Sunday, February 21, 2016

Simple steps to grow straw mushroom

วิธีเพาะเห็ดฟาง ทำเอง เพื่อให้ได้เห็ดฟางปลอดสารพิษ ใครที่มีเวลาอยากจะเพาะเห็ดฟางไว้ทานเอง 

วันนี้เลยนำวิธีการเพาะเห็ดฟางด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ มาให้ทดลองทำ  ซึ่งวัสดุที่นำมาเพาะคือต้นกล้วยจัดหาได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น ต้นทุนต่ำและทำได้ง่าย ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดฟางได้ตามความต้องการ เส้นใยเห็ดฟางแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ผลผลิตสูง

มาทำเชื้อเห็ดฟางอย่างง่ายจากดอกเห็ดฟางสด ทำได้ด้วยตัวเอง

การเตรียมเชื้อเห็ดฟางจากดอกเห็ดฟางสด

ส่วนประกอบ

1. ต้นกล้วยสดตากแห้ง 1 กิโลกรัม
2. ดอกเห็ดฟางสด (ดอกตูม) 1 ดอก

กรรมวิธี เพาะเห็ดฟาง 

1.นำต้นกล้วยสด และควรเป็นต้นกล้วยตัดใหม่ๆ มาหั่นเป็นแว่น ๆ หนาประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ถ้าเป็นต้นกล้วยที่มีเครือแล้วให้เก็บส่วนของก้านเครือทิ้งให้หมด แล้วใช้มีดสับต้นกล้วยที่หั่นแล้วให้ละเอียดเล็กน้อยประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำไปผึ่งแดด โดยมีแผ่นพลาสติกหรือวัสดุรองพื้นที่สะอาดเกลี่ยให้บาง ๆ ประมาณ 4-5 วัน ควรกลับกองต้นกล้วยทุกวันจนต้นกล้วยแห้งสนิทจึงนำไปใช้เป็นเชื้อเห็ดฟาง หรือใส่ถุงพลาสติกเก็บรักษาไว้ใช้ต่อไป

2. นำต้นกล้วยที่แห้งแล้วดังกล่าวข้างต้น วางบนพื้นซีเมนต์หรือบนแผ่นพลาสติก พรมด้วยน้ำสะอาดผสมคลุกเคล้าจนทั่ว แล้วนำไปตรวจสอบให้มีความชื้นหมาด ๆ โดยการใช้มือกำต้นกล้วยแล้วบีบให้แน่น เมื่อคลายมือออกต้นกล้วยจะเป็นก้อนเล็กน้อย หรือรู้สึกชื้นมือ ถ้าบีบแล้วน้ำหยดหรือซึมออกตามง่ามมือแสดงว่าความชื้นมากเกินไปต้องผึ่งลมทิ้งไว้ให้ความชื้นระเหยไปประมาณ 1-2ชั่วโมง(ความชื้นมากเกินไปเส้นใยเห็ดฟางจะไม่เจริญ)

3.บรรจุต้นกล้วยลงถุงประมาณครึ่งถุง หรือมีน้ำหนักประมาณถุงละ 200 กรัม (ต้นกล้วยแห้งหนึ่งกิโลกรัม บรรจุได้ประมาณ 15-20 ถุง) นำไปตั้งเรียงไว้เป็นแถว ๆ

4. นำดอกเห็ดฟางสดมาทำความสะอาด โดยใช้มีดคัทเตอร์ตัดแบ่งบริเวณโคนดอกเห็ดฟางที่สกปรกหรือมีวัสดุเพาะติดโคนดอกมาออกให้หมด ควรทำอย่างระมัดระวัง อย่าให้ดอกเห็ดฟางกระทบกระเทือนหรือชอกช้ำมาก

5. เทแอลกอฮอล์ลงในแก้วประมาณครึ่งแก้ว แล้วนำดอกเห็ดฟางที่ตัดแต่งแล้วจุ่มลงไปจนมิดดอกเห็ดฟางแล้วนำออกมาวางในแก้วที่สะอาด ปล่อยให้แอลกอฮอล์ระเหยออกจากดอกเห็ดฟางจนแห้ง (ห้ามนำดอกเห็ดฟางแช่ลงในแอลกอฮอล์แล้วแช่ทิ้งไว้)

6. นำสำลีจุ่มลงในแอลกอฮอล์แล้วนำไปเช็ดถูทำความสะอาดใบมีดคัทเตอร์ ใช้มีดตัดส่วนของดอกเห็ดฟาง ส่วนใดก็ได้อย่างระมัดระวังขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ใส่ลงไปในถุงที่บรรจุต้นกล้วยเตรียมไว้ ถุงละ 1 ชิ้นทุกถุง เห็ดฟาง 1 ดอก ใช้ได้ประมาณ 10 ถุง

7. จับปากถุงแล้วเขย่าให้เนื้อเยื่อดอกเห็ดฟางอยู่ในบริเวณกึ่งกลางด้านข้างถุงพอดีแล้วแนบปากถุงพับลงมา 2-3 ครั้ง เย็บปากถุงด้วยเข็มเย็บกระดาษ 2-3 ครั้ง เป็นอันว่าเสร็จ 1 ถุง ให้ทำถุงต่อไปจนเสร็จสิ้นทั้งหมด

8. นำถุงเชื้อเห็ดฟางบรรจุลงในตะกร้าหรือลังไม้ เรียงเป็นแถว ทับซ้อนกันได้ไม่เกิน 2 ชั้น แล้วนำไปบ่มเชื้อในอุณหภูมิห้องปกติ (30 องศาเซลเซียส) ประมาณ 10-15 วัน เส้นใยเห็ดฟางจะเจริญจนเต็มถุง จึงนำไปเพาะหรือนำไปต่อเชื้อเพื่อขยายให้มีปริมาณมากขึ้นต่อไป
http://www.matichon.co.th/online/2015/11/14480833201448083347l.jpg

เห็ดฟาง ที่มาภาพจาก mushroomfarn.blogspot.com

ข้อดีของการใช้ต้นกล้วยทำเชื้อเห็ดฟาง
1. เป็นวัสดุที่จัดหาได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น
2. ต้นทุนต่ำและทำได้ง่าย
3. ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์
4. สามารถคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดฟางได้ตามความต้องการ เส้นใยเห็ดฟางแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ผลผลิตสูง

เครื่องมืออุปกรณ์ สำหรับเพาะเห็ดฟาง
1. ต้นกล้วยสดตากแห้ง 1 กิโลกรัม
2. ถุงพลาสติกชนิดใส ขนาด 6x9 นิ้ว 10 ใบ
3. มีดคัทเตอร์ 1 ด้าน
4. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70% 1 ขวด
5. แก้วเปล่า 1 ใบ
6. เข็มเย็บกระดาษ 1 อัน
7. ดอกเห็ดฟางสด (ดอกตูม) 1 ดอก
8. กระดาษที่สะอาด 1 แผ่น
9. สำลีเล็ดน้อย
10. น้ำสะอาดเล็กน้อย

เมื่อทราบวิธีเพาะเห็ดฟางอย่างง่ายแล้ว ใครชอบเพาะปลูกไว้ทานเองก็ลองวิธีนี้ได้เลย หรือถ้าใครว่ายาก ไม่มีเวลา ก็ออกไปอุดหนุนเกษตรกรที่เพาะเห็ดฟางขาย…ก็น่าจะดีกว่า win win กันทั้งสองฝ่ายเลย..

ขอบคุณที่มา : เกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 2/2550 และ เฟสบุคคุณ www.facebook.com/somjaigarden, ภาพจาก mushroomfarn.blogspot.com

