Tuesday, January 26, 2016

Drip Irrigation

ระบบน้ำหยด เป็นเทคโนโลยีการชลประทานวิธีหนึ่งในหลายวิธี เป็นการให้น้ำแก่พืช โดยการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้าๆ สม่ำเสมอในอัตรา 4-20 ลิตร ต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 5-25 PSI ขึ้นอยู่กับระบบ ชนิดพืช ขนาดพื้นที่ และชนิดของดิน จุดมุ่งหมายสำคัญของการให้น้ำแบบนี้ก็เพื่อที่จะรักษาระดับความชื้นของดิน บริเวณรากพืชให้อยู่ในระดับที่รากพืชดูดไปใช้ได้อย่างง่าย สร้างความเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ พอเหมาะ และเป็นไปตามความต้องการของพืช ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ


โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) เป็นวิธีการให้น้ำด้วยอัตราทีละน้อยๆ (น้อยกว่า 250 ลิตร/ชม.)
2) เป็นวิธีการให้น้ำที่ใช้เวลานาน (นานมากกว่า 30 นาที)
3) เป็นวิธีการให้น้ำช่วงบ่อยครั้ง (ไม่เกิน 3 วันครั้ง)
4) เป็นวิธีการให้น้ำโดยตรงในบริเวณเขตรากพืชหรือเขตพุ่มใบ (เปียกอย่างน้อย 60%)
5) เป็นวิธีการให้น้ำด้วยระบบท่อที่ใช้แรงดันต่ำ (แรงดันที่หัวจ่ายน้ำไม่เกิน 20 เมตร)
องค์ประกอบหลักของระบบให้น้ำแบบหยด
อุปกรณ์ที่สำคัญจะต้องมีในระบบ ได้แก่ หัวจ่ายน้ำ ท่อแขนง ท่อประธานย่อย ท่อประธาน ประตูน้ำ เครื่องกรองน้ำ และเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ บางครั้งก็อาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษเพิ่มขึ้นอีกตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ถือว่าเป็นเครื่องควบคุมการจ่ายน้ำต้นทาง อันได้แก่ เครื่องวัดปริมาณการไหลของน้ำ เครื่องฉีดผสมปุ๋ยหรือสารเคมี เครื่องควบคุมความดัน วาล์วป้องกันน้ำไหลกลับ วาล์วระบายอากาศ เป็นต้น
ข้อดีของน้ำหยดมีหลายประการ
  1. ประหยัดน้ำมากกว่าทุกๆ วิธี ไม่ว่ารดด้วยมือหรือใช้สปริงเกลอร์ หรือวิธีอื่นใดก็ตามและแก้ปัญหาภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำในบางฤดูซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในปัจจุบัน
  2. ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ กล่าวคือ ลงทุนครั้งเดียวแต่ให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก ติดตั้งครั้งเดียวและใช้งานได้ตลอดอายุ สามารถควบคุมการ เปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ manual และ automatic หรือ micro controler โดยเฉพาะระบบตั้งเวลาและตรวจจับความชื้นทำให้ประหยัดค่าแรง
  3. ใช้ได้กับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าดินร่วน ดินทราย หรือดินเหนียว รวมทั้งดินเค็มและดินด่าง น้ำหยดและไม่ละลายเกลือมาตกค้างอยู่ที่ผิวดินบน
  4. สามารถใช้กับพืชประเภทต่างๆ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นพืชที่ต้องการน้ำขัง
  5. เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต้องการใช้น้ำอย่างประหยัด
  6. ให้ประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงที่สุด 75-95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มีการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด และเมื่อเทียบกับการปล่อยน้ำท่วมขัง มีประสิทธิภาพเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ในระบบสปริงเกลอร์ แบบติดตายตัวมีประสิทธิภาพ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และในระบบสปริงเกลอร์แบบเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพ 65-75 เปอร์เซ็นต์
  7. ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า ใช้เวลาไปทำงานอย่างอื่นได้เต็มที่ไปพร้อม ๆ กับการให้น้ำ
  8. ลดการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช
  9. ได้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ระบบชลประทานแบบอื่น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ประหยัดต้นทุนน้ำ ทำให้มีกำไรสูงกว่า
