัดแต่งกิ่งเพื่อบังคับหรือคำนวณเวลาที่เหมาะสมนั้น จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ 2 ครั้ง การค้ำกิ่งและจัดระเบียบกิ่ง การค้ำกิ่งจะช่วยให้การรับน้ำหนักของกิ่งไม่ฉีกขาด และผลพุทราจะไม่โน้มถึงพื้นดินทำให้สกปรกและเกิดโรคได้ การค้ำกิ่งจะทำเมื่อกระโดงกิ่งแตกขึ้นมาใหม่ ยาวประมาณ 1.50 – 2.00 เมตร ใช้ไม้รวกปักบนดินแล้วดึงกิ่งมาผูกไว้กับไม้รวกที่ทำเป็นสี่เหลียมคล้ายคอกสี่เหลี่ยม เมื่อกิ่งยื่นยาวออกไปจะต้องเพิ่มกิ่งไม้รวกขึ้นอีก พร้อมกับตัดแต่งกิ่งให้แยกออกไปรอบๆทรงต้น ไม่ให้กิ่งทับซ้อนกัน หลังจากตัดแต่งกิ่งประมาณ 1-2 เดือน กิ่งใหม่ก็จะเริ่มออกดอกตามข้อ ดอกจะออกเป็นพะวงหรือเป็นกระจุก ในหนึ่งพวงจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะร่วงและเหลือติดข้อประมาณ 1-6 ผลผลผลิต พุทรานมสดจะให้ผลผลิตหลังจากปลูกประมาณ 6 เดือน ระยะแรกไม่ควรเก็บผลผลิต ควรปลิดทิ้งเพราะต้นพุทราอายุน้อยเกินไป ต้นยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ควรตัดแต่งรอผลผลิตรุ่นที่สอง หลังจากตัดแต่งกิ่งประมาณ 4-6 เดือน จากนั้นพุทราจะให้ผลผลิตเกือบตลอดทั้งปี แต่เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพพุทรานมสด ควรเก็บผลผลิตปีละครั้ง ก็ได้ผลผลิตที่คุ้มทุน มีกำไรมากเพียงพอกว่าปลูกพืชชนิดอื่น

