มาดูว่าทำไมการทำปุ๋ยหมักวิธีของจารย์ลุงต้องทำเป็นชั้น ๆ บาง ๆ 10 ซม. ครับ
ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้
ในการขึ้นกองปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง จารย์ลุงกำหนดให้วางเศษพืชหนาแค่ 10 ซม.ต่อชั้น แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์ ...... มูลสัตว์ไม่มีความหนาครับ เพราะจะแทรกเข้าไปในชั้นเศษพืช ..... ถ้าเศษพืชเป็นใบไม้ ก็ทุกการวางใบไม้ 3 เข่ง ต้องโรยทับด้วยมูลสัตว์ 1 เข่ง (ใครไม่ใช้เข่ง กะด้วยสายตา หรือคำนวณเป็นน้ำหนัก ก็ไม่ใช่ลูกศิษย์จารย์ลุงครับ เพราะปุ๋ยหมักที่ได้มีโอกาสสูงที่จะไม่มีคุณภาพ สูตรของจารย์ลุงเป็นโดยการตวงด้วยเข่ง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของเกษตรกรไทยครับ) แล้วรดน้ำ .... ถ้าเศษพืชเป็นฟาง ผักตบชวา หญ้า เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็วาง 4 เข่ง ตามด้วยมูลสัตว์ 1 เข่ง แล้วรดน้ำ ... ทำสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตร ... ใครอยากได้กองยาว ๆ ก็ต่อไปเรื่อย ๆ ...... ใช้คราดเกลี่ย ๆ เขี่ย ๆ ในการปรับระดับแต่ละชั้น เพราะจารย์ลุงห้ามขึ้นไปเหยียบกองปุ๋ย ...... การเกลี่ย เขี่ย จะทำให้น้ำที่รด ลงไปแทรกในเศษพืชได้ ทำให้ชื้นสม่ำเสมอ ..... ในการขึ้นกองปุ๋ยห้ามเหยียบนะครับ เพราะการเหยียบจะทำให้กองปุ๋ยแน่นเกินไปจนอากาศเข้าไม่ได้ การเป็นปุ๋ยหมักจะเกิดได้ไม่สมบูรณ์
ยกตัวอย่างนะครับ ..... วัดความกว้างกองปุ๋ย 2.5 เมตร .... สมมติว่าจะทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ ก็เอาใบไม้อัดแน่น ๆ ในเข่ง เอามา 3 เข่ง วางเบา ๆ ในหน้ากว้าง 2.5 เมตรนั้น เอาคราดเกลี่ยให้หนาประมาณ 10 ซม. โดยไม่ต้องเหยียบ แล้วไปเอามูลสัตว์มา 1 เข่ง โรยมูลสัตว์ให้ทั่ว แล้วรดน้ำ .... ต่อไปก็เอาใบไม้มาอีก 3 เข่ง วางต่อตามความยาวไป มูลสัตว์ 1 เข่ง รดน้ำ ...... ถ้าได้ความยาวที่ต้องการ ก็ขึ้นชั้นที่สอง ..... ทำแบบเดียวกันครับ .... เน้นชั้นใบไม้หนา 10 ซม.นะครับ .... ทำกองให้เป็นสามเหลี่ยม พอถึงความสูง 1.5 เมตรก็หยุด เอามูลสัตว์โรยชั้นบนสุด เป็นเสร็จครับ
เหตุผลที่ต้องวางเศษพืช 10 ซม. ก็ไม่มีอะไรครับ ... เพียงเพื่อให้ง่ายสำหรับการขึ้นกองเท่านั้น ความจริงใครจะผสมเศษพืชกับมูลสัตว์พร้อมกับรดน้ำไปด้วย แล้วค่อยทำกองเป็นรูปสามเหลี่ยม ก็จะให้ผลอย่างเดียวกัน ... เพียงแต่ว่าถ้าเริ่มต้นการสอนโดยกำหนดให้เกษตรกรผสมเศษพืชกับมูลสัตว์เป็นตัน ๆ ผมเกรงว่าเกษตรกรจะเลิกให้ความสนใจในการทำปุ๋ยหมักอ่ะครับ .... การทำเป็นชั้น ๆ จะเหนื่อยน้อยกว่า หยุดพักเมื่อยก็ได้ พรุ่งนี้มาต่อก็ได้ ... ง่ายกว่าเยอะเลย ... ยิ่งมีคราดมาเขี่ย ๆ ระหว่างชั้น ก็ยิ่งคล้ายกับการผสมให้เข้ากัน ... จุลินทรีย์ก็จะได้ใกล้ชิดกับเศษพืชมากขึ้น การย่อยสลายก็จะเร็วขึ้น ...
... มีเท่านี้เองจริง ๆ ครับ 55555 ..... เพราะฉะนั้น ใครจะทำ 10 ซม. ก่อนรดน้ำ หรือรดน้ำแล้วยุบเหลือ 10 ซม. ก็ได้ทั้งนั้นครับ ...... ขออย่าให้เศษพืชหนามากเกินไปก็แล้วกัน ใครทำชั้นเศษพืชหนา 50 ซม. ก็ตัวใครตัวมันครับ เพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้
ในระหว่างการทำเป็นชั้น ๆ ใครจะเอาเศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหารมาวางสลับก็ได้ครับ ก็จะเป็นการทำปุ๋ยหมักที่ช่วยลดปริมาณของเสียแทนที่จะขนไปทิ้ง เป็นปุ๋ยหมักที่มีธาตุอาหารสูงขึ้นกว่าปกติ .... น่าเอาไปทำนะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรีสอร์ท โรงเรียน โรงแรม .... ทำโชว์แขกเลยว่าเรารักษ์สิ่งแวดล้อม ..... ได้ปุ๋ยหมักมาก็เอาไปปลูกผักปลูกข้าวอินทรีย์โชว์ก็ยังได้ เอาขายก็ยังดี ..... เปลือกทุเรียนก็ซอย ๆ ให้มีชิ้นเล็กลงหน่อย
ใครไม่อยากทำกองใหญ่ ก็ทำในวงตาข่ายที่มีรูด้านข้างโดยรอบก็ได้ครับ มีวิธีการและขั้นตอนแบบเดียวกันเลย
ท่านใดจะพลิกแพลง เอาน้ำผสมสารเร่ง พด. 1 ราดทุกชั้น หรือกรอกลงไปในรูที่เจาะทุก 10 วัน ก็ไม่มีปัญหาครับ มันอาจช่วยลดเวลาการย่อยสลายได้ และเร่งการย่อยสลายให้เกิดได้ทั่วถึง รวมทั้งจุลินทรีย์จาวปลวกและจุลินทรีย์หน่อกล้วยด้วย
พอขึ้นกองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยมเสร็จ ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ ต่อไปในช่วง 60 วันก็ต้องดูแลน้ำกองปุ๋ยอย่างประณีต 3 ขั้นตอน ห้ามพลาด มีอะไรบ้างต้องอ่านในลิ้งค์ต่อไปนี้ครับ
ลิ้งค์วิธีการและขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์แบบกองสามเหลี่ยมไม่พลิกกลับกองนะครับ
https://www.facebook.com/notes/ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้/การผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง/872779429405137
https://www.facebook.com/notes/ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้/การผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง/872779429405137
No comments:
Post a Comment