  10. ระบบน้ำหยด สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นละลายไปกับน้ำพร้อมๆ กันทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ปุ๋ย พ่นยาอีก ทั้งนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย (injector) เข้ากับระบบ
ข้อจำกัดของระบบน้ำหยด
  • ข้อดีของระบบน้ำหยด คือ การรดน้ำได้เฉพาะจุด ประหยัดน้ำมากกว่า
ระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรไทยจึงมีข้อจำกัดอยู่ ต้องใช้ต้นทุนสูงในระยะแรก การติดตั้งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และเกษตรกรจะต้องมีความรู้ปริมาณการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก เช่น มะเขือเทศ ต้องการปริมาณน้ำประมาณ 40 มิลลิเมตร/ไร่/วัน หรือประมาณ 1.5 ลิตร/ต้น/วัน เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรต้องมีการค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบติดตั้ง และบริหารระบบ จะต้องคำนึงถึงการจัดการระบบ เช่น ระยะเวลาให้น้ำ การใช้ปุ๋ย ชนิดปุ๋ย ตลอดจนต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ พืชจึงจะได้ปุ๋ย หรือสารเคมี ใช้อย่างพอทุกช่วงการเจริญเติบโต
การบริหารระบบน้ำหยดให้ได้ผลสูงสุด มี 3 ประการ คือ
    1. การให้น้ำปริมาณที่เหมาะสม กับความต้องการของพืชแต่ละชนิด
    2. การให้ปุ๋ยปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะละลายผ่านเข้าสู่ระบบ
    3. การวางแผนการบำรุงรักษาระบบ เพื่อให้ได้ประโยชน์ยาวนานที่สุด
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว การจัดการน้ำสำหรับการปลูกพืชก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ที่มา : กรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยเอสวีกรุ๊ป โทร. 090 880 1089

Monday, January 25, 2016

yam bean

มันแกว (Yam bean) เป็นพืชตระกูลถั่วที่รู้จักกันทั่วไปในหัวมันแกว นิยมนำหัวมาบริโภคเป็นอาหาร ของว่าง รวมถึงฝักอ่อนที่นำมาประกอบอาหารได้ แต่เมล็ดฝักแก่มีพิษถึงชีวิต พบปลูกมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกษตรกร สามารถสร้างรายได้หลักหรือปลูกเป็นรายได้เสริมหลังการปลูกพืชไร่ชนิดอื่น
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pachyrrhizus erosus Urban
• ชื่อวงศ์ : Leguminosae
• ชื่อภาษาอังกฤษ :
– แยมบีน (Yam bean)
– จิกามา (Jicama)
• ชื่อท้องถิ่น :
– เครือเขาขน
– ถั่วบ้ง
– ถั่วกันตัง
– ถั่วบัง
– หมากบัง
– ถั่วกินหัว
– เครือเขาขน
– มันละแวก
– ละแวก
– มันแกวลาว
– มันลาว
มันแกวจัดเป็นพืชไร่ ตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา มีหัว และเมล็ดเป็นผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะส่วนหัวที่เป็นผลิตหลักในการปลูกของเกษตรกร เนื่องจากส่วนหัวมันแกวมีการสะสมแป้ง และน้ำตาลไว้ ให้รสหวาน กรอบ จึงนิยมนำมาบริโภคได้โดยตรงหรือนำมาประกอบอาหาร
?????????
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
มันแกวเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาวไปตามดินหรือกิ่งไม้ ยาวได้มากกว่า 3-10 เมตร ลักษณะลำต้นเป็นเถาสีเขียวอ่อน เขียวแก่จนถึงเขียวออกน้ำตาลตามอายุของต้น และมีขนปกคลุม
Yam-bean2
ใบ
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ในก้านใบเดียวกันเหมือนกับใบถั่วเหลืองหรือถั่วฝักยาว ลักษณะใบเมื่ออ่อนจะบางอ่อน มีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีลักษณะหนาหยาบ สีเขียวเข้ม ปลายใบไม่เรียบ ใบประกอบแต่ละใบ ยาว 1 ถึง 6 นิ้ว เรียงซ้อนกัน ใบกลางจะสูงกว่า
ดอก
ดอก กลีบดอกใหญ่ มีสีม่วงแกมน้ำเงินหรือสีขาว ยาว 5/8 – 7/8 นิ้ว ช่อดอกจะออกเดี่ยว ๆ ที่ซอกใบมีขนสีน้ำตาล
OLYMPUS DIGITAL CAMERA
ฝัก และเมล็ด