how to make compost

มาดูว่าทำไมการทำปุ๋ยหมักวิธีของจารย์ลุงต้องทำเป็นชั้น ๆ บาง ๆ 10 ซม. ครับ
ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้
November 10, 2013
ในการขึ้นกองปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง จารย์ลุงกำหนดให้วางเศษพืชหนาแค่ 10 ซม.ต่อชั้น แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์ ...... มูลสัตว์ไม่มีความหนาครับ เพราะจะแทรกเข้าไปในชั้นเศษพืช ..... ถ้าเศษพืชเป็นใบไม้ ก็ทุกการวางใบไม้ 3 เข่ง ต้องโรยทับด้วยมูลสัตว์ 1 เข่ง (ใครไม่ใช้เข่ง กะด้วยสายตา หรือคำนวณเป็นน้ำหนัก ก็ไม่ใช่ลูกศิษย์จารย์ลุงครับ เพราะปุ๋ยหมักที่ได้มีโอกาสสูงที่จะไม่มีคุณภาพ สูตรของจารย์ลุงเป็นโดยการตวงด้วยเข่ง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของเกษตรกรไทยครับ) แล้วรดน้ำ .... ถ้าเศษพืชเป็นฟาง ผักตบชวา หญ้า เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก็วาง 4 เข่ง ตามด้วยมูลสัตว์ 1 เข่ง แล้วรดน้ำ ... ทำสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตร ... ใครอยากได้กองยาว ๆ ก็ต่อไปเรื่อย ๆ ...... ใช้คราดเกลี่ย ๆ เขี่ย ๆ ในการปรับระดับแต่ละชั้น เพราะจารย์ลุงห้ามขึ้นไปเหยียบกองปุ๋ย ...... การเกลี่ย เขี่ย จะทำให้น้ำที่รด ลงไปแทรกในเศษพืชได้ ทำให้ชื้นสม่ำเสมอ ..... ในการขึ้นกองปุ๋ยห้ามเหยียบนะครับ เพราะการเหยียบจะทำให้กองปุ๋ยแน่นเกินไปจนอากาศเข้าไม่ได้ การเป็นปุ๋ยหมักจะเกิดได้ไม่สมบูรณ์
ยกตัวอย่างนะครับ ..... วัดความกว้างกองปุ๋ย 2.5 เมตร .... สมมติว่าจะทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ ก็เอาใบไม้อัดแน่น ๆ ในเข่ง เอามา 3 เข่ง วางเบา ๆ ในหน้ากว้าง 2.5 เมตรนั้น เอาคราดเกลี่ยให้หนาประมาณ 10 ซม. โดยไม่ต้องเหยียบ แล้วไปเอามูลสัตว์มา 1 เข่ง โรยมูลสัตว์ให้ทั่ว แล้วรดน้ำ .... ต่อไปก็เอาใบไม้มาอีก 3 เข่ง วางต่อตามความยาวไป มูลสัตว์ 1 เข่ง รดน้ำ ...... ถ้าได้ความยาวที่ต้องการ ก็ขึ้นชั้นที่สอง ..... ทำแบบเดียวกันครับ .... เน้นชั้นใบไม้หนา 10 ซม.นะครับ .... ทำกองให้เป็นสามเหลี่ยม พอถึงความสูง 1.5 เมตรก็หยุด เอามูลสัตว์โรยชั้นบนสุด เป็นเสร็จครับ 
เหตุผลที่ต้องวางเศษพืช 10 ซม. ก็ไม่มีอะไรครับ ... เพียงเพื่อให้ง่ายสำหรับการขึ้นกองเท่านั้น ความจริงใครจะผสมเศษพืชกับมูลสัตว์พร้อมกับรดน้ำไปด้วย แล้วค่อยทำกองเป็นรูปสามเหลี่ยม ก็จะให้ผลอย่างเดียวกัน ... เพียงแต่ว่าถ้าเริ่มต้นการสอนโดยกำหนดให้เกษตรกรผสมเศษพืชกับมูลสัตว์เป็นตัน ๆ ผมเกรงว่าเกษตรกรจะเลิกให้ความสนใจในการทำปุ๋ยหมักอ่ะครับ .... การทำเป็นชั้น ๆ จะเหนื่อยน้อยกว่า หยุดพักเมื่อยก็ได้ พรุ่งนี้มาต่อก็ได้ ... ง่ายกว่าเยอะเลย ... ยิ่งมีคราดมาเขี่ย ๆ ระหว่างชั้น ก็ยิ่งคล้ายกับการผสมให้เข้ากัน ... จุลินทรีย์ก็จะได้ใกล้ชิดกับเศษพืชมากขึ้น การย่อยสลายก็จะเร็วขึ้น ... 
... มีเท่านี้เองจริง ๆ ครับ 55555 ..... เพราะฉะนั้น ใครจะทำ 10 ซม. ก่อนรดน้ำ หรือรดน้ำแล้วยุบเหลือ 10 ซม. ก็ได้ทั้งนั้นครับ ...... ขออย่าให้เศษพืชหนามากเกินไปก็แล้วกัน ใครทำชั้นเศษพืชหนา 50 ซม. ก็ตัวใครตัวมันครับ เพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้
ในระหว่างการทำเป็นชั้น ๆ ใครจะเอาเศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหารมาวางสลับก็ได้ครับ ก็จะเป็นการทำปุ๋ยหมักที่ช่วยลดปริมาณของเสียแทนที่จะขนไปทิ้ง เป็นปุ๋ยหมักที่มีธาตุอาหารสูงขึ้นกว่าปกติ .... น่าเอาไปทำนะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรีสอร์ท โรงเรียน โรงแรม .... ทำโชว์แขกเลยว่าเรารักษ์สิ่งแวดล้อม ..... ได้ปุ๋ยหมักมาก็เอาไปปลูกผักปลูกข้าวอินทรีย์โชว์ก็ยังได้ เอาขายก็ยังดี ..... เปลือกทุเรียนก็ซอย ๆ ให้มีชิ้นเล็กลงหน่อย
ใครไม่อยากทำกองใหญ่ ก็ทำในวงตาข่ายที่มีรูด้านข้างโดยรอบก็ได้ครับ มีวิธีการและขั้นตอนแบบเดียวกันเลย
ท่านใดจะพลิกแพลง เอาน้ำผสมสารเร่ง พด. 1 ราดทุกชั้น หรือกรอกลงไปในรูที่เจาะทุก 10 วัน ก็ไม่มีปัญหาครับ มันอาจช่วยลดเวลาการย่อยสลายได้ และเร่งการย่อยสลายให้เกิดได้ทั่วถึง รวมทั้งจุลินทรีย์จาวปลวกและจุลินทรีย์หน่อกล้วยด้วย
พอขึ้นกองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยมเสร็จ ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ ต่อไปในช่วง 60 วันก็ต้องดูแลน้ำกองปุ๋ยอย่างประณีต 3 ขั้นตอน ห้ามพลาด มีอะไรบ้างต้องอ่านในลิ้งค์ต่อไปนี้ครับ
ลิ้งค์วิธีการและขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์แบบกองสามเหลี่ยมไม่พลิกกลับกองนะครับ
https://www.facebook.com/notes/ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้/การผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง/872779429405137

Strawberry from 25 baht to 590 baht per kg


https://www.facebook.com/CompostClassroom/
พี่ดำรงค์ทำสวนสตรอเบอรี่ ที่บ้านบ่อแก้ว สะเมิง เชียงใหม่ .... ผมรู้จักพี่ดำรงค์มา 4 ปีแล้วครับ จากการที่ชาวบ้านบ้านบ่อแก้วถวายฎีกาสมเด็จพระเทพรัตนฯ ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขอให้ท่านช่วยเรื่องปัญหาโรคระบาดแอนแทรกโนสในสตรอเบอรี่ ที่ทำให้สวนสตรอเบอรี่ที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในเชียงใหม่ต้องเสียหาย เกษตรกรเดือดร้อนขาดทุนเป็นจำนวนมาก 
ทาง ธ.ก.ส. ฝ่ายอารักขาพืชของโครงการหลวง และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ร่วมมือกันบูรณาการความรู้แล้วนำไปปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกและดูแลสวนสตรอเบอรี่ของชาวบ้านบ่อแก้วเสียใหม่ ..... ในตอนนั้นเราพบว่าดินปลูกของเกษตรกรมีค่าพีเอชดินเป็นกรดจัด มีค่า 4 สาเหตุจากการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีอย่างมโหฬารและใช้ติดต่อกันอย่างยาวนาน .... พอดินเป็นกรด การระบาดของโรคจึงเกิดได้ง่าย
ดังนั้น งานของจารย์ลุงในตอนนั้นคือส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกองเพื่อนำไปปรับความเป็นกรดของดิน เมื่อดินมีพีเอชเป็นกลาง เชื้อโรคที่ชอบอยู่ในดินที่เป็นกรดก็อยู่ไม่ได้ โดย ธ.ก.ส.สนับสนุนค่ามูลสัตว์ในการทำปุ๋ยหมักของชาวบ้าน รวมทั้งการจัดฝึกอบรมและการเดินทางไปตรวจติดตามงาน
เป็นที่น่าเศร้าว่า มีเกษตรกรเพียงไม่กี่รายที่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูก และเชื่อในสิ่งที่นักวิชาการลงไปช่วยสอน คือเลิกใช้ยาฆ่าหญ้า มีการจัดการในแปลงที่ดีแบบ GAP มีการทำน้ำหมักมูลสุกรบำรุงต้น ทำน้ำหมักชีวภาพไล่แมลง ทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองใช้ เปลี่ยนสายพันธุ์สตรอเบอรี่ ลดพื้นที่ลงให้เหลือไม่เกิน 5 ไร่เพื่อให้พอที่จะดูแลได้ทั่วถึง 
เราคุยกันเรื่องหลักความพอเพียงของในหลวงกับเกษตรกรกันด้วยครับ และได้ทำให้เกษตรกรไม่กี่รายเพียง 3 คนนั้น สามารถรอดพ้นปัญหาโรคแอนแทรกโนสได้ภายในเวลาเพียง 1 ปี นอกนั้นไม่ยอมปรับเปลี่ยน แต่คอยจะมองหายาวิเศษราคาแพงที่จะมารักษา ก็เลยขาดทุนเหมือนเดิมต่อไป
ผมไปเยี่ยมพี่ดำรงค์เกือบทุกปี ได้มองเห็นการลดต้นทุนของพี่ดำรงค์แล้วมีความสุข พี่ดำรงค์หดแปลงปลูกจาก 10 ไร่เหลือ 5 ไร่ เพื่อจะได้ดูแลหญ้าทัน จะได้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า ..... ปีนี้พี่ดำรงค์นำแปลง 5 ไร่เปลี่ยนเป็นปลูกกระเทียม เพื่อเปลี่ยนพืชที่ใช้ปลูกบ้าง ลดโรคในดินที่อาจมีการสะสม แล้วย้ายสตรอเบอรี่ไปปลูกในอีกแปลงในพื้นที่ 4 ไร่ ลงสตรอเบอรี่ไป 4 หมื่นต้น ... พี่ดำรงค์ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ใช้ยาฉีดป้องกันเชื้อราบ้างแต่ไม่มาก ใช้ปุ๋ยเคมีบ้าง แต่ที่ใช้มากคือปุ๋ยหมักครับ ... ใน 4 ไร่ทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองหมดขี้วัวไป 200 กระสอบ หรือได้ปุ๋ยหมักเกือบ 7 ตัน .... พี่ดำรงค์บอกว่าตั้งแต่ปรับเปลี่ยนความคิด มาทำแบบใหม่ ตอนนี้สามารถลดค่าซื้อปุ๋ยและสารเคมีในพื้นที่ 4 ไร่นี้ได้ถึง 5 หมื่นบาท .... ทุกวันนี้ผลผลิตดี เป็นโรคน้อย ต้นแข็งแรง เก็บสตรอเบอรี่วันเว้นวัน เก็บกันถึงตี 2 ได้เงินเป็นกอบเป็นกำ .... ตอนนี้สวนของแกได้ตัว Q และ GAP จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว
พี่เค้าปลูกต้นหอมในแถวสตรอเบอรี่และปลูกกะหล่ำปลีที่หัวแปลงด้วย เอาไว้กิน ที่เหลือขาย ได้เงินเพิ่มอีก และยังโชว์กองปุ๋ยหมักที่ต้องมีอยู่เสมอในแปลงเพื่อใช้บำรุงดินอีกด้วยครับ
สิ่งที่จารย์ลุงได้ทำงานไปอีกขั้นหนึ่ง คือพาแกไปพบกับผู้จัดการห้างริมปิงซุปเปอร์สโตร์ ที่มี 9 สาขาในเชียงใหม่ ที่ต้องการสตรอเบอรี่อินทรีย์ ปลอดภัยจากสารพิษไว้ขายให้ลูกค้า .... ในห้างนี้สตอรเบอรี่จะขายได้ กก.ละประมาณ 590 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าที่แกเคยเอาไปขายส่งโรงงานในราคาเดียวกันกับสตอเบอรี่เคมีราคาแค่ กก.ละ 25 บาท ..... ได้ราคาสูงกว่าหลายเท่าตัวครับ 
อ่านแล้วมีความเห็นว่ายังไงบ้างครับ กับการเพาะปลูกที่ลดการพึ่งพาเคมีแบบนี้ การเพาะปลูกนอกคอกที่มีแต่ผลดี ลดปัญหา เพิ่มผลผลิต สุขภาพคนปลูกและผู้บริโภคก็ปลอดภัย ดินดี เงินก็ดี ทั้ง ๆ ที่ลดพื้นที่การทำลง .... ทำน้อยแต่ได้มาก .... แต่ในขณะที่มีตัวอย่างดี ๆ แบบนี้ เชื่อไหมครับว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ที่นั่นก็ยังไม่ปรับเปลี่ยนและไม่ยอมเดินตามทางสายนี้ ด้วยเห็นว่ามันไม่ทันใจ .... น่าเสียดายนะครับ
อย่างนี้เองจึงจะเป็นการเกษตรที่ลดต้นทุน ดินดี โรคน้อย ผลผลิตราคาสูง ........ ทำน้อยแต่ได้มาก ..... พอเพียงแต่ยั่งยืน