Pepper

การปลูกพริกไทย
พริกไทย เป็นพืชสมุนไพรเครื่องเทศที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งของพืชในกลุ่มนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เป็นทั้งเครื่องเทศ คือช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ป้องกันอาหารเน่าเสีย ในด้านของสมุนไพรช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ปัจจุบันได้มีการนำพริกไทย มาใช้ในรูปของอาหารเสริมสุขภาพมากขึ้น
++ ปัญหา ข้อจำกัด และ โอกาส ++ 
- ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะ ค่าแรงงาน และ ค่าเสาค้าง ทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อมีอำนาจต่อรองในตลาดโลก และทำให้เสียโอกาสในการแข่งขันในด้านการค้าในตลาดโลก 
- การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ามีจำกัดและปริมาณน้อย เนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอและต้นทุนสูงกว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ราคาพริกไทยไม่มีเสถียรภาพ ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก 
++ พันธุ์พริกไทย ++ 
1. พันธุ์ซาราวัคหรือพันธุ์คุชซิ่ง :พันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจังหวัดจันทบุรี นิยมเรียกพันธุ์มาเลเซียนั่นเอง เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก เป็นพันธุ์ที่นำมาจากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซียสามารถต้านทานโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์จันทบุรี ซึ่งปลูกอยู่แต่เดิม เจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย ประมาณ 9-12 กิโลกรัมต่อค้างต่อปี หรือไร่ละประมาณ 3,600-4,800 กิโลกรัมต่อปี แต่ส่วนใหญ่ การเจริญเติบโตในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน ผลผลิตก็แตกต่างกันไป 
ลักษณะประจำพันธุ์ : 
ลำต้น - ลำต้นอายุ 4 ปี มีขนาดของเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ย 9.98 เซนติเมตร ความยาวปล้องของลำต้น เฉลี่ย 8.07 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องของกิ่งแขนงแรก 9.66 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องสุดท้ายของกิ่งแขนง ที่สาม 2.48 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ยทรงพุ่ม 162.20 เซนติเมตร 
ใบ - ใบเป็นพวกใบเดี่ยว ปลายใบแหลมแบบ acuminate แต่งอเล็กน้อยฐานใบเป็นแบบ obtuse ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเรียว ใบมีสีเขียวเป็นมัน ค่อนข้างหนาใบมีขนาดกว้างเฉลี่ย 4.88 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 10.24 เซนติเมตร ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.22 เซนติเมตร มีร่องที่ก้านใบ มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น 
ดอก - ช่อดอกเป็นแบบ spike ไม่มีก้านดอก ช่อดอกเกิดที่ช่องตรงข้ามกับใบ ในแต่ละข้ออาจมีช่อดอกได้ 1-2 ช่อ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดเพียงช่อเดียว ช่อดอกมีลักษณะห้อยลงดินดอกเกิดสับหว่างกันไปเป็นชั้นในแต่ละช่อดอก ช่อดอกยาวเฉลี่ย 6.34 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวเฉลี่ย 0.67 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่งช่อมีจำนวนเฉลี่ย 64 ดอก ความกว้างของยอดเกสรตัวเมีย (แฉกรูปดาว) เฉลี่ยได้ 0.88 เซนติเมตร รังไข่เป็นแบบ superior ใบมี 1 เซล อับละอองเรณูมีขนาดกว้างเฉลี่ย 0.33 มิลลิเมตร ก้านชูอับละอองเรณูเป็นรูปทรงกระบอก 
ผล - ผลมีลักษณะเป็นช่อ ไม่มีก้านผล ความยาวช่อผลรวมทั้งก้านช่อเฉลี่ย 9.10 เซนติเมตร ความยาวก้านช่อผลเฉลี่ย 0.75 เซนติเมตร ช่อผลหนึ่งช่อมีจำนวนเฉลี่ย 49 ผล ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์จันทบุรี แต่ใหญ่กว่าพันธุ์ปะเหลี่ยนขนาดของผลด้านแป้นเฉลี่ย 5.69 มิลลิเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 5.62 มิลลิเมตร น้ำหนักช่อผลหนึ่งช่อเฉลี่ย 6 กรัม น้ำหนักผลสดต่อ 100 ผล เฉลี่ย 14.43 กรัม ผลเมื่อสุกจะมีสีส้มเป็นส่วนใหญ่ 
เมล็ด - มีลักษณะค่อนข้างกลมขนาดของเมล็ดยาวด้านแป้นเฉลี่ย 0.43 เซนติเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 0.42 เซนติเมตร น้ำหนักของเมล็ดแห้งขาวต่อ 100 เมล็ดหนักเฉลี่ย 5.19 กรัมขนาดของเมล็ดแห้งดำด้านแป้น เฉลี่ย 0.50 เซนติเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 0.46 เซนติเมตร น้ำหนักของเมล็ดแห้งดำต่อ 100 เมล็ด เฉลี่ย 6.46 กรัม 
2. พันธุ์ซีลอนยอดแดง :เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา นิยมปลูกเพื่อขายเป็นพริกไทยสด มากกว่าทำพริกไทยดำหรือขาวลักษณะของยอดจะออกสีน้ำตาลแดง จึงเรียกกันว่า "ซีลอนยอดแดง" 
ลักษณะประจำพันธุ์ : 
ลำต้น - ลำต้นอายุ 4 ปี มีขนาดของเส้นรอบวงลำต้นประมาณ 11-86 เซนติเมตร ความยาวของปล้องของลำต้นเฉลี่ย 8.2 เซนติเมตร ความยาวของปล้องของกิ่งแขนงแรก 9.82 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องของกิ่งแขนงที่สาม 7.28 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องสุดท้ายของกิ่งแขนงที่สาม 3.24 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ยทรงพุ่ม 180.60 เซนติเมตร 
ใบ - เป็นพวกใบเดี่ยวปลายใบแหลมแบบ acuminate ฐานใบเป็นแบบ obtuse ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างกว้าง สีเขียวเข้มค่อนข้างหนา ใบมีขนาดกว้างเฉลี่ย 7.22 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 12.62 เซนติเมตร ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.42 เซนติเมตร มีร่องที่ก้านใบมีเส้นใบ ประมาณ 5-7 เส้น 
ดอก - ช่อดอกลักษณะเช่นเดียวกับพันธุ์ซาราวัค ช่อดอกยาวประมาณ 15-17 เซนติเมตรก้านช่อดอกยาวเฉลี่ย 1.12 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่งช่อมีจำนวนดอกเฉลี่ย 106 ดอก 
ผล - ผลมีลักษณะเป็นช่อไม่มีก้านผล ผลมีขนาดใกล้เคียงพันธุ์จันทบุรี มีลักษณะค่อนข้างกลมขนาดของผลด้านแป้นเฉลี่ย 6 มิลลิเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 6.24 มิลลิเมตร ผลสดสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดงเข้ม ความยาวช่อผลประมาณ 16-19 เซนติเมตร 
เมล็ด - เมล็ดมีขนาดใกล้เคียงกับพันธุ์ซาราวัค 
3. พันธุ์ซีลอนยอดขาว : เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา เช่นเดียวกันกับพันธุ์ซีลอนยอดแดง พริกไทยพันธุ์นี้ความจริงเป็นพริกไทยพันธุ์ PANIYUR-1 ซึ่งเป็นพริกไทยพันธุ์ลูกผสมของประเทศอินเดีย ระหว่างพ่อพันธุ์ Uthirankota กับแม่พันธุ์ Cheriyakaniyakadan (John.K.Ghanara tham, 1994) พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาวโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่า "ซีลอนยอดขาว" เนื่องจากมีผู้นำพันธุ์มาจากประเทศศรีลังกา (ซีลอน) ลักษณะต่าง ๆ จะคล้ายกับพันธุ์ศรีลังกาที่แตกต่างกันชัดเจนก็คือส่วนยอด ช่อผลจะยาวกว่าพันธุ์ศรีลังกาเล็กน้อย การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัค ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัค นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง 
++ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ++ 
- พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-1200 เมตร 
- มีความลาดเอียง 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ควรทำขั้นบันได เพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน 
- ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี 
- ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร 
- ความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 
- พื้นที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200-2,500 มิลลิเมตร 
- มีแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน มีความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 
++ การเตรียมดิน ++ 
- ป่าเปิดใหม่ ต้องขุดตอ เก็บรากไม้เศษหญ้าออกให้หมดเสียก่อนขุดดิน ตากดินทิ้งไว้ 15 วัน แล้วจึงไถพรวน แล้วปรับหน้าดิน 
- พื้นที่ลาดชันเกิน 15 องศาต้องปรับพื้นที่แบบขั้นบันได 
++ วิธีการปลูก ++การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ 
- ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง 
- นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9x14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง 
++ ระยะปลูก ++ 
- พันธุ์ซาราวัค (มาเลเซีย) ใช้ระยะ 2x2 เมตร 
- พันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25 หรือ 2.25 x 2.5 เมตร 
++ การปักค้าง ++ 
ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ ขนาด 4x4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น หลังจากนั้น ขุดหลุมขนาด 40x60 เซนติเมตร ลีก 40 เซนติเมตร ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ผสมดินกันปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1:1 แล้วใส่ในหลุมประมาณครี่งหลุม นำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลุกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้วัสดุพลางแสง ประมาณ 3-6 เดือน จนกว่าพริกไทยจะตั้งตัวได้ 
++ การตัดแต่ง ++ 
- ปีที่ 1 เหลือยอดที่สมบูรณ์ไว้ ค้างละ 4-6 ยอด ใช้เถาวัลย์หรือเชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้างโดยผูกขอเว้นข้อ จนกระทั่งพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน
- ปีที่ 2 ตัดแต่งเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง และใช้เชือกไนล่อนผูกทับเถาวัลย์เดิมเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 40-50 เซนติเมตร 
- ปีที่ 3 ตัดไหลและปรางบริเวณโคนต้น ปลิดใบที่ลำต้นออก เพื่อให้โคนโปร่ง ถ้าพริกไทยยังไม่ถึงยอดค้าง เด็ดช่อดอกออกให้หมด เพราะจะทำให้พริกไทยเจริญเติบโตช้า 
++ การใส่ปุ๋ย ++ 
- ใส่ dolomite หรือปูนขาว ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 400-500 กรัม/ค้าง ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 2-4 สัปดาห์ โดยเฉพาะในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรด 
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ค้าง หรือแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง 
- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 8-24-24 หรือ 12-12-12 +2Mg ดังนี้ 
ปีที่ 1 สูตร 15-15-15 หรือ 12-12-17+2Mg อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง 
ปีที่ 2 สูตร 15-15-15 หรือ 12-12-17+2Mg อัตรา 800-1,000 กรัม/ค้าง แบ่งใส่ 3-4 ครั้ง 
ปีที่ 3 และปีต่อ ๆ ไป 
- ครั้งที่ 1 ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ใส่หลังเก็บเกี่ยว 
- ครั้งที่ 2 สูตร 8-24-24 อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 
- ครั้งที่ 3 สูตร 12-12-17+2 Mg อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม 
++ การให้น้ำ ++ 
- ควรให้แบบ mini sprinkler 
- ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ 3-4 วัน/ครั้งตามสภาพดินฟ้าอากาศ 
++ แมลงศัตรูพริกไทย ++ 
1. มวนแก้ววางไข่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง ป้องกันโดยการเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย มาลาไธออน 50% EC 
ลักษณะและการทำลาย :ตัวอ่อนมีลักษณะสีเหลืองใส มีหนามแหลมสีดำตามลำตัว ตัวเต็มวัยมีลักษณะสีดำ ขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอกยื่นยาวออกนอกลำตัว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง 
การป้องกันกำจัด : แมลงจำพวกมวน รวมทั้งมวนแก้ว มีพฤติกรรมวางไข่เป็นกลุ่ม เมื่อฟักมาใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ถ้าพบกลุ่มของตัวอ่อนมวนแก้วให้เก็บเผาทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ 
- คาร์บาริล (85 % ดับเบิลยู พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือมาลาไทออน (57 % อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วค้างพริกไทย เมื่อพบมวนแก้วระบาดรุนแรง หยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน 
2. ด้วงงวงเจาะเถาพริกไทยตัวอ่อนเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำใหเถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกันกินใบและผลพริกไทย ป้องกันโดยเผาทำลาย เถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวง ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย คาร์บาริล 85% WP 
ลักษณะและการทำลาย : เป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำตาลสลับเหลือง ตัวอ่อนจะเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกัดกินตามใบ และผลพริกไทย 
การป้องกันกำจัด :สำรวจแปลงพริกไทย ถ้าพบเถาพริกไทยเหี่ยวเฉา และพบรอบเจาะของหนอนด้วงงวง ให้ตัดเผาทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ 
- คาร์บาริล (85 % ดับเบิลยู พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วค้างพริกไทย เพื่อป้องกันด้วงงวง และเมื่อพบมีการระบาดรุนแรง หยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน

Spring onion 1 rai, 45 days, 90000 B

คุณเชื่อหรือไม่ ว่า … ปลูก ‘ต้นหอม’ ธุรกิจที่สร้างรายได้ง่าย ๆ แต่ทำได้จริง ต้นหอม 1 ไร่ 45 วัน 9 หมื่นบาท ปลดหนี้ 20 ล้าน ใน 4 ปี
.
เรียกว่าตอนนี้เศรษฐกิจบ้านเมืองเรากำลังแย่เลยทีเดียว แถมดันมาเจอเข้ากับภัยแล้งอีก งานนี้เล่นเอามึนสุด ๆ แต่ก็อย่าเพิ่งท้อไป สำหรับคนสู้ชีวิตอย่างเรา ๆ วันนี้ คอลัมน์ 108 อาชีพ จะพาไปรู้จักธุรกิจบ้าน ๆ ที่ทำได้ง่าย ๆ และทำได้จริง! กับการปลูกต้นหอม ที่นอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ง่ายแล้ว ยังสร้างรายได้มหาศาล
.
อ่านดูแล้วอาจจะเหมือนว่าโม้ แต่มีคนที่เขาทำได้จริง ๆ อย่าง คุณโสภณวิชญ์ แซ่ลิ้ม ที่ปลูกต้นหอมในเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้ระยะเวลา เพาะปลูก 40-45 วัน ก็สามารถเก็บและนำไปขายได้ถึง 90,000 บาท ที่แน่ ๆ ต้นหอมปลูกได้ตลอดปี ลองคิดคำนวณดูตัวเลขที่จะได้รับแล้ว อาจเปลี่ยนคุณให้กลายเป็นเศรษฐีได้เลยทีเดียว
.
สำหรับต้นหอมนั้นที่ประเทศไทยจะมีพันธุ์ลับแลและพันธุ์อุตรดิตถ์ แต่ที่เราจะพูดถึงคือ หอมแบ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะพันธุ์ที่มาจากประเทศไต้หวัน เกษตรกรนิยมปลูกมากเพราะแตกกอดี ส่วนสภาพดินนั้น สามารถปลูกได้ทุกประเภท แต่ถ้าเป็นดินร่วนจะดีมาก
.
ขั้นตอนการเพาะปลูกต้นหอม
.
1. เลือกพันธุ์หอมแบ่ง ที่ให้ผลผลิตสูง เช่นพันธุ์ไต้หวัน เมื่อเลือกได้แล้วนำมาตัดรากเก่าและตรงหัวทิ้งจากนั้นเอาผ้าเปียกมาปิดคุมไว้ให้ชื้น ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง
.
2. การเตรียมดิน เนื่องจากต้นหอมหรือหอมแบ่งเป็นพืชที่มีรากตื้น การขุดไถ่พรวนดินควรลึกประมาณ 15-20 ซม. ตากดินไว้ 5-7 วัน จากนั้นก็เอาปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักชีวภาพมาคลุกเคล้ากับดิน (นี่คือการบำรุงดินใส่ปุ๋ยครั้งแรก) เสร็จแล้วก็ยกดินทำเป็นแปลงผัก กว้างประมาณ 1.5 ม. ความยาวตามต้องการแต่ต้องให้สะดวกในการรดน้ำ สุดท้ายพรวนดินย่อยแล้วเขี่ยดินให้สม่ำเสมอกัน
.
3. การเพาะปลูก เมื่อเตรียมดินและยกแปลงผักเสร็จแล้ว รดน้ำแปลงผักให้ชุ่ม นำหัวหอมที่เตรียมไว้มาปักลงดิน เพียงครึ่งหัว โดยปักเป็นแถวให้ห่างกัน 12-15 ซม.จนเสร็จ หัวหอมที่ใช้ประมาณ 60-80 กิโลกรัมต่อ1ไร่ แล้วนำฟางข้าวหรือ แกลบมาคลุมทับ(เพื่อดูดซับความชื้นไว้) รดน้ำให้ทั่ว และอย่าลืมรดน้ำทุกวันเช้าและเย็น
.
4. การบำรุงรักษา หลังปลูกมาได้ประมาณ 10-20 วัน ก็ใส่ปุ๋ยบำรุงครั้งที่สอง โดยให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยเคมี ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีก็มีสูตร 20-10-10 หรือ 20-10-20 หรือ 12-8-8 และปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 ใส่บำรุงผัก อัตราส่วนการใส่ปุ๋ยจะอยู่ประมาณ 20-25 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่
.
5. การเก็บเกี่ยวและจำหน่าย ต้นหอมสามารถเก็บและออกจำหน่ายได้ดีจะต้องมีอายุ 40-45 วันหลังการเพาะปลูก เพราะผักจะโตเต็มที่ ใบสีเขียวสด
.
ที่มา : kaijeaw.com
credit photo, welovethaiking.com