ผลเป็นฝัก แบน ตรง มีลักษณะเรียวยาว มีขนเล็กน้อย ฝักอ่อนจะมีสีเขียว และสีเขียวแก่ สีน้ำตาล จนถึงสีดำเมื่อแก่ ยาวประมาณ 3 – 5.5 นิ้ว กว้าง 1/2 -5/8 นิ้ว ภายในฝักจะประกอบด้วยเมล็ดประมาณ 4 – 9 เมล็ด มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 1/4 ยาวประมาณ 3/8 นิ้ว เมล็ดแก่จะมีพิษอันตรายถึงเสียชีวิตหากรับประทาน
Yam-bean4
Yam-bean5
ราก และหัว
รากที่ติดกับลำต้นซึ่งเรียกว่า หัวหรือหัวมันแกวมีลักษณะเป็นหัวใหญ่ ผิวเรียบ มีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นส่วนที่สะสมอาหาร โดยเฉพาะแป้ง น้ำตาล และน้ำ
สารสำคัญในมันแกว
ลักษณะเมล็ดภายในเมื่อผ่าออกจะมีเนื้อสีเหลือง ประกอบด้วย
• คาร์โบไฮเดรต
• ไขมัน
• albuminoids limpid oil (38.4%)
• สารพิษในกลุ่ม isoflavonoid ได้แก่
– erosin
– pachyrrhizone
– pachyrrhizin
– rotenone
• สารเคมีอื่นๆ ได้แก่
– 12-(A)- hydroxypachyrrhizone
– 12-(A)-hydroxy lineonone
– 12-(A)-hydroxymundu- serone
– dolineone
– erosone
– dehydropachyrrhizone
– erosenone
– neodehydrorotenone
– saponins A และ B เป็นพิษทำให้ปลาตายได้
ส่วนของเนื้อหัวมันแกว พบสารอาหารสำคัญ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต 78.5 % ส่วนของเมล็ดพบไขมัน 7.3 % และ Albuminoid 3.7 % ที่มีองค์ประกอบของสารมีพิษหลายชนิด
สรรพคุณทางยา
เนื้อของมันแกวใช้รับประทานเพื่อช่วยลดพิษ ลดไข้ อาการปวดศีรษะ แก้ความดันโลหิตสูง ใช้แก้พิษสุราเรื้อรัง แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงร่างกาย เนื่องด้วยมีวิตามินซีมากพอสมควร (หัวมันแกว 100 กรัม มีวิตามินซีประมาณ 15 มิลลิกรัม)
ในส่วนเมล็ดแก่ของมันแกว ห้ามรับประทานในปริมาณมากโดยเด็ดขาด เนื่องจากประกอบด้วยสารพิษหลายชนิดที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ แต่มีการศึกษา และบางท้องถิ่นนำมาบดเพื่อใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
การรับประทานเมล็ดมันแกวเพียงครึ่งเมล็ดสามารถช่วยเป็นยาระบาย ยาถ่ายพยาธิ แต่มักมีอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศรีษะ
ในประเทศอินโดนีเซียมีการใช้ผงจากเมล็ดมันแกวทาผิวหนังเพื่อลดอาการระคายเคือง ผื่นคัน รักษาแผล แผลพุพอง เป็นหนองบริเวณผิวหนังได้
ประโยชน์มันแกว
การปลูกมันแกวมักปลูกเพื่อการเก็บผลิตจากส่วนหัวเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เป็นหลัก ส่วนเมล็ดพบเพียงบางพื้นที่ที่ต้องการเก็บเมล็ดสำหรับเป็นเมล็ดพันธุ์ และการนำเมล็ดไปใช้ประโยชน์ในเรื่องยาต่างๆ
หัวมันแกวนิยมใช้เป็นอาหารบริโภคเป็นอาหารหรือนำมาประกอบอาหาร แต่ทั่วไปนิยมรับประทานหัวสดซึ่งมีรสหวาน และกรอบ ซึ่งหัวมันแกวจะมีปริมาณแคลเซียม และเหล็กสูง นอกจากนั้น เนื้อมันแกวประกอบด้วยเส้นใยสูง ช่วยในการขับถ่าย และมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากทำให้ช่วยแก้กระหายได้ดี
ประโยชน์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบสารสกัดจากเมล็ดมันแกวที่ีมีสาร rotenone และ saponins มีออกฤทธิ์ฆ่าแมลงได้ นอกจากนั้นมีการนำผงเมล็ดมันแกวที่บดให้ละเอียด 0.5 กก. ละลายน้ำ 1 ปี๊บ และแช่ทิ้งไว้ 2 วัน แล้วนำมากรองเอาสารละลายฉีดพ่นพืชผัก พบว่า สามารถกำจัดเพลี้ย และหนอนหลายชนิดได้
พิษของมันแกว
ส่วนของใบมีสารพิษ glycoside ชื่อ pachyrrhizin ออกฤทธิ์คล้ายสาร derris ในหางไหล ใช้เป็นยาเบื่อปลา สุนัข และมีพิษต่อโค และกระบือ รวมถึงสัตว์กินพืชทุกชนิด
สารที่ทำให้เกิดพิษ ฝักอ่อนของมันแกวสามารถรับประทานได้ แต่เมื่อแก่จะเป็นพิษ โดยเฉพาะที่เมล็ดของมันแกวมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงหลายชนิดได้แก่
– pachyrrhizin
– pachyrrhizone
– 12-(A)-hydroxypachyrrhizone
– dehydropachyrrhizone
– dolineone
– erosenone
– erosin
– erosone
– neodehydrorautenone
– 12 -(A)-hydroxy lineonone
– 12-(A)-hydroxymundu-serone