Thursday, February 18, 2016

Jujube

พุทรานมสด เป็นการผสมข้ามพันธ์ระหว่างพุทราที่นำมาจากประเทศไต้หวันคือพันธ์จูจู๊บ ฮันนี่ผสมกับพุทราพันธ์ ดกพิเศษของไทย ซึ่งต่อกิ่งข้ามพันธ์มา 5 ปี การต่อกิ่งครั้งแรกใช้พันธ์พื้นเมืองของไทย ต่อกิ่งกับพันธ์ฮันนี่ของไต้หวัน เมื่อผลผลิตในปีแรกออกมามีลักษณะลูกกลมยาวแต่ไม่ใหญ่มากนัก ขนาด 13-16 ผล/กิโลกรัม ความหวาน 6-8 บริกซ์ อมเปรี้ยว กรอบเนื้อแน่น ผิวบาง เลี้ยงกิ่งมาตั้งแต่อายุ 15 เดือนจึงตัดกิ่งและนำมาต่อกิ่งกับพันธ์ดกพิเศษ ซึ่งเป็นพันธ์ที่มาจากประเทศอินเดีย ใบใหญ่ ปลายใบมนและเหยียดตรง ผลมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ผลจะยาว หัวท้ายมน ออกดอกติดผลดกมาก ประมาณ 3-6 ผลต่อข้อ เปลือกบาง รสหวาน กรอบ ผลแก่ร่วงง่าย ผลใหญ่ น้ำหนักต่อผลประมาณ 100-130 กรัมปริมาณการติดผลต้นละประมาณ 50 กก./ต้น/ปี ความหวานอยู่ที่ 8-10 บริกซ์ และเลี้ยงกิ่งจนอายุ 1 ปี จึงนำมาต่อกิ่งกับพันธ์พื้นเมืองที่เลี้ยงไว้อยู่แล้วได้ความหวานอยู่ที่ 8-10 บริกซ์ เลี้ยงกิ่งจนอายุ 1 ปี จึงนำมาต่อกิ่งกับพันธ์พื้นเมืองที่เลี้ยงกิ่งพร้อมที่จะขยายพันธ์ในไร่จุ่นจันทร์ ต.แม่แตง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ในระยะแรกจำนวน 10 ไร่ โดยปลูกระยะห่าง 3x5 เมตร ยกร่องตรงกลาง เพื่อป้องกันน้ำท่วม มีจำนวน 400 กว่าต้นและใช้ปุ๋ยเคมีฉีดพ่นทางใบใช้สูตร 13-27-27 ก่อนออกดอก 30 วัน ในอัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดทุกๆ 7-10 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวจะใช้สูตร 13-13-21 หลังติดผลแล้ว ประมาณ 1 เดือน และใส่ห่างกันทุก 2 เดือนจนกว่าจะเก็บผล ใช้อัตรา 2-5 กก.ต้นต่อปี เมื่อผลผลิตออกมาความหวานอยู่ที่ 8-10 บริกซ์ แต่ผลที่ออกมามีผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ ในต้นเดียวกันคือมีผลใหญ่เล็กปะปนกันไป รูปทรงไม่ดีคือเบี้ยว ตรงกลางลูกขอด ดินที่ปลูกมีลักษณะแข็ง มีน้ำท้วมขังในหน้าฝนและแห้งในหน้าร้อน ลำต้นไม่ใหญ่และแข็งแรง จึงได้จ้างนักวิชาการจากต่างประเทศไต้หวันมาปรับปรุงดิน ในเบื้องต้นปรับปรุงให้สภาพดี โดยการใช้รำละเอียด มูลวัว แกลบเผา และน้ำชีวภาพที่ใช้เปลือกผลไม้หมักกับกากน้ำตาล จนได้น้ำปุ๋ยหมักและนำมาผสมกันในอัตราส่วน มูลวัว 3/1/1 และนำไปคลุกเคล้ากับปุ๋ยที่ใช้เปลือกผลไม้ปลูกพุทรานมสดที่ปลูกไว้ทุกๆ 3 เดือน และใช้ปุ๋ยหมักผสมน้ำเต้าหู้ ผสมในอัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าใต้ผิวดินทุก 5 วัน จนอายุถึง 6 เดือนจึงใช้ปุ๋ยสูตรนมสด ผสมรำข้าว ไข่ไก่ ในอัตราส่วน 3/1/1 ฉีดเข้าใต้ผิวดิน รอเวลาจนเก็บผลผลิตพุทรา จะช่วยให้ผลผลิตพุทรานมสด มีความหวานประมาณ 14-16 บริกซ์ ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ หวานกรอบ เมื่อรับประทานจะมีกลิ่นน้ำนม จึงเป็นที่มาของคำว่า “พุทรานมสด” ขณะนี้ได้ทำการจดทะเบียนการค้าเบื้องต้นพร้อมขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว
การปลูกพุทรานมสด
พุทรานมสด สามารถปลูกได้ทั้งในที่ดอนและที่ราบลุ่ม ตั้งแต่ดินเหนียว ดินทราย จนถึงดินลูกรัง การปลูกควรปลูกในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพราะจะได้รับแสงแดดเต็มที่ หากปลูกในที่ดอน ควรใช้ระยะห่าง 5x5 เมตร หากเป็นที่ลุ่มควรยกร่องและปลูกเดี่ยวกลางร่อง ระยะห่างนั้นตามแต่ขนาดของร่อง ควรตากดินทิ้งไว้ 15 วัน จากนั้นจึงนำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกคลุกเคล้าดิน ปลูกลงในหลุม จึงนำต้นพุทราลงปลูก ใช้ไม้ปักหลักผูกให้แน่นเพื่อป้องกันลมโยก จะช่วยให้พุทราตั้งตัวได้เร็วขึ้น
การปฏิบัติดูแลรักษา
พุทราเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพอากาศต่างๆได้ดี การดูแลรักษาเช่นเดียวกับการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ควรให้น้ำวันละ 1 ครั้ง หลังปลูกจนถึง 3 เดือน จากนั้นจึงให้น้ำวันเว้นวันไปจนถึงเดือนที่ 6 พอเริ่มเดือนที่ 7 ต้นพุทราก็จะเริ่มติดดอกพร้อมให้ผลผลิต ช่วงนี้จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง การกำจัดวัชพืชควรกำจัดปีละ 2 ครั้ง โดยใช้มือถอนหรือดายหญ้าพร้อมกับการพรวนดิน การใส่ปุ๋ย เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยนมสดที่ผลิตขึ้นเองจากการนำเอาปุ๋ยหมักมาผสมกับน้ำนมสดหมักทิ้งไว้ประมาณ 20 วันจึงนำไปใช้ได้ การใส่ปุ๋ยจะใช้วิธีฉีดลงไปในดิน บริเวณรากของต้นพุทรา โดยใช้ปุ๋ยผสมน้ำ 1 ต่อ 20 ลิตร ฉีดเข้าใต้ผิวดินทุก 5 วันจนต้นพุทราอายุได้ 6 เดือน จะช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ กรอบนุ่ม และมีกลิ่นของนมสดการตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก หากไม่มีการตัดแต่งกิ่งจะให้ผลที่มีขนากเล็กและปริมาณน้อย การตัดแต่งกิ่งเรียกว่าเป็นการตัดแต่งอย่างหนัก นั่นคือตัดแต่งให้เหลือแต่ก้านใหญ่ๆจนถึงเหลือแต่ตอ คงเหลือกิ่งใหญ่ไว้ประมาณ 4-5 กิ่งรอบทิศทางทรงต้น จะช่วยให้โครงสร้างต้นที่แข็งแรงกิ่งจะสมบูรณ์กว่ากิ่งเก่า สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย อีกทั้งเป็นการบังคับให้แตกกิ่งก้านพร้อมๆกัน และให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วควรทาแผลด้วยปูนแดง ป้องกันเชื้อราเข้าไปทำลายที่จะทำให้ต้นพุทราตายได้ ระยะเวลาตัดแต่งกิ่งควรเป็นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะทำให้เก็บผลผลิตได้ประมาณเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม หากเกษตรกรปลูกในที่ลุ่ม ควรตัดแต่งกิ่งประมาณเดือนสิงหาคม จะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม การตัดแต่งกิ่งเพื่อบังคับหรือคำนวณเวลาที่เหมาะสมนั้น จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ 2 ครั้ง การค้ำกิ่งและจัดระเบียบกิ่ง การค้ำกิ่งจะช่วยให้การรับน้ำหนักของกิ่งไม่ฉีกขาด และผลพุทราจะไม่โน้มถึงพื้นดินทำให้สกปรกและเกิดโรคได้ การค้ำกิ่งจะทำเมื่อกระโดงกิ่งแตกขึ้นมาใหม่ ยาวประมาณ 1.50 – 2.00 เมตร ใช้ไม้รวกปักบนดินแล้วดึงกิ่งมาผูกไว้กับไม้รวกที่ทำเป็นสี่เหลียมคล้ายคอกสี่เหลี่ยม เมื่อกิ่งยื่นยาวออกไปจะต้องเพิ่มกิ่งไม้รวกขึ้นอีก พร้อมกับตัดแต่งกิ่งให้แยกออกไปรอบๆทรงต้น ไม่ให้กิ่งทับซ้อนกัน หลังจากตัดแต่งกิ่งประมาณ 1-2 เดือน กิ่งใหม่ก็จะเริ่มออกดอกตามข้อ ดอกจะออกเป็นพะวงหรือเป็นกระจุก ในหนึ่งพวงจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะร่วงและเหลือติดข้อประมาณ 1-6 ผลผลผลิต พุทรานมสดจะให้ผลผลิตหลังจากปลูกประมาณ 6 เดือน ระยะแรกไม่ควรเก็บผลผลิต ควรปลิดทิ้งเพราะต้นพุทราอายุน้อยเกินไป ต้นยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ควรตัดแต่งรอผลผลิตรุ่นที่สอง หลังจากตัดแต่งกิ่งประมาณ 4-6 เดือน จากนั้นพุทราจะให้ผลผลิตเกือบตลอดทั้งปี แต่เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพพุทรานมสด ควรเก็บผลผลิตปีละครั้ง ก็ได้ผลผลิตที่คุ้มทุน มีกำไรมากเพียงพอกว่าปลูกพืชชนิดอื่น