Wednesday, February 17, 2016

Petai

http://www.farmkaset.org/contentsNET/default.aspx?content=2386&lang=#

การปลูกสะตอ : ในพื้นที่ภาคอีสาน

บทความนี้อยู่ในหมวดไม้ผล ไม้ยืนต้นแสดงหมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น

การปลูกสะตอ - สะตอ เป็นพืชผักยืนต้น ที่มีแหล่งกำเนิดทางภาคใต้ของไทย ปรุงอาหารอร่อยหลายอย่าง มีสรรพคุณทางยาด้วย

อัปเดท ( 29 มิถุนายน 2558 ) , เข้าชมแล้ว (3,106) , ความคิดเห็น (0) , สั่งพิมพ์คลิกที่นี่

การปลูกสะตอ

การปลูกสะตอ

สะตอ พืชผักยืนต้นที่มีแหล่งกำเนิดมาจากภาคใต้ของประเทศไทย เป็นผักพื้นบ้านที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง อาทิ สะตอผัดกุ้ง แกงส้มสะตอกุ้ง แกงเผ็ดใส่สะตอ เป็นต้น ปัจจุบันสะตอจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมรับประทานกันมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการบริโภคสะตอมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้มีผู้สนใจปลูกสะตอกันอย่างแพร่หลายกระจายเกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดศรีสะเกษซึ่งถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

คุณสมพร ไชยสุวรรณ เกษตรกรวัย 43 ปี เป็นผู้ริเริ่มปลูกสะตอบนพื้นที่ 18 ไร่ ในจังหวัดศรีสะเกษ มานานกว่า 20ปี โดยเริ่มต้นปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2532จากการใช้พื้นที่เอกสารสิทธิ์ สปก.มาทำการเพาะปลูก ได้นำเมล็ดพันธุ์สะตอมาจากญาติที่จังหวัดตรัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางภาคใต้จะมีการปลูกสะตอเพียงรายละ 2-3 ต้นเท่านั้น เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ทำให้คุณสมพรมีแนวคิดที่จะนำสะตอมาปลูกในรูปแบบสวนที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกันกับทางภาคใต้ คุณสมพรจึงปลูกทั้งสะตอข้าวและสะตอดานในพื้นที่ 18ไร่ จำนวนทั้งสิ้น 300 ต้น ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังตำบลต่างๆ ในอำเภอขุนหาญและอำเภอใกล้เคียงจนกลายมาเป็นแหล่งเพาะปลูกสะตอที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน ซึ่งคุณสมพรเป็นเพียงคนเดียวที่ทำสวนสะตอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นที่มาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดศรีสะเกษที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

"สะตอ"เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงเฉลี่ยได้ถึง 30 เมตร ต้นสูงขึ้นไปแล้วแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่กว้าง ลำต้นเรียบ ลอกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย มีสีน้ำตาลอ่อน กิ่งก้านมีขนละเอียด ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบแขนงมีประมาณ 14-18 คู่ ช่อใบย่อยมีประมาณ 31-38 คู่ ปลายใบบนฐานใบด้านนอกเบี้ยวเป็นติ่ง ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุก อัดกันแน่นเป็นก้อนคล้ายดอกกระถิน ช่อดอกจะห้อยระย้าอยู่ทั่วทรงพุ่ม แต่ละดอกมีก้านดอกและใบประดับรอง ประกอบด้วยช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาวนวล ดอกจะออกช่วงเดือนเมษายน หลังจากนั้น 70 วัน จะสามารถเก็บฝักได้ ผลของสะตอเป็นฝักแบนกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35-45 เวนติเมตร ฝักบิดเป็นเกลียวห่าง ฝักอ่อนมีสีเขียว พอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ดสะตอมีลักษณะเป็นรูปรีเกือบกลมเรียงตามขวางกับฝัก มีสีเขียวอ่อน

พันธุ์สะตอ 

สะตอข้าว : ลักษณะฝักเป็นเกลียว ยาวประมาณ 31 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-20 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นไม่ฉุนเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น อายุการให้ผลผลิต 3-5 ปี หลังปลูก

สะตอดาน : ฝักมีลักษณะตรงแบนไม่บิดเบี้ยว ยาวประมาณ 32 ซม. ความกว้างกว้างกว่าสะตอข้าวเล็กน้อย มีเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-15 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นฉุนรสเผ็ด เนื้อเมล็ดแน่น อายุการเก็บเกี่ยว 5-7 ปี

สรรพคุณทางยาของสะตอ

- มีผลต่อความดันโลหิต

- มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์

- มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

- มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

- มีผลของการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง

- มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

- มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

การขยายพันธุ์สะตอด้วยวิธีการเพาะเมล็ด


สะตอสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์สะตอ โดยการเพาะเมล็ดเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และได้ต้นพันธุ์จำนวนมาก โดยการนำเมล็ดจากฝักที่แก่ขนาดที่ใช้รับประทานจากต้นพันธุ์ที่มีอายุ 15-20 ปี จะให้ผลผลิตที่ดี แกะเมล็ดแล้วนำไปเพาะลงถุง ประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้ต่อไป

ขั้นตอนวิธีการเพาะเมล็ด

1.เลือกฝักสะตอจากต้นพันธุ์ที่แก่เต็มที่แล้วแต่ไม่ต้องถึงกับสุกงอม สามารถออกฝักได้ทุกปี ผลผลิตมากในหนึ่งต้นและออกฝักก่อนต้นอื่น ในช่อหนึ่ง ๆ ควรมีฝักตั้งแต่ 10-15 ฝัก ฝักที่สมบูรณ์ มีเมล็ด 15-20 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอและเรียงเป็นแถวสวยงาม ลำต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากแมลงรบกวน

2.เมื่อได้ฝักที่ต้องการแล้วแกะเมล็ดออกแล้วลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้เหลือเนื้อเมล็ดที่มีสีเขียว

3.นำเมล็ดที่แกะแล้วแช่น้ำในอุณหภูมิปกติทิ้งไว้ 1 คืนจากนั้นนำมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง

4.นำเมล็ดมาคลุกสารป้องกันมดกัดกินในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อจำนวน 100 เมล็ด

5.ทำการเพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม โดยใช้ถุงพลาสติก ขนาด 4x8 นิ้ว เจาะก้นถุงด้านล่าง 3 รูเพื่อระบายน้ำ ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกอัตรา 2 ต่อ 1 ลงไปประมาณค่อนถุงนำไปตั้งในที่ร่ม

6.นำเมล็ดที่เตรียมไว้มาปลูกตรงกลางถุงโดยให้ทางด้านหัวกดลงลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อเวลางอกลำต้นจะตั้งตรง