Pepper

การปลูกพริกไทย
พริกไทย เป็นพืชสมุนไพรเครื่องเทศที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งของพืชในกลุ่มนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เป็นทั้งเครื่องเทศ คือช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ป้องกันอาหารเน่าเสีย ในด้านของสมุนไพรช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ปัจจุบันได้มีการนำพริกไทย มาใช้ในรูปของอาหารเสริมสุขภาพมากขึ้น
++ ปัญหา ข้อจำกัด และ โอกาส ++ 
- ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะ ค่าแรงงาน และ ค่าเสาค้าง ทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อมีอำนาจต่อรองในตลาดโลก และทำให้เสียโอกาสในการแข่งขันในด้านการค้าในตลาดโลก 
- การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ามีจำกัดและปริมาณน้อย เนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอและต้นทุนสูงกว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ราคาพริกไทยไม่มีเสถียรภาพ ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก 
++ พันธุ์พริกไทย ++ 
1. พันธุ์ซาราวัคหรือพันธุ์คุชซิ่ง :พันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจังหวัดจันทบุรี นิยมเรียกพันธุ์มาเลเซียนั่นเอง เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก เป็นพันธุ์ที่นำมาจากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซียสามารถต้านทานโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์จันทบุรี ซึ่งปลูกอยู่แต่เดิม เจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย ประมาณ 9-12 กิโลกรัมต่อค้างต่อปี หรือไร่ละประมาณ 3,600-4,800 กิโลกรัมต่อปี แต่ส่วนใหญ่ การเจริญเติบโตในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน ผลผลิตก็แตกต่างกันไป 
ลักษณะประจำพันธุ์ : 
ลำต้น - ลำต้นอายุ 4 ปี มีขนาดของเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ย 9.98 เซนติเมตร ความยาวปล้องของลำต้น เฉลี่ย 8.07 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องของกิ่งแขนงแรก 9.66 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องสุดท้ายของกิ่งแขนง ที่สาม 2.48 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ยทรงพุ่ม 162.20 เซนติเมตร 
ใบ - ใบเป็นพวกใบเดี่ยว ปลายใบแหลมแบบ acuminate แต่งอเล็กน้อยฐานใบเป็นแบบ obtuse ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างเรียว ใบมีสีเขียวเป็นมัน ค่อนข้างหนาใบมีขนาดกว้างเฉลี่ย 4.88 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 10.24 เซนติเมตร ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.22 เซนติเมตร มีร่องที่ก้านใบ มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น 
ดอก - ช่อดอกเป็นแบบ spike ไม่มีก้านดอก ช่อดอกเกิดที่ช่องตรงข้ามกับใบ ในแต่ละข้ออาจมีช่อดอกได้ 1-2 ช่อ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดเพียงช่อเดียว ช่อดอกมีลักษณะห้อยลงดินดอกเกิดสับหว่างกันไปเป็นชั้นในแต่ละช่อดอก ช่อดอกยาวเฉลี่ย 6.34 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวเฉลี่ย 0.67 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่งช่อมีจำนวนเฉลี่ย 64 ดอก ความกว้างของยอดเกสรตัวเมีย (แฉกรูปดาว) เฉลี่ยได้ 0.88 เซนติเมตร รังไข่เป็นแบบ superior ใบมี 1 เซล อับละอองเรณูมีขนาดกว้างเฉลี่ย 0.33 มิลลิเมตร ก้านชูอับละอองเรณูเป็นรูปทรงกระบอก 
ผล - ผลมีลักษณะเป็นช่อ ไม่มีก้านผล ความยาวช่อผลรวมทั้งก้านช่อเฉลี่ย 9.10 เซนติเมตร ความยาวก้านช่อผลเฉลี่ย 0.75 เซนติเมตร ช่อผลหนึ่งช่อมีจำนวนเฉลี่ย 49 ผล ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์จันทบุรี แต่ใหญ่กว่าพันธุ์ปะเหลี่ยนขนาดของผลด้านแป้นเฉลี่ย 5.69 มิลลิเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 5.62 มิลลิเมตร น้ำหนักช่อผลหนึ่งช่อเฉลี่ย 6 กรัม น้ำหนักผลสดต่อ 100 ผล เฉลี่ย 14.43 กรัม ผลเมื่อสุกจะมีสีส้มเป็นส่วนใหญ่ 
เมล็ด - มีลักษณะค่อนข้างกลมขนาดของเมล็ดยาวด้านแป้นเฉลี่ย 0.43 เซนติเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 0.42 เซนติเมตร น้ำหนักของเมล็ดแห้งขาวต่อ 100 เมล็ดหนักเฉลี่ย 5.19 กรัมขนาดของเมล็ดแห้งดำด้านแป้น เฉลี่ย 0.50 เซนติเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 0.46 เซนติเมตร น้ำหนักของเมล็ดแห้งดำต่อ 100 เมล็ด เฉลี่ย 6.46 กรัม 
2. พันธุ์ซีลอนยอดแดง :เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา นิยมปลูกเพื่อขายเป็นพริกไทยสด มากกว่าทำพริกไทยดำหรือขาวลักษณะของยอดจะออกสีน้ำตาลแดง จึงเรียกกันว่า "ซีลอนยอดแดง" 
ลักษณะประจำพันธุ์ : 
ลำต้น - ลำต้นอายุ 4 ปี มีขนาดของเส้นรอบวงลำต้นประมาณ 11-86 เซนติเมตร ความยาวของปล้องของลำต้นเฉลี่ย 8.2 เซนติเมตร ความยาวของปล้องของกิ่งแขนงแรก 9.82 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องของกิ่งแขนงที่สาม 7.28 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ยของปล้องสุดท้ายของกิ่งแขนงที่สาม 3.24 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ยทรงพุ่ม 180.60 เซนติเมตร 
ใบ - เป็นพวกใบเดี่ยวปลายใบแหลมแบบ acuminate ฐานใบเป็นแบบ obtuse ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างกว้าง สีเขียวเข้มค่อนข้างหนา ใบมีขนาดกว้างเฉลี่ย 7.22 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 12.62 เซนติเมตร ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.42 เซนติเมตร มีร่องที่ก้านใบมีเส้นใบ ประมาณ 5-7 เส้น 
ดอก - ช่อดอกลักษณะเช่นเดียวกับพันธุ์ซาราวัค ช่อดอกยาวประมาณ 15-17 เซนติเมตรก้านช่อดอกยาวเฉลี่ย 1.12 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่งช่อมีจำนวนดอกเฉลี่ย 106 ดอก 
ผล - ผลมีลักษณะเป็นช่อไม่มีก้านผล ผลมีขนาดใกล้เคียงพันธุ์จันทบุรี มีลักษณะค่อนข้างกลมขนาดของผลด้านแป้นเฉลี่ย 6 มิลลิเมตร ด้านกลมเฉลี่ย 6.24 มิลลิเมตร ผลสดสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดงเข้ม ความยาวช่อผลประมาณ 16-19 เซนติเมตร 
เมล็ด - เมล็ดมีขนาดใกล้เคียงกับพันธุ์ซาราวัค 
3. พันธุ์ซีลอนยอดขาว : เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา เช่นเดียวกันกับพันธุ์ซีลอนยอดแดง พริกไทยพันธุ์นี้ความจริงเป็นพริกไทยพันธุ์ PANIYUR-1 ซึ่งเป็นพริกไทยพันธุ์ลูกผสมของประเทศอินเดีย ระหว่างพ่อพันธุ์ Uthirankota กับแม่พันธุ์ Cheriyakaniyakadan (John.K.Ghanara tham, 1994) พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาวโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่า "ซีลอนยอดขาว" เนื่องจากมีผู้นำพันธุ์มาจากประเทศศรีลังกา (ซีลอน) ลักษณะต่าง ๆ จะคล้ายกับพันธุ์ศรีลังกาที่แตกต่างกันชัดเจนก็คือส่วนยอด ช่อผลจะยาวกว่าพันธุ์ศรีลังกาเล็กน้อย การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัค ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัค นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง 
++ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ++ 
- พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-1200 เมตร 
- มีความลาดเอียง 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ควรทำขั้นบันได เพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน 
- ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี 
- ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร 
- ความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 
- พื้นที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200-2,500 มิลลิเมตร 
- มีแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน มีความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 
++ การเตรียมดิน ++ 
- ป่าเปิดใหม่ ต้องขุดตอ เก็บรากไม้เศษหญ้าออกให้หมดเสียก่อนขุดดิน ตากดินทิ้งไว้ 15 วัน แล้วจึงไถพรวน แล้วปรับหน้าดิน 
- พื้นที่ลาดชันเกิน 15 องศาต้องปรับพื้นที่แบบขั้นบันได 
++ วิธีการปลูก ++การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ 
- ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง 
- นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9x14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง 
++ ระยะปลูก ++ 
- พันธุ์ซาราวัค (มาเลเซีย) ใช้ระยะ 2x2 เมตร 
- พันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25 หรือ 2.25 x 2.5 เมตร 
++ การปักค้าง ++ 
ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ ขนาด 4x4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น หลังจากนั้น ขุดหลุมขนาด 40x60 เซนติเมตร ลีก 40 เซนติเมตร ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ผสมดินกันปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1:1 แล้วใส่ในหลุมประมาณครี่งหลุม นำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลุกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้วัสดุพลางแสง ประมาณ 3-6 เดือน จนกว่าพริกไทยจะตั้งตัวได้ 
++ การตัดแต่ง ++ 
- ปีที่ 1 เหลือยอดที่สมบูรณ์ไว้ ค้างละ 4-6 ยอด ใช้เถาวัลย์หรือเชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้างโดยผูกขอเว้นข้อ จนกระทั่งพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน
- ปีที่ 2 ตัดแต่งเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง และใช้เชือกไนล่อนผูกทับเถาวัลย์เดิมเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 40-50 เซนติเมตร 
- ปีที่ 3 ตัดไหลและปรางบริเวณโคนต้น ปลิดใบที่ลำต้นออก เพื่อให้โคนโปร่ง ถ้าพริกไทยยังไม่ถึงยอดค้าง เด็ดช่อดอกออกให้หมด เพราะจะทำให้พริกไทยเจริญเติบโตช้า 
++ การใส่ปุ๋ย ++ 
- ใส่ dolomite หรือปูนขาว ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 400-500 กรัม/ค้าง ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 2-4 สัปดาห์ โดยเฉพาะในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรด 
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ค้าง หรือแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง 
- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 8-24-24 หรือ 12-12-12 +2Mg ดังนี้ 
ปีที่ 1 สูตร 15-15-15 หรือ 12-12-17+2Mg อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง 
ปีที่ 2 สูตร 15-15-15 หรือ 12-12-17+2Mg อัตรา 800-1,000 กรัม/ค้าง แบ่งใส่ 3-4 ครั้ง 
ปีที่ 3 และปีต่อ ๆ ไป 
- ครั้งที่ 1 ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ใส่หลังเก็บเกี่ยว 
- ครั้งที่ 2 สูตร 8-24-24 อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 
- ครั้งที่ 3 สูตร 12-12-17+2 Mg อัตรา 400-500 กรัม/ค้าง ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม 
++ การให้น้ำ ++ 
- ควรให้แบบ mini sprinkler 
- ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ 3-4 วัน/ครั้งตามสภาพดินฟ้าอากาศ 
++ แมลงศัตรูพริกไทย ++ 
1. มวนแก้ววางไข่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง ป้องกันโดยการเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย มาลาไธออน 50% EC 
ลักษณะและการทำลาย :ตัวอ่อนมีลักษณะสีเหลืองใส มีหนามแหลมสีดำตามลำตัว ตัวเต็มวัยมีลักษณะสีดำ ขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอกยื่นยาวออกนอกลำตัว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง 
การป้องกันกำจัด : แมลงจำพวกมวน รวมทั้งมวนแก้ว มีพฤติกรรมวางไข่เป็นกลุ่ม เมื่อฟักมาใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ถ้าพบกลุ่มของตัวอ่อนมวนแก้วให้เก็บเผาทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ 
- คาร์บาริล (85 % ดับเบิลยู พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือมาลาไทออน (57 % อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วค้างพริกไทย เมื่อพบมวนแก้วระบาดรุนแรง หยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน 
2. ด้วงงวงเจาะเถาพริกไทยตัวอ่อนเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำใหเถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกันกินใบและผลพริกไทย ป้องกันโดยเผาทำลาย เถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวง ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย คาร์บาริล 85% WP 
ลักษณะและการทำลาย : เป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำตาลสลับเหลือง ตัวอ่อนจะเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกัดกินตามใบ และผลพริกไทย 
การป้องกันกำจัด :สำรวจแปลงพริกไทย ถ้าพบเถาพริกไทยเหี่ยวเฉา และพบรอบเจาะของหนอนด้วงงวง ให้ตัดเผาทำลาย ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ 
- คาร์บาริล (85 % ดับเบิลยู พี) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วค้างพริกไทย เพื่อป้องกันด้วงงวง และเมื่อพบมีการระบาดรุนแรง หยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน

Spring onion 1 rai, 45 days, 90000 B

คุณเชื่อหรือไม่ ว่า … ปลูก ‘ต้นหอม’ ธุรกิจที่สร้างรายได้ง่าย ๆ แต่ทำได้จริง ต้นหอม 1 ไร่ 45 วัน 9 หมื่นบาท ปลดหนี้ 20 ล้าน ใน 4 ปี
.
เรียกว่าตอนนี้เศรษฐกิจบ้านเมืองเรากำลังแย่เลยทีเดียว แถมดันมาเจอเข้ากับภัยแล้งอีก งานนี้เล่นเอามึนสุด ๆ แต่ก็อย่าเพิ่งท้อไป สำหรับคนสู้ชีวิตอย่างเรา ๆ วันนี้ คอลัมน์ 108 อาชีพ จะพาไปรู้จักธุรกิจบ้าน ๆ ที่ทำได้ง่าย ๆ และทำได้จริง! กับการปลูกต้นหอม ที่นอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ง่ายแล้ว ยังสร้างรายได้มหาศาล
.
อ่านดูแล้วอาจจะเหมือนว่าโม้ แต่มีคนที่เขาทำได้จริง ๆ อย่าง คุณโสภณวิชญ์ แซ่ลิ้ม ที่ปลูกต้นหอมในเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้ระยะเวลา เพาะปลูก 40-45 วัน ก็สามารถเก็บและนำไปขายได้ถึง 90,000 บาท ที่แน่ ๆ ต้นหอมปลูกได้ตลอดปี ลองคิดคำนวณดูตัวเลขที่จะได้รับแล้ว อาจเปลี่ยนคุณให้กลายเป็นเศรษฐีได้เลยทีเดียว
.
สำหรับต้นหอมนั้นที่ประเทศไทยจะมีพันธุ์ลับแลและพันธุ์อุตรดิตถ์ แต่ที่เราจะพูดถึงคือ หอมแบ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะพันธุ์ที่มาจากประเทศไต้หวัน เกษตรกรนิยมปลูกมากเพราะแตกกอดี ส่วนสภาพดินนั้น สามารถปลูกได้ทุกประเภท แต่ถ้าเป็นดินร่วนจะดีมาก
.
ขั้นตอนการเพาะปลูกต้นหอม
.
1. เลือกพันธุ์หอมแบ่ง ที่ให้ผลผลิตสูง เช่นพันธุ์ไต้หวัน เมื่อเลือกได้แล้วนำมาตัดรากเก่าและตรงหัวทิ้งจากนั้นเอาผ้าเปียกมาปิดคุมไว้ให้ชื้น ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง
.
2. การเตรียมดิน เนื่องจากต้นหอมหรือหอมแบ่งเป็นพืชที่มีรากตื้น การขุดไถ่พรวนดินควรลึกประมาณ 15-20 ซม. ตากดินไว้ 5-7 วัน จากนั้นก็เอาปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักชีวภาพมาคลุกเคล้ากับดิน (นี่คือการบำรุงดินใส่ปุ๋ยครั้งแรก) เสร็จแล้วก็ยกดินทำเป็นแปลงผัก กว้างประมาณ 1.5 ม. ความยาวตามต้องการแต่ต้องให้สะดวกในการรดน้ำ สุดท้ายพรวนดินย่อยแล้วเขี่ยดินให้สม่ำเสมอกัน
.
3. การเพาะปลูก เมื่อเตรียมดินและยกแปลงผักเสร็จแล้ว รดน้ำแปลงผักให้ชุ่ม นำหัวหอมที่เตรียมไว้มาปักลงดิน เพียงครึ่งหัว โดยปักเป็นแถวให้ห่างกัน 12-15 ซม.จนเสร็จ หัวหอมที่ใช้ประมาณ 60-80 กิโลกรัมต่อ1ไร่ แล้วนำฟางข้าวหรือ แกลบมาคลุมทับ(เพื่อดูดซับความชื้นไว้) รดน้ำให้ทั่ว และอย่าลืมรดน้ำทุกวันเช้าและเย็น
.
4. การบำรุงรักษา หลังปลูกมาได้ประมาณ 10-20 วัน ก็ใส่ปุ๋ยบำรุงครั้งที่สอง โดยให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยเคมี ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีก็มีสูตร 20-10-10 หรือ 20-10-20 หรือ 12-8-8 และปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 ใส่บำรุงผัก อัตราส่วนการใส่ปุ๋ยจะอยู่ประมาณ 20-25 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่
.
5. การเก็บเกี่ยวและจำหน่าย ต้นหอมสามารถเก็บและออกจำหน่ายได้ดีจะต้องมีอายุ 40-45 วันหลังการเพาะปลูก เพราะผักจะโตเต็มที่ ใบสีเขียวสด
.
ที่มา : kaijeaw.com
credit photo, welovethaiking.com

Wednesday, February 17, 2016

Petai

http://www.farmkaset.org/contentsNET/default.aspx?content=2386&lang=#

การปลูกสะตอ : ในพื้นที่ภาคอีสาน

บทความนี้อยู่ในหมวดไม้ผล ไม้ยืนต้นแสดงหมวด ไม้ผล ไม้ยืนต้น

การปลูกสะตอ - สะตอ เป็นพืชผักยืนต้น ที่มีแหล่งกำเนิดทางภาคใต้ของไทย ปรุงอาหารอร่อยหลายอย่าง มีสรรพคุณทางยาด้วย

อัปเดท ( 29 มิถุนายน 2558 ) , เข้าชมแล้ว (3,106) , ความคิดเห็น (0) , สั่งพิมพ์คลิกที่นี่

การปลูกสะตอ

การปลูกสะตอ

สะตอ พืชผักยืนต้นที่มีแหล่งกำเนิดมาจากภาคใต้ของประเทศไทย เป็นผักพื้นบ้านที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง อาทิ สะตอผัดกุ้ง แกงส้มสะตอกุ้ง แกงเผ็ดใส่สะตอ เป็นต้น ปัจจุบันสะตอจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมรับประทานกันมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการบริโภคสะตอมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้มีผู้สนใจปลูกสะตอกันอย่างแพร่หลายกระจายเกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดศรีสะเกษซึ่งถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

คุณสมพร ไชยสุวรรณ เกษตรกรวัย 43 ปี เป็นผู้ริเริ่มปลูกสะตอบนพื้นที่ 18 ไร่ ในจังหวัดศรีสะเกษ มานานกว่า 20ปี โดยเริ่มต้นปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2532จากการใช้พื้นที่เอกสารสิทธิ์ สปก.มาทำการเพาะปลูก ได้นำเมล็ดพันธุ์สะตอมาจากญาติที่จังหวัดตรัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางภาคใต้จะมีการปลูกสะตอเพียงรายละ 2-3 ต้นเท่านั้น เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ทำให้คุณสมพรมีแนวคิดที่จะนำสะตอมาปลูกในรูปแบบสวนที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกันกับทางภาคใต้ คุณสมพรจึงปลูกทั้งสะตอข้าวและสะตอดานในพื้นที่ 18ไร่ จำนวนทั้งสิ้น 300 ต้น ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังตำบลต่างๆ ในอำเภอขุนหาญและอำเภอใกล้เคียงจนกลายมาเป็นแหล่งเพาะปลูกสะตอที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน ซึ่งคุณสมพรเป็นเพียงคนเดียวที่ทำสวนสะตอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นที่มาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดศรีสะเกษที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

"สะตอ"เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงเฉลี่ยได้ถึง 30 เมตร ต้นสูงขึ้นไปแล้วแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่กว้าง ลำต้นเรียบ ลอกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย มีสีน้ำตาลอ่อน กิ่งก้านมีขนละเอียด ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบแขนงมีประมาณ 14-18 คู่ ช่อใบย่อยมีประมาณ 31-38 คู่ ปลายใบบนฐานใบด้านนอกเบี้ยวเป็นติ่ง ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุก อัดกันแน่นเป็นก้อนคล้ายดอกกระถิน ช่อดอกจะห้อยระย้าอยู่ทั่วทรงพุ่ม แต่ละดอกมีก้านดอกและใบประดับรอง ประกอบด้วยช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาวนวล ดอกจะออกช่วงเดือนเมษายน หลังจากนั้น 70 วัน จะสามารถเก็บฝักได้ ผลของสะตอเป็นฝักแบนกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35-45 เวนติเมตร ฝักบิดเป็นเกลียวห่าง ฝักอ่อนมีสีเขียว พอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ดสะตอมีลักษณะเป็นรูปรีเกือบกลมเรียงตามขวางกับฝัก มีสีเขียวอ่อน

พันธุ์สะตอ 

สะตอข้าว : ลักษณะฝักเป็นเกลียว ยาวประมาณ 31 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-20 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นไม่ฉุนเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น อายุการให้ผลผลิต 3-5 ปี หลังปลูก

สะตอดาน : ฝักมีลักษณะตรงแบนไม่บิดเบี้ยว ยาวประมาณ 32 ซม. ความกว้างกว้างกว่าสะตอข้าวเล็กน้อย มีเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-15 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นฉุนรสเผ็ด เนื้อเมล็ดแน่น อายุการเก็บเกี่ยว 5-7 ปี

สรรพคุณทางยาของสะตอ

- มีผลต่อความดันโลหิต

- มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์

- มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

- มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

- มีผลของการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง

- มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

- มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้

การขยายพันธุ์สะตอด้วยวิธีการเพาะเมล็ด


สะตอสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์สะตอ โดยการเพาะเมล็ดเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และได้ต้นพันธุ์จำนวนมาก โดยการนำเมล็ดจากฝักที่แก่ขนาดที่ใช้รับประทานจากต้นพันธุ์ที่มีอายุ 15-20 ปี จะให้ผลผลิตที่ดี แกะเมล็ดแล้วนำไปเพาะลงถุง ประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้ต่อไป

ขั้นตอนวิธีการเพาะเมล็ด

1.เลือกฝักสะตอจากต้นพันธุ์ที่แก่เต็มที่แล้วแต่ไม่ต้องถึงกับสุกงอม สามารถออกฝักได้ทุกปี ผลผลิตมากในหนึ่งต้นและออกฝักก่อนต้นอื่น ในช่อหนึ่ง ๆ ควรมีฝักตั้งแต่ 10-15 ฝัก ฝักที่สมบูรณ์ มีเมล็ด 15-20 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอและเรียงเป็นแถวสวยงาม ลำต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากแมลงรบกวน

2.เมื่อได้ฝักที่ต้องการแล้วแกะเมล็ดออกแล้วลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้เหลือเนื้อเมล็ดที่มีสีเขียว

3.นำเมล็ดที่แกะแล้วแช่น้ำในอุณหภูมิปกติทิ้งไว้ 1 คืนจากนั้นนำมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง

4.นำเมล็ดมาคลุกสารป้องกันมดกัดกินในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อจำนวน 100 เมล็ด

5.ทำการเพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม โดยใช้ถุงพลาสติก ขนาด 4x8 นิ้ว เจาะก้นถุงด้านล่าง 3 รูเพื่อระบายน้ำ ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกอัตรา 2 ต่อ 1 ลงไปประมาณค่อนถุงนำไปตั้งในที่ร่ม

6.นำเมล็ดที่เตรียมไว้มาปลูกตรงกลางถุงโดยให้ทางด้านหัวกดลงลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อเวลางอกลำต้นจะตั้งตรง

7.รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ภายใน 3 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกจนอายุประมาณ1 ปี จะมีใบงอกออกมาลำต้นจะมีขนาด 1-2 ฟุตสามารถนำไปปลูกได้ต่อไป

การปลูกสะตอและการดูแลรักษา

1. ปลูกในระยะความกว้าง 6เมตร ยาว 6เมตร เริ่มขุดหลุมปลูกขนาดความกว้างxยาวxลึก 50เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ได้จากการเลี้ยงวัวใส่รองก้นหลุมในอัตราหลุมละ ? กิโลกรัมผสมกับดินเดิมจากนั้นจะนำต้นกล้าลงปลูกแล้วกลบดินให้สูงกว่าระดับดินเดิมอัดดินพอประมาณไม่ต้องแน่นจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

2. ฤดูปลูกที่เหมาะสมควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนราวๆเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนจะดีที่สุดเพราะว่าจะช่วยประหยัดน้ำได้ดี

3. การให้น้ำในระยะแรกๆจะทำการรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอเสมอ สะตอที่ปลูกใหม่ในปีแรก ควรให้น้ำวันเว้นวันในช่วงหน้าแล้ง เมื่อต้นสะตอมีอายุ 2-3ปี ให้น้ำ 2ครั้งต่อสัปดาห์ หากเป็นช่วงหน้าแล้งคุณสมพรแนะนำให้หาเศษพืชคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นเนื่องจากต้นสะตอที่ให้ผลแล้วจะเป็นระยะที่ต้องการน้ำมากคือช่วงระยะออกดอกถึงติดฝักจนเก็บเกี่ยวได้

4. การพรวนดินคุณสมพรจำเริ่มทำตั้งแต่เริ่มปลูกเป็นต้นไปปีละประมาณ 3-4ครั้ง เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชและถ่ายเทอากาศในดิน

5. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่หาได้ในชุมชน คุณสมพรจะเริ่มใส่ตั้งแต่เริ่มปลูก อัตรา 1-2ปี๊บต่อต้นเมื่อให้ผลผลิตแล้วจะใส่อัตรา 3-4ปี๊บต่อต้น โดยจะใส่หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะทำให้สะตอให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกๆปี นอกจากปุ๋ยคอกแล้วคุณสมพรจะเสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15ในอัตรา 1/2กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยใส่ก่อนออกฝักและหลังจากออกฝักแล้วจะเพิ่มปริมาณอัตรา 1กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2ครั้ง โดยครั้งแรกใส่ก่อนออกดอกและครั้งที่สองใส่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว จากนั้นให้ทำการตัดแต่งกิ่งด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยอัตราการใส่ ควรเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 1/2กิโลกรัม

6. เมื่อลำต้นสะตอสูง 2-3เมตรจะทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มเตี้ยสามารถเก็บเกี่ยวง่าย ทำการตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้ง กิ่งตาย กิ่งเป็นโรค กิ่งเบียดชิด กิ่งไม่ถูกแสงภายในทรงพุ่ม เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งไม่ทึบแน่นเกินไป

7. สะตอจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไปและจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ใช้ระยะเวลาประมาณ 70วันทั้งพันธุ์สะตอข้าวและสะตอดาน เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุประมาณ 5-7ปี ในต้นหนึ่ง ๆ จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 200-300ฝัก และจะให้ฝักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีตามอายุปลูก ปัจจุบันคุณสมพรปลูกสะตอมาได้ 20ปีแล้วผลผลิตเฉลี่ยจะอยู่ที่ต้นละประมาณ 400-500ฝัก

การเก็บเกี่ยว

1. ลักษณะฝักที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวได้ สีฝักจะมีลักษณะเป็นมันแววสีเขียวเข้ม เปลือกบริเวณหุ้มเมล็ดจะนูนเห็นเส้นเยื่อใยเด่นชัด รูปทรงสะดุดตา เปลือกหุ้มเมล็ดเมื่อแกะออกดูด้านในที่บริเวณขั้วของเปลือกจะเห็นเป็นสีส้มเข้มเล็กน้อย แสดงว่าใช้ได้แล้ว

2. การชิมเมล็ดดูจะพบว่าเมล็ดพันธุ์สะตอข้าวจะมีรสชาติมันและค่อนข้างหวาน เนื้อเมล็ดค่อนข้างแน่น พันธุ์สะตอดานจะมีรสชาติค่อนข้างฉุน เนื้อเมล็ดแน่น

3. คุณสมพรจะใช้ไม้สอย โดยใช้ไม้ไผ่ลวกยาวประมาณ 5-10เมตรตามขนาดของลำต้น โดยทำเว้าที่ปลายไม้ไผ่ ในกรณีต้นที่สูงจะขึ้นบนต้นแล้วใช้ส่วนที่เว้าบิดขั้วฝักสะตอแล้วดึงเข้าหาตัว แล้วปล่อยฝักสะตอให้รูดลงตามเชือกซึ่งผูกโยงระหว่างกิ่งกับหลักไม้ที่พื้นดินลงสู่ด้านล่าง โดยจะมีทีมงานในครอบครัวคอยรับอยู่ด้านล่างโดยวิธีนี้จะทำให้ฝักสะตอมีรอยบอบช้ำน้อยที่สุด นอกจากจะเก็บด้วยตนเองแล้วยังมีการจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว โดยมีค่าจ้างในการเก็บเกี่ยวในราคา 100ฝักละ 15-20บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณของฝักสะตอมีมากน้อยขนาด ไหนในช่วงเก็บนั้น ๆ ต้นหนึ่ง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 3-4 ครั้งจึงหมด