7.รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ภายใน 3 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกจนอายุประมาณ1 ปี จะมีใบงอกออกมาลำต้นจะมีขนาด 1-2 ฟุตสามารถนำไปปลูกได้ต่อไป

การปลูกสะตอและการดูแลรักษา

1. ปลูกในระยะความกว้าง 6เมตร ยาว 6เมตร เริ่มขุดหลุมปลูกขนาดความกว้างxยาวxลึก 50เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ได้จากการเลี้ยงวัวใส่รองก้นหลุมในอัตราหลุมละ ? กิโลกรัมผสมกับดินเดิมจากนั้นจะนำต้นกล้าลงปลูกแล้วกลบดินให้สูงกว่าระดับดินเดิมอัดดินพอประมาณไม่ต้องแน่นจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

2. ฤดูปลูกที่เหมาะสมควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนราวๆเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนจะดีที่สุดเพราะว่าจะช่วยประหยัดน้ำได้ดี

3. การให้น้ำในระยะแรกๆจะทำการรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอเสมอ สะตอที่ปลูกใหม่ในปีแรก ควรให้น้ำวันเว้นวันในช่วงหน้าแล้ง เมื่อต้นสะตอมีอายุ 2-3ปี ให้น้ำ 2ครั้งต่อสัปดาห์ หากเป็นช่วงหน้าแล้งคุณสมพรแนะนำให้หาเศษพืชคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นเนื่องจากต้นสะตอที่ให้ผลแล้วจะเป็นระยะที่ต้องการน้ำมากคือช่วงระยะออกดอกถึงติดฝักจนเก็บเกี่ยวได้

4. การพรวนดินคุณสมพรจำเริ่มทำตั้งแต่เริ่มปลูกเป็นต้นไปปีละประมาณ 3-4ครั้ง เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชและถ่ายเทอากาศในดิน

5. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่หาได้ในชุมชน คุณสมพรจะเริ่มใส่ตั้งแต่เริ่มปลูก อัตรา 1-2ปี๊บต่อต้นเมื่อให้ผลผลิตแล้วจะใส่อัตรา 3-4ปี๊บต่อต้น โดยจะใส่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะทำให้สะตอให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกๆปี นอกจากปุ๋ยคอกแล้วคุณสมพรจะเสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15ในอัตรา 1/2กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยใส่ก่อนออกฝักและหลังจากออกฝักแล้วจะเพิ่มปริมาณอัตรา 1กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ก่อนออกดอกและครั้งที่สองใส่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว จากนั้นให้ทำการตัดแต่งกิ่งด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยอัตราการใส่ ควรเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 1/2กิโลกรัม

6. เมื่อลำต้นสะตอสูง 2-3เมตรจะทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มเตี้ยสามารถเก็บเกี่ยวง่าย ทำการตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้ง กิ่งตาย กิ่งเป็นโรค กิ่งเบียดชิด กิ่งไม่ถูกแสงภายในทรงพุ่ม เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งไม่ทึบแน่นเกินไป

7. สะตอจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไปและจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ใช้ระยะเวลาประมาณ 70วันทั้งพันธุ์สะตอข้าวและสะตอดาน เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุประมาณ 5-7ปี ในต้นหนึ่ง ๆ จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 200-300ฝัก และจะให้ฝักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีตามอายุปลูก ปัจจุบันคุณสมพรปลูกสะตอมาได้ 20ปีแล้วผลผลิตเฉลี่ยจะอยู่ที่ต้นละประมาณ 400-500ฝัก

การเก็บเกี่ยว

1. ลักษณะฝักที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวได้ สีฝักจะมีลักษณะเป็นมันแววสีเขียวเข้ม เปลือกบริเวณหุ้มเมล็ดจะนูนเห็นเส้นเยื่อใยเด่นชัด รูปทรงสะดุดตา เปลือกหุ้มเมล็ดเมื่อแกะออกดูด้านในที่บริเวณขั้วของเปลือกจะเห็นเป็นสีส้มเข้มเล็กน้อย แสดงว่าใช้ได้แล้ว

2. การชิมเมล็ดดูจะพบว่าเมล็ดพันธุ์สะตอข้าวจะมีรสชาติมันและค่อนข้างหวาน เนื้อเมล็ดค่อนข้างแน่น พันธุ์สะตอดานจะมีรสชาติค่อนข้างฉุน เนื้อเมล็ดแน่น

3. คุณสมพรจะใช้ไม้สอย โดยใช้ไม้ไผ่ลวกยาวประมาณ 5-10เมตรตามขนาดของลำต้น โดยทำเว้าที่ปลายไม้ไผ่ ในกรณีต้นที่สูงจะขึ้นบนต้นแล้วใช้ส่วนที่เว้าบิดขั้วฝักสะตอแล้วดึงเข้าหาตัว แล้วปล่อยฝักสะตอให้รูดลงตามเชือกซึ่งผูกโยงระหว่างกิ่งกับหลักไม้ที่พื้นดินลงสู่ด้านล่าง โดยจะมีทีมงานในครอบครัวคอยรับอยู่ด้านล่างโดยวิธีนี้จะทำให้ฝักสะตอมีรอยบอบช้ำน้อยที่สุด นอกจากจะเก็บด้วยตนเองแล้วยังมีการจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว โดยมีค่าจ้างในการเก็บเกี่ยวในราคา 100ฝักละ 15-20บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณของฝักสะตอมีมากน้อยขนาด ไหนในช่วงเก็บนั้น ๆ ต้นหนึ่ง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 3-4 ครั้งจึงหมด

การตลาดสตอ

การรวบรวมฝักสะตอก่อนส่งขาย จะนิยมใช้วิธีการมัดสะตอรวมเป็นมัด ๆ แต่ละมัดจะมีฝักสะตอ 100ฝัก โดยจะส่งให้พ่อค้าคนกลางซึ่งจะรับซื้อถึงสวน หรืออาจส่งไปขายที่ตลาดโดยตรงในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงได้ โดยปกติคุณสมพรจะจำหน่ายอยู่ราคาเดียวคือ จำหน่ายฝักละ 4บาท โดยฝักที่สมบูรณ์จะมีเมล็ดภายในฝักจำนวน 12เมล็ด


แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
คุณสมพร ชัยสุวรรณ อายุ : 43 ปี
ที่อยู่ : 64 หมู่ที่11 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

coconut info

http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2012/10/01/entry-2


การปลูกมะพร้าวน้ำหอม
มะพร้าวน้ำ หอม เป็นพืชที่มีอนาคตในด้านการส่งออก และแปรรูปใน อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษคือเนื้อมะพร้าวมีรสชาติหวาน กลมกล่อมและมี กลิ่นหอมชื่นใจ สามารถช่วยดับกระหายคลายร้อนได้ดี นอกจากนี้มะพร้าว ก็ได้ ชื่อว่าเป็นผลไม้ที่ปลอดสารพิษชนิดหนึ่ง เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมี น้อยมาก
ข้อคำนึงในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการค้า :
๑.ต้องมีแหล่งน้ำสำหรับมะพร้าวตลอดปี
๒.พื้นที่ที่จะปลูกต้องทราบว่ามีสภาพดินเป็นอย่างไร โดยการนำดินส่งไปวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ pH (ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน) เพื่อจะได้รู้ว่าสูตรปุ๋ยที่จะใช้เป็นปุ๋ยสูตรอะไร
๓.ปุ๋ยอินทรีย์ พยายามใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น
๔.ควรติดต่อแหล่งที่ขายผลผลิตไว้แต่เนิ่น ๆ
๕.ต้องมีเงินทุนไม่ต่ำกว่าไร่ละ ๑๕,๐๐๐ – ๒๕,๐๐๐ บาท (ตลอด ๕ ปี) เพราะการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการค้าจะคุ้มทุนในปีที่ ๕
***เมื่อท่านตัดสินใจในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้คือ วางผังในการจัดแปลงปลูกมะพร้าว ว่าจะปลูกอย่างไรให้มีการให้น้ำได้อย่างสะดวกและทั่ว ถึงมะพร้าวทุกต้นและพอเพียงตลอดจนมีความสะดวก ในการใส่ปุ๋ยและเก็บเกี่ยวผลผลิต
การปลูกมะพร้าวน้ำหอม :
คัดเลือกลักษณะมะพร้าวน้ำหอมที่ดี ต้องเริ่มจากการคัดเลือกลักษณะที่ดีของต้นพันธุ์ ซึ่งมีหลักในการคัดเลือกดังนี้
ใบ มีทางใบสั้นแผ่กระจายรอบลำต้น เมื่อมองทรงพุ่ม จากภายนอก จะคล้ายรูปวงกลม
จั่น มีจั่นอยู่ทุกโคนทางและที่จั่นมีผลมะพร้าวทุกขนาดอายุติดอยู่
ผล มีผลโตสม่ำเสมอทั้งละลาย น้ำหนักผลประมาณ ๙๐๐ กรัมต่อผลผลยาวรีเล็กน้อย และตรงกันเป็นจีบเล็กน้อย น้ำมีรสหวานและกลิ่นหอม เนื้อนุ่มรสชาติกลมกล่อม
ต้น ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม :
น้ำฝน ฝนควรตกกระจายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตรต่อปี ไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร เกิน ๓ เดือน
สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๗ องศาเซลเซียส จะสูงหรือ ต่ำกว่านี้ไม่เกิน ๗-๘ องศาเซลเซียส อุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
แสงแดด มะพร้าวควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย ๕ ชั่วโมงต่อวัน แสงแดดต้องสาดส่องอย่างเสมอตลอดปี มะพร้าวจะเติบโตได้ดี
ลม ควรมีลมพัดอ่อน ๆ แต่พัดอย่างสม่ำเสมอ
ดิน ไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด จะเป็นดินอะไรก็ ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้าเป็นดินน้ำไหลทรายมูลที่เกิดจากน้ำพัดพา มาสะสม เช่น ดินริมแม่น้ำ จะปลูกมะพร้าวได้ดีที่สุด
ระยะปลูกที่เหมาะสม :
ระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอม คือ ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว ๖x๖ เมตร
การเตรียมหลุมปลูก :
ควรเตรียมหลุมปลูกในฤดูแล้ง ขุดหลุมขนาด ๕๐x๕๐x๕๐ เซนติเมตร แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากลุมอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ ใบไม้แห้งในหลุม หรืออาจใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมก็ได้ ถ้าปลูกมะพร้าวในพื้นที่แห้งแล้งหรือดินที่ปลูกเป็น ทรายจัดให้ใช้กาบมะพร้าวก้นหลุม โดยวางกาบมะพร้าวในด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นข้าง บนวางซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่น เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา ๑:๗ รองก้นหลุมส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ ๒กระป๋องนม) เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก
วิธีการคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ :
   มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ผลมะพร้าวที่เพาะจนแทงต้นอ่อนออกมาแล้วเปลือก ของผลมะพร้าวจะย่นเป็นริ้ว ๆ ขณะที่มะพร้าวที่กลายพันธุ์เปลือกมะพร้าวจะเรียบไม่ย่น หรือสังเกตที่ต้นอ่อนที่กลายพันธุ์สีของก้านใบจะออกสีแดง แต่ถ้าเป็นหน่อพันธุ์แท้จะเป็นสีเขียว อีกวิธีก็คือขยี้ปลายรากมะพร้าว ดมดูหากมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตยเป็นพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมแท้
วิธีการปลูก :
- ควรปลูกในฤดูฝน
- ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว
- เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันเชื้อราทาตรงรอยตัด วางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง หันหน่อไปในทิศทางเดียวกัน
- กลบดินอย่างน้อย ๒/๓ ของผล หรือให้มิดผลมะพร้าวพอดีแต่ระวังอย่า ให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้าแต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นแล้วก็ควรจะกลบ ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย
- เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยกเหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น
- ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป
- ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยงให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย
วิธีการให้น้ำ :
ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในปีแรก ควรใช้น้ำทุกสัปดาห์เมื่อมะพร้าวโตขึ้นอาจให้น้ำทุก ๒ สัปดาห์
วิธีการใส่ปุ๋ยมะพร้าวน้ำหอม :
แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหาร และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การ ปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH ๖-๗ การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการ ของมะพร้าวนั้น ควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วย ซึ่งพบว่าในปีหนึ่ง ๆ มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารไปใช้ดังนี้
ไนโตรเจน ๙.๔๔- ๑๕.๖๘ กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส ๔.๓๒ – ๗.๓๖ กิโลกรัมต่อไร่
โพแทสเซียม ๑๓.๖๐ – ๒๐.๒๐ กิโลกรัมต่อไร่
แคลเซี่ยม ๑๓.๖๐ กิโลกรัมต่อไร่
แมกนีเซี่ยม ๕.๖ กิโลกรัมต่อไร่
ในบรรดาธาตุดังกล่าว มะพร้าวจะดูดธาตุโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุด โดยประมาณ ๖๒ เปอร์เซ็นต์ของโพแตสเซียมจะถูก นำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของมะพร้าว
ชนิดปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตมะพร้าวได้สูงสุด คือ ปุ๋ยเกรด ๑๓- ๑๓ – ๒๑ ปุ๋ยเกรด ๑๒ – ๑๒ – ๑๗ – ๒, แมกนีเซียมซัลเฟต และปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์ตามลำดับ ในการใช้ปุ๋ยนั้น ให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็น ด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีความเป็นด่างให้ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และสภาพดินที่มีความเป็นกรดให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ โดยให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ ๑ เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าว ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ฤดูที่เหมาะสมที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้เหมาะแก่มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน เพราะในช่วงนี้มีความ ชื้นเพียงพอที่จะ ช่วยละลายปุ๋ยและรากของมะพร้าวกำลังเจริญอย่างเต็มที่สามารถ ดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี
*** จากการศึกษาพบว่า รากมะพร้าวที่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ดีจะอยู่บริเวณติดกับลำต้นและอยู่ ห่างจากลำต้นภายในรัศมี ๒ เมตร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นไปจนถึง ๒ เมตรโดยรอบ แต่ถ้าเป็นมะพร้าวที่ยังเล็กอยู่ควรหว่านปุ๋ยใกล้โคน มะพร้าวเพราะ รากยังน้อย หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วควรพิจารณาดินตื้น ๆ ลึกประมาณ ๑๐ – ๑๕ เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดินและป้องกัน การชะล้าง
การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ ประเทศที่อยู่ในเขต ร้อน มักมีอินทรีย์วัตถุในดินน้อย และมีการสลายตัวเร็ว เพราะมีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงจุลินทรีย์ในดินจะเจริญเติบโต ได้ดีคอยย่อยสลายทำลายพวกอินทรีย์วัตถุอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินขาดความร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศไม่ดี ดังนั้น จึงต้องมีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดที่ใช้ผลดี เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า แล้วไถกลบหรือใช้วิธีเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้
การกำจัดวัชพืช :
- ใช้แรงงานคน โดยการถางด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถตัดหญ้า รถไถขนาดเล็ก
- ปลูกพืชคลุมจำพวกหรือตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียมเพอร์ราเรีย หรือเซ็นโตรซีมา โดยปลูกห่างจากโคนต้นประมาณ ๒ เมตร
การเก็บเกี่ยวมะพร้าว :
มะพร้าวน้ำหอมเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดปี โดยสามารถเก็บผลมะพร้าวได้ประมาณ ๒๐ วันต่อครั้ง ใน ๑ ปีหากมะพร้าวแทงจั่นทุกครั้งที่ออกทาง ใหม่จะเก็บมะพร้าวได้ทั้งสิ้น ๑๖ ทะลายต่อต้น ซึ่งทะลายใหญ่ ๆ มีผลประมาณ ๑๐-๑๕ ผล ผลผลิตเฉลี่ยปีละ ๗๐-๑๐๐ ผลต่อต้น หรือประมาณ ๓๐๐๐-๔๐๐๐ ผลต่อไร่ ระยะที่เหมาะ สำหรับเก็บมะพร้าวมากที่สุดคือมะพร้าวเนื้อสองชั้นมีเนื้อเต็มกะลา เนื้อหนาอ่อนนุ่มซึ่งอายุหลังจากจั่นเปิดประมาณ ๒๐๐ – ๒๑๐ น้ำมีความหนาประมาณ ๖.๖-๗ เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (ฺBrix)
ข้อสังเกตก่อนเก็บมะพร้าว :
สังเกตจากสีผลบริเวณรอยต่อผลกับขั้วผล ถ้าเห็นสีขาวเป็นวงกว้างแสดงว่ามะพร้าวอ่อนเกินไป แต่เมื่อส่วนสีขาวบริเวณรอยต่อเหลือเพียงเล็กน้อย แสดงว่าได้ระยะเก็บผลผลิต
เมื่อปอกเปลือกสีกร้านขึ้น เปลือกด้านในจะมีเสี้ยนหยาบขึ้นแต่เปลือกในยัง ไม่ถึงกับเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นมะพร้าวที่แก่เกินไป การเก็บมะพร้าวน้ำหอมเกษตรกรควร ใช้เชือกผูกทะลายแล้วหย่อนลงพื้น ซึ่งจะทำให้มะพร้าวไม่ช้ำหรือแตกเสียหายสามารถเก็บได้นานขึ้น และเป็นผลดีต่อการจำหน่ายยังตลาดต่อไป
ตลาดมะพร้าวน้ำหอมในประเทศ :
๑.ขายทั้งทะลาย
๒.มะพร้าวควั่น
๓.มะพร้าวเจียน
๔.มะพร้าวเผาเอามะพร้าวเจียนไปต้มในน้ำเดือด ๑๐ นาที นำไปผึ่งให้แห้งแล้วใช้ไฟจากหัวแก๊สเผาหัว และก้นมะพร้าวให้ดำพอประมาณ
๕.น้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม โดยบรรจุในถุงหรือขวดที่สวยงามพร้อมจำหน่าย
ตลาดมะพร้าวน้ำหอมที่ส่งไปขายต่างประเทศ :
มีเพียงมะพร้าวควั่นและมะพร้าวเจียนเท่านั้น
การเพิ่มรายได้ในสวนมะพร้าว :
เนื่องจากมะพร้าวจะเริ่มให้ผลหลังจากปลูกไปแล้วประมาณ ๓-๔ ปี ดังนั้น ในขณะที่ต้นยังเล้กอยู่ จึงควรปลูกพืช แซมระหว่างแถวมะพร้าวประเภทพืชที่มีอายุสั้น อาจเป็นพืชไร่ เช่น สับปะรด ถั่วต่าง ๆ หรือพืชผัก เช่น ฟักทอง แตงกวา แตงโม ข้าวโพดหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้าหากมีผลพันธุ์ มะพร้าวจำนวนมาก ยังสามารถนำมาปลูกเป็นพืชแซม ระหว่างแถวของมะพร้าวโดยปลูกระยะชิดตั้งแต่ ๒ เมตรขึ้นไป ภายในระยะเวลา ๒-๓ ปี ก็สามารถ ตัดยอดไปขายได้สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรประมาณ ๑๐๐ บาท/ยอด ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่นิยมรับประทาน เนื่องจากมีรสชาติดีและปลอดภัยจากสารเคมี