การตลาดสตอ

การรวบรวมฝักสะตอก่อนส่งขาย จะนิยมใช้วิธีการมัดสะตอรวมเป็นมัด ๆ แต่ละมัดจะมีฝักสะตอ 100ฝัก โดยจะส่งให้พ่อค้าคนกลางซึ่งจะรับซื้อถึงสวน หรืออาจส่งไปขายที่ตลาดโดยตรงในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงได้ โดยปกติคุณสมพรจะจำหน่ายอยู่ราคาเดียวคือ จำหน่ายฝักละ 4บาท โดยฝักที่สมบูรณ์จะมีเมล็ดภายในฝักจำนวน 12เมล็ด


แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
คุณสมพร ชัยสุวรรณ อายุ : 43 ปี
ที่อยู่ : 64 หมู่ที่11 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

coconut info

http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2012/10/01/entry-2


การปลูกมะพร้าวน้ำหอม
มะพร้าวน้ำ หอม เป็นพืชที่มีอนาคตในด้านการส่งออก และแปรรูปใน อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษคือเนื้อมะพร้าวมีรสชาติหวาน กลมกล่อมและมี กลิ่นหอมชื่นใจ สามารถช่วยดับกระหายคลายร้อนได้ดี นอกจากนี้มะพร้าว ก็ได้ ชื่อว่าเป็นผลไม้ที่ปลอดสารพิษชนิดหนึ่ง เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมี น้อยมาก
ข้อคำนึงในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการค้า :
๑.ต้องมีแหล่งน้ำสำหรับมะพร้าวตลอดปี
๒.พื้นที่ที่จะปลูกต้องทราบว่ามีสภาพดินเป็นอย่างไร โดยการนำดินส่งไปวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ pH (ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน) เพื่อจะได้รู้ว่าสูตรปุ๋ยที่จะใช้เป็นปุ๋ยสูตรอะไร
๓.ปุ๋ยอินทรีย์ พยายามใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น
๔.ควรติดต่อแหล่งที่ขายผลผลิตไว้แต่เนิ่น ๆ
๕.ต้องมีเงินทุนไม่ต่ำกว่าไร่ละ ๑๕,๐๐๐ – ๒๕,๐๐๐ บาท (ตลอด ๕ ปี) เพราะการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการค้าจะคุ้มทุนในปีที่ ๕
***เมื่อท่านตัดสินใจในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้คือ วางผังในการจัดแปลงปลูกมะพร้าว ว่าจะปลูกอย่างไรให้มีการให้น้ำได้อย่างสะดวกและทั่ว ถึงมะพร้าวทุกต้นและพอเพียงตลอดจนมีความสะดวก ในการใส่ปุ๋ยและเก็บเกี่ยวผลผลิต
การปลูกมะพร้าวน้ำหอม :
คัดเลือกลักษณะมะพร้าวน้ำหอมที่ดี ต้องเริ่มจากการคัดเลือกลักษณะที่ดีของต้นพันธุ์ ซึ่งมีหลักในการคัดเลือกดังนี้
ใบ มีทางใบสั้นแผ่กระจายรอบลำต้น เมื่อมองทรงพุ่ม จากภายนอก จะคล้ายรูปวงกลม
จั่น มีจั่นอยู่ทุกโคนทางและที่จั่นมีผลมะพร้าวทุกขนาดอายุติดอยู่
ผล มีผลโตสม่ำเสมอทั้งละลาย น้ำหนักผลประมาณ ๙๐๐ กรัมต่อผลผลยาวรีเล็กน้อย และตรงกันเป็นจีบเล็กน้อย น้ำมีรสหวานและกลิ่นหอม เนื้อนุ่มรสชาติกลมกล่อม
ต้น ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม :
น้ำฝน ฝนควรตกกระจายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตรต่อปี ไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร เกิน ๓ เดือน
สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๗ องศาเซลเซียส จะสูงหรือ ต่ำกว่านี้ไม่เกิน ๗-๘ องศาเซลเซียส อุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
แสงแดด มะพร้าวควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย ๕ ชั่วโมงต่อวัน แสงแดดต้องสาดส่องอย่างเสมอตลอดปี มะพร้าวจะเติบโตได้ดี
ลม ควรมีลมพัดอ่อน ๆ แต่พัดอย่างสม่ำเสมอ
ดิน ไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด จะเป็นดินอะไรก็ ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้าเป็นดินน้ำไหลทรายมูลที่เกิดจากน้ำพัดพา มาสะสม เช่น ดินริมแม่น้ำ จะปลูกมะพร้าวได้ดีที่สุด
ระยะปลูกที่เหมาะสม :
ระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอม คือ ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว ๖x๖ เมตร
การเตรียมหลุมปลูก :
ควรเตรียมหลุมปลูกในฤดูแล้ง ขุดหลุมขนาด ๕๐x๕๐x๕๐ เซนติเมตร แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากลุมอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ ใบไม้แห้งในหลุม หรืออาจใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมก็ได้ ถ้าปลูกมะพร้าวในพื้นที่แห้งแล้งหรือดินที่ปลูกเป็น ทรายจัดให้ใช้กาบมะพร้าวก้นหลุม โดยวางกาบมะพร้าวในด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นข้าง บนวางซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่น เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา ๑:๗ รองก้นหลุมส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ ๒กระป๋องนม) เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก
วิธีการคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ :
   มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ผลมะพร้าวที่เพาะจนแทงต้นอ่อนออกมาแล้วเปลือก ของผลมะพร้าวจะย่นเป็นริ้ว ๆ ขณะที่มะพร้าวที่กลายพันธุ์เปลือกมะพร้าวจะเรียบไม่ย่น หรือสังเกตที่ต้นอ่อนที่กลายพันธุ์สีของก้านใบจะออกสีแดง แต่ถ้าเป็นหน่อพันธุ์แท้จะเป็นสีเขียว อีกวิธีก็คือขยี้ปลายรากมะพร้าว ดมดูหากมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตยเป็นพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมแท้
วิธีการปลูก :
- ควรปลูกในฤดูฝน
- ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว
- เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันเชื้อราทาตรงรอยตัด วางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง หันหน่อไปในทิศทางเดียวกัน
- กลบดินอย่างน้อย ๒/๓ ของผล หรือให้มิดผลมะพร้าวพอดีแต่ระวังอย่า ให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้าแต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นแล้วก็ควรจะกลบ ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย
- เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยกเหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น
- ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป
- ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยงให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย
วิธีการให้น้ำ :
ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในปีแรก ควรใช้น้ำทุกสัปดาห์เมื่อมะพร้าวโตขึ้นอาจให้น้ำทุก ๒ สัปดาห์
วิธีการใส่ปุ๋ยมะพร้าวน้ำหอม :
แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหาร และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การ ปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH ๖-๗ การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการ ของมะพร้าวนั้น ควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วย ซึ่งพบว่าในปีหนึ่ง ๆ มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารไปใช้ดังนี้
ไนโตรเจน ๙.๔๔- ๑๕.๖๘ กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส ๔.๓๒ – ๗.๓๖ กิโลกรัมต่อไร่
โพแทสเซียม ๑๓.๖๐ – ๒๐.๒๐ กิโลกรัมต่อไร่
แคลเซี่ยม ๑๓.๖๐ กิโลกรัมต่อไร่
แมกนีเซี่ยม ๕.๖ กิโลกรัมต่อไร่
ในบรรดาธาตุดังกล่าว มะพร้าวจะดูดธาตุโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุด โดยประมาณ ๖๒ เปอร์เซ็นต์ของโพแตสเซียมจะถูก นำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของมะพร้าว
ชนิดปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตมะพร้าวได้สูงสุด คือ ปุ๋ยเกรด ๑๓- ๑๓ – ๒๑ ปุ๋ยเกรด ๑๒ – ๑๒ – ๑๗ – ๒, แมกนีเซียมซัลเฟต และปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์ตามลำดับ ในการใช้ปุ๋ยนั้น ให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็น ด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีความเป็นด่างให้ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และสภาพดินที่มีความเป็นกรดให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ โดยให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ ๑ เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าว ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ฤดูที่เหมาะสมที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้เหมาะแก่มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน เพราะในช่วงนี้มีความ ชื้นเพียงพอที่จะ ช่วยละลายปุ๋ยและรากของมะพร้าวกำลังเจริญอย่างเต็มที่สามารถ ดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี
*** จากการศึกษาพบว่า รากมะพร้าวที่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ดีจะอยู่บริเวณติดกับลำต้นและอยู่ ห่างจากลำต้นภายในรัศมี ๒ เมตร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นไปจนถึง ๒ เมตรโดยรอบ แต่ถ้าเป็นมะพร้าวที่ยังเล็กอยู่ควรหว่านปุ๋ยใกล้โคน มะพร้าวเพราะ รากยังน้อย หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วควรพิจารณาดินตื้น ๆ ลึกประมาณ ๑๐ – ๑๕ เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดินและป้องกัน การชะล้าง
การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ ประเทศที่อยู่ในเขต ร้อน มักมีอินทรีย์วัตถุในดินน้อย และมีการสลายตัวเร็ว เพราะมีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงจุลินทรีย์ในดินจะเจริญเติบโต ได้ดีคอยย่อยสลายทำลายพวกอินทรีย์วัตถุอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินขาดความร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศไม่ดี ดังนั้น จึงต้องมีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดที่ใช้ผลดี เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า แล้วไถกลบหรือใช้วิธีเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้
การกำจัดวัชพืช :
- ใช้แรงงานคน โดยการถางด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถตัดหญ้า รถไถขนาดเล็ก
- ปลูกพืชคลุมจำพวกหรือตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียมเพอร์ราเรีย หรือเซ็นโตรซีมา โดยปลูกห่างจากโคนต้นประมาณ ๒ เมตร
การเก็บเกี่ยวมะพร้าว :
มะพร้าวน้ำหอมเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดปี โดยสามารถเก็บผลมะพร้าวได้ประมาณ ๒๐ วันต่อครั้ง ใน ๑ ปีหากมะพร้าวแทงจั่นทุกครั้งที่ออกทาง ใหม่จะเก็บมะพร้าวได้ทั้งสิ้น ๑๖ ทะลายต่อต้น ซึ่งทะลายใหญ่ ๆ มีผลประมาณ ๑๐-๑๕ ผล ผลผลิตเฉลี่ยปีละ ๗๐-๑๐๐ ผลต่อต้น หรือประมาณ ๓๐๐๐-๔๐๐๐ ผลต่อไร่ ระยะที่เหมาะ สำหรับเก็บมะพร้าวมากที่สุดคือมะพร้าวเนื้อสองชั้นมีเนื้อเต็มกะลา เนื้อหนาอ่อนนุ่มซึ่งอายุหลังจากจั่นเปิดประมาณ ๒๐๐ – ๒๑๐ น้ำมีความหนาประมาณ ๖.๖-๗ เปอร์เซ็นต์บริกซ์ (ฺBrix)
ข้อสังเกตก่อนเก็บมะพร้าว :
สังเกตจากสีผลบริเวณรอยต่อผลกับขั้วผล ถ้าเห็นสีขาวเป็นวงกว้างแสดงว่ามะพร้าวอ่อนเกินไป แต่เมื่อส่วนสีขาวบริเวณรอยต่อเหลือเพียงเล็กน้อย แสดงว่าได้ระยะเก็บผลผลิต
เมื่อปอกเปลือกสีกร้านขึ้น เปลือกด้านในจะมีเสี้ยนหยาบขึ้นแต่เปลือกในยัง ไม่ถึงกับเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นมะพร้าวที่แก่เกินไป การเก็บมะพร้าวน้ำหอมเกษตรกรควร ใช้เชือกผูกทะลายแล้วหย่อนลงพื้น ซึ่งจะทำให้มะพร้าวไม่ช้ำหรือแตกเสียหายสามารถเก็บได้นานขึ้น และเป็นผลดีต่อการจำหน่ายยังตลาดต่อไป
ตลาดมะพร้าวน้ำหอมในประเทศ :
๑.ขายทั้งทะลาย
๒.มะพร้าวควั่น
๓.มะพร้าวเจียน
๔.มะพร้าวเผาเอามะพร้าวเจียนไปต้มในน้ำเดือด ๑๐ นาที นำไปผึ่งให้แห้งแล้วใช้ไฟจากหัวแก๊สเผาหัว และก้นมะพร้าวให้ดำพอประมาณ
๕.น้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม โดยบรรจุในถุงหรือขวดที่สวยงามพร้อมจำหน่าย
ตลาดมะพร้าวน้ำหอมที่ส่งไปขายต่างประเทศ :
มีเพียงมะพร้าวควั่นและมะพร้าวเจียนเท่านั้น
การเพิ่มรายได้ในสวนมะพร้าว :
เนื่องจากมะพร้าวจะเริ่มให้ผลหลังจากปลูกไปแล้วประมาณ ๓-๔ ปี ดังนั้น ในขณะที่ต้นยังเล้กอยู่ จึงควรปลูกพืช แซมระหว่างแถวมะพร้าวประเภทพืชที่มีอายุสั้น อาจเป็นพืชไร่ เช่น สับปะรด ถั่วต่าง ๆ หรือพืชผัก เช่น ฟักทอง แตงกวา แตงโม ข้าวโพดหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ ถ้าหากมีผลพันธุ์ มะพร้าวจำนวนมาก ยังสามารถนำมาปลูกเป็นพืชแซม ระหว่างแถวของมะพร้าวโดยปลูกระยะชิดตั้งแต่ ๒ เมตรขึ้นไป ภายในระยะเวลา ๒-๓ ปี ก็สามารถ ตัดยอดไปขายได้สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรประมาณ ๑๐๐ บาท/ยอด ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่นิยมรับประทาน เนื่องจากมีรสชาติดีและปลอดภัยจากสารเคมี

เทคนิคการปลูกมะพร้าวน้ำหอม
การ ปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดี ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ คือ เลือกที่ปลูก ดี ใช้พันธุ์ดี ปลูกถูกวิธี ดูแลรักษามะพร้าวให้สมบูรณ์ ปราศจากโรคและศัตรู ที่มารบกวนและแก้ไขอุปสรรคที่เป็นตัวการทำให้มะพร้าวออกผลน้อย ถ้าทำได้เช่น นี้ ก็เป็นที่เชื่อได้ว่าต้นมะพร้าวจะออกผลให้ดกแน่นอน
การเลือกที่ปลูกมะพร้าว :
หลักทั่วไปในการเลือกที่ปลูกมะพร้าวควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ฝน จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิ การปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดีอุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 20-27 องศาเซลเซียส แสงแดด ปริมาณแสงแดดที่เหมาะสม วันละ 1.7 ชม. ความสูงของพื้นที่ การทำสวนมะพร้าวเพื่อการค้าควรเลือกพื้นที่ไม่สูงเกิน 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ดินที่ใช้ปลูกมะพร้าว :
มะพร้าวสามารถขึ้นได้กับดินทุกชนิด ถ้าดินเหล่านั้นมีปุ๋ยดี มีความชุ่มชื้นพอเพียง
การปลูกมะพร้าว :
การเตรียมพื้นที่ปลูกมะพร้าว ถ้าเป็นพื้นที่ป่าควรถางพื้นที่ให้เตียน ถ้าเป็นที่ลุ่มต้องยกร่องปลูก ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันหรือบนเขาควรทำเป็นขั้นบันได ระยะปลูกมะพร้าว การปลูกมะพร้าวถี่มากเกินไปจะทำให้ออกผลไม่ดก แต่ถ้าปลูกห่างมากก็ได้ผลน้อย การปลูก ฤดูที่เหมาะสมสำหรับปลูกมะพร้าว ควรเริ่มปลูกในฤดูฝน โดยการขุดหลุมเล็กๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว แล้วเอามะพร้าววางลงในหลุ่มแล้วกลบและเหยียบดินข้างๆให้แน่น การดูแลรักษา ควรมีการไถพรวนระหว่างแถวมะพร้าวและไม่ลึกเกินไป ถ้าจะให้มะพร้าวเจริญงอกงามดีควรควบคุมวัชพืชในสวนมะพร้าว และควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดบ้าง ส่วนปุ๋ยเคมีที่นิยมใส่ คือ 13-13-21 แต่อย่างไร ควรทำการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนทำการใส่ปุ๋ย
โรคและแมลงที่สำคัญ :
โรค ประกอบไปด้วยโรคยอดเน่า โรคใบจุด โรคผลร่วง และโรคเอือนกิน แมลง ประกอบไปด้วย ด้วงแรด ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนาวมะพร้าว หนอนจั่นมะพร้าว หนอนร่านกินใบมะพร้าว
พันธุ์มะพร้าว :
มะพร้าวน้ำหอม จัดอยู่ในกลุ่มมะพร้าวพันธุ์ต้นเตี้ยหรือที่รู้จักกันในชื่อมะพร้าวหมูสี มีหลายพันธุ์ เช่น มะพร้าว น้ำหอม มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ลำต้นขนาดเล็กไม่มีสะโพก ทางใบและใบย่อยสั้น มีอายุตกจั่นเร็ว ความหอมของมะพร้าวน้ำหอม จะพบว่ามีส่วนที่เราสามารถทดสอบความหอมได้ เช่น ปลายรากอ่อนของหน่อมะพร้าว กะลาของผลอ่อน น้ำ และเนื้อมะพร้าว สาเหตุที่มะพร้าวน้ำหอมไม่หอม ปัญหาที่ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมพบบ่อยๆ คือ ความหอมจะหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุถึงแม้ว่าหน่อพันธุ์ที่ปลูกจะเป็นพันธุ์แท้ และเคยให้ความหอมมาก่อน เกิดจากบริเวณแปลงปลูกอาจมีต้นมะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวน้ำหวานปนอยู่ทำให้ เกิดการผสมข้ามของละออกเกสร จากการวิจัยพบว่า มะพร้าวน้ำหอมที่ผสมกับมะพร้าวใหญ่และมะพร้าวน้ำหวาน ผลมะพร้าวจะไม่มีความหอม แต่ถ้าผสมตัวเองหรือผสมกับมะพร้าวน้ำหอม ผลมะพร้าวที่ได้จะมีความหอมไม่เปลี่ยนแปลง
การเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม :
ปัจจัยที่สำคัญต่อการเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม ได้แก่ พันธุ์ อายุหรือความแก่ของผล สภาพความสมบูรณ์ของผลมะพร้าว ธาตุอาหารพืช อุณหภูมิ น้ำ และแสงแดด
เทคนิคการเพาะต้นกล้ามะพร้าวน้ำหอม :
การคัดเลือกผลมะพร้าว ผลมะพร้าวต้องสมบูรณ์และตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรคและแมลง รวมทั้งผลมีอายุพอดีไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
การเตรียมพื้นที่ : ควรปรับพื้นที่ให้เป็นพื้นราบสม่ำเสมอและควรมีร่องระบายน้ำ
การปาดผล : ควรทำการปาดผลออกประมาณ 1 ใน 4-5 ส่วนของผล เพื่อให้น้ำซึมเข้าในส่วนของกาบมะพร้าวได้
การวางผล : นำผลที่ปาดแล้วมาเรียงเป็นแถวๆ แบบสลับฟันปลา โดยให้ส่วนที่ปาดอยู่ด้านบน
การคลุมผลมะพร้าว : ส่วนใหญ่นิยมใช้ขุยมะพร้าวคลุมผลเพื่อรักษาความชื้น
การรดน้ำ : ควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นและมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอตลอดเวลา
การย้ายต้นกล้า : ควรให้ต้นกล้ามีความแข็งแรงก่อน
การวิจัยเทคโนโลยีการผลิตต้นกล้าพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ :
การทดลองนี้ศึกษาถึงปริมาณแสง ชนิดของวัสดุเพาะ อายุและขนาดผล ที่มีผลต่อการงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม โดยแบ่งพื้นที่การทดลองออกเป็น 2 แหล่ง คือ แปลงเกษตรกรอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และแปลงภายในสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษา พบว่า การเพาะชำมะพร้าวน้ำหอมในโรงเรือนตาขายพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์มีเปอร์เซ็นการงอกที่สูง และผลมะพร้าวที่มีลักษณะเปลือกชั้นนอกมีสีน้ำตาลและมีความยาวของเส้นรอบผล มากว่า 57 เซนติเมตร ที่เพาะชำในขุยมะพร้าวหรือมีขุยมะพร้าวเป็นส่วนผสม มีแนวโน้มมีเปอร์เซ็นต์การงอกของผล ความสูงของต้นกล้า น้ำหนักของต้นกล้า ความยาวของราก จำนวนราก ความยาวของเส้นรอบโคนต้นกล้า และคะแนนความสมบูรณ์ของต้นกล้า มากที่สุด