เทคนิคการปลูกมะพร้าวน้ำหอม
การ ปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดี ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ คือ เลือกที่ปลูก ดี ใช้พันธุ์ดี ปลูกถูกวิธี ดูแลรักษามะพร้าวให้สมบูรณ์ ปราศจากโรคและศัตรู ที่มารบกวนและแก้ไขอุปสรรคที่เป็นตัวการทำให้มะพร้าวออกผลน้อย ถ้าทำได้เช่น นี้ ก็เป็นที่เชื่อได้ว่าต้นมะพร้าวจะออกผลให้ดกแน่นอน
การเลือกที่ปลูกมะพร้าว :
หลักทั่วไปในการเลือกที่ปลูกมะพร้าวควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ฝน จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิ การปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดีอุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 20-27 องศาเซลเซียส แสงแดด ปริมาณแสงแดดที่เหมาะสม วันละ 1.7 ชม. ความสูงของพื้นที่ การทำสวนมะพร้าวเพื่อการค้าควรเลือกพื้นที่ไม่สูงเกิน 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ดินที่ใช้ปลูกมะพร้าว :
มะพร้าวสามารถขึ้นได้กับดินทุกชนิด ถ้าดินเหล่านั้นมีปุ๋ยดี มีความชุ่มชื้นพอเพียง
การปลูกมะพร้าว :
การเตรียมพื้นที่ปลูกมะพร้าว ถ้าเป็นพื้นที่ป่าควรถางพื้นที่ให้เตียน ถ้าเป็นที่ลุ่มต้องยกร่องปลูก ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันหรือบนเขาควรทำเป็นขั้นบันได ระยะปลูกมะพร้าว การปลูกมะพร้าวถี่มากเกินไปจะทำให้ออกผลไม่ดก แต่ถ้าปลูกห่างมากก็ได้ผลน้อย การปลูก ฤดูที่เหมาะสมสำหรับปลูกมะพร้าว ควรเริ่มปลูกในฤดูฝน โดยการขุดหลุมเล็กๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว แล้วเอามะพร้าววางลงในหลุ่มแล้วกลบและเหยียบดินข้างๆให้แน่น การดูแลรักษา ควรมีการไถพรวนระหว่างแถวมะพร้าวและไม่ลึกเกินไป ถ้าจะให้มะพร้าวเจริญงอกงามดีควรควบคุมวัชพืชในสวนมะพร้าว และควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดบ้าง ส่วนปุ๋ยเคมีที่นิยมใส่ คือ 13-13-21 แต่อย่างไร ควรทำการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนทำการใส่ปุ๋ย
โรคและแมลงที่สำคัญ :
โรค ประกอบไปด้วยโรคยอดเน่า โรคใบจุด โรคผลร่วง และโรคเอือนกิน แมลง ประกอบไปด้วย ด้วงแรด ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนาวมะพร้าว หนอนจั่นมะพร้าว หนอนร่านกินใบมะพร้าว
พันธุ์มะพร้าว :
มะพร้าวน้ำหอม จัดอยู่ในกลุ่มมะพร้าวพันธุ์ต้นเตี้ยหรือที่รู้จักกันในชื่อมะพร้าวหมูสี มีหลายพันธุ์ เช่น มะพร้าว น้ำหอม มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ลำต้นขนาดเล็กไม่มีสะโพก ทางใบและใบย่อยสั้น มีอายุตกจั่นเร็ว ความหอมของมะพร้าวน้ำหอม จะพบว่ามีส่วนที่เราสามารถทดสอบความหอมได้ เช่น ปลายรากอ่อนของหน่อมะพร้าว กะลาของผลอ่อน น้ำ และเนื้อมะพร้าว สาเหตุที่มะพร้าวน้ำหอมไม่หอม ปัญหาที่ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมพบบ่อยๆ คือ ความหอมจะหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุถึงแม้ว่าหน่อพันธุ์ที่ปลูกจะเป็นพันธุ์แท้ และเคยให้ความหอมมาก่อน เกิดจากบริเวณแปลงปลูกอาจมีต้นมะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวน้ำหวานปนอยู่ทำให้ เกิดการผสมข้ามของละออกเกสร จากการวิจัยพบว่า มะพร้าวน้ำหอมที่ผสมกับมะพร้าวใหญ่และมะพร้าวน้ำหวาน ผลมะพร้าวจะไม่มีความหอม แต่ถ้าผสมตัวเองหรือผสมกับมะพร้าวน้ำหอม ผลมะพร้าวที่ได้จะมีความหอมไม่เปลี่ยนแปลง
การเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม :
ปัจจัยที่สำคัญต่อการเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม ได้แก่ พันธุ์ อายุหรือความแก่ของผล สภาพความสมบูรณ์ของผลมะพร้าว ธาตุอาหารพืช อุณหภูมิ น้ำ และแสงแดด
เทคนิคการเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม :
การคัดเลือกผลมะพร้าว ผลมะพร้าวต้องสมบูรณ์และตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรคและแมลง รวมทั้งผลมีอายุพอดีไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
การเตรียมพื้นที่ : ควรปรับพื้นที่ให้เป็นพื้นราบสม่ำเสมอและควรมีร่องระบายน้ำ
การปาดผล : ควรทำการปาดผลออกประมาณ 1 ใน 4-5 ส่วนของผล เพื่อให้น้ำซึมเข้าในส่วนของกาบมะพร้าวได้
การวางผล : นำผลที่ปาดแล้วมาเรียงเป็นแถวๆ แบบสลับฟันปลา โดยให้ส่วนที่ปาดอยู่ด้านบน
การคลุมผลมะพร้าว : ส่วนใหญ่นิยมใช้ขุยมะพร้าวคลุมผลเพื่อรักษาความชื้น
การรดน้ำ : ควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นและมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอตลอดเวลา
การย้ายต้นกล้า : ควรให้ต้นกล้ามีความแข็งแรงก่อน
การวิจัยเทคโนโลยีการผลิตต้นกล้าพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ :
การทดลองนี้ศึกษาถึงปริมาณแสง ชนิดของวัสดุเพาะ อายุและขนาดผล ที่มีผลต่อการงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม โดยแบ่งพื้นที่การทดลองออกเป็น 2 แหล่ง คือ แปลงเกษตรกรอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และแปลงภายในสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษา พบว่า การเพาะชำมะพร้าวน้ำหอมในโรงเรือนตาขายพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์มีเปอร์เซ็นการงอกที่สูง และผลมะพร้าวที่มีลักษณะเปลือกชั้นนอกมีสีน้ำตาลและมีความยาวของเส้นรอบผล มากว่า 57 เซนติเมตร ที่เพาะชำในขุยมะพร้าวหรือมีขุยมะพร้าวเป็นส่วนผสม มีแนวโน้มมีเปอร์เซ็นต์การงอกของผล ความสูงของต้นกล้า น้ำหนักของต้นกล้า ความยาวของราก จำนวนราก ความยาวของเส้นรอบโคนต้นกล้า และคะแนนความสมบูรณ์ของต้นกล้า มากที่สุด