– rotenone
นอกจากนี้ยังมีสาร saponin ได้แก่ pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย
สารพิษ rotenone หากรับประทานเมล็ดเข้าไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหาร มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่หากได้รับพิษของ rotenone ทางการหายใจอาการของพิษจะรุนแรงกว่า เพราะจะเกิดการกระตุ้นระบบการหายใจ การกดการหายใจ ทำให้ชัก และเสียชีวิตได้ นอกจากนั้น พิษจากเมล็ดยังมีฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
มีการทดสอบพิษกับหนูทดลอง พบว่า ทำให้หนูหายใจลำบาก และตายในที่สุด อันเกิดจากสารพิษ pachyrrhizin ที่มีผลมากต่อระบบประสาท โดยเฉพาะระบบหายใจ (respiratory system) และกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ชีพจรเต้นช้าลง
การใช้ประโยชน์จากพิษของเมล็ดมันแกว สามารถใช้เป็นสารฆ่าแมลง ยาเบื่อปลา เบื่อสุนัข แต่นิยมใช้สารสกัดจากเมล็ดมันแกวในการกำจัดแมลงหลายชนิด เช่น หนอนกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก ด้วงหมัดกระโดด มวนเขียว เพลี้ยอ่อน และหนอนผีเสื้อ ด้วยการนำเมล็ดครึ่งกิโลกรัม หรือ 1 กิโลกรัม มาบดให้ละเอียด และแช่น้ำประมาณ 20-30 ลิตร นาน 1-2 วัน แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ นำไปฉีดพ่นกองขยะทำให้แมลงวันหนีหรือนำมาฉีดพ่นในแปลงผักเพื่อกำจัดหนอน และแมลง
การศึกษาของ น.พ. บริบูรณ์ พรพิบูลย์ (2502) พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมันแกว ทำให้หนูตะเภาตายได้ โดยออกฤทธิ์กดระบบการหายใจ ทำให้การหายใจล้มเหลว และตายในที่สุด
ส่วนที่มีพิษของฝัก และเมล็ดที่มีต่อคน ซึ่งพบรายงานอันตรายจากพิษจากการรับประทานฝัก และเมล็ดมันแกวในหลายท้องที่ในไทย ได้แก่
1. พบผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชน เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่นำฝักมันแกวมาต้มรับประทานจำนวน 4 ฝัก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการช็อค หมดสติ หยุดหายใจ โดยแพทย์ได้ทำการช่วยเหลือ และรักษาอาการ ด้วยการให้น้ำเกลือ และการปั๊มหัวใจจนทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่พบว่าผู้ป่วยมีอาการทางสมองจากการหยุดหายใจชั่วขณะ
2. พบผู้ป่วยเพศชาย อายุ 28 ปี ที่ได้กินเมล็ดมันแกวประมาณ 200 กรัม เข้าไป โดยมีอาการหลังรับประทานประมาณ 2 ชั่วโมง คือ มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สามารถก้าวเดิน และทรงตัวได้ มีอาการหน้าซีด อาการชักกระตุกที่มือ และเท้า ไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ มีอาการท้องเสีย ต่อมาได้เสียชีวิตหลังรับประทานเมล็ดมันแกวไปแล้ว 11 ชั่วโมง
3. มีรายงานว่าถ้ารับประทานเมล็ดมันแกวเพียงครึ่งเมล็ดจะเป็นยาระบาย และบางแห่งใช้เป็นยาขับพยาธิ นอกจากนี้ ยังเกิดอาการของพิษเรื้อรังที่ส่งผลต่อการทำงานของตับ และไต
ส่วนพิษของสาร saponin เป็นสารที่ทราบกันดีว่า ทำให้เยื่อบุทางเดินระคายเคืองร่วมด้วยกับอาการคลื่นไส้จนเกิดอาเจียน รวมถึงปวดแน่นท้อง และเกิดอาการลำไส้อักเสบ และในบางรายเกิดอาการรุนแรงมาก จนทำให้ระบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติและทำให้ชักได้
อาการจากพิษ และการรักษาพิษเมล็ดมันแกว
อาการเมื่อได้รับพิษหลังจากรับประทานเมล็ดมันแกวไป 1-2 ชั่วโมง จะทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่ท้องบริเวณกระเพาะอาหาร มีอาการปวดหัว วิงเวียน ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตอมาทีอาการท้องร่วง ปวดท้องร่วมด้วย ถ้าได้รับสารพิษมาก อาการจะรุนแรงขึ้นจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทรงตัว และเดินไม่ได้ ระบบไหลเวียนเลือด และระบบการหายใจผิดปกติ มีอาการชัก หยุดหายใจ และเสียชีวิตตามมา
การรักษา
1. เมื่อพบผู้ป่วยรับประทานฝักหรือเมล็ดมันแกวให้รีบล้างท้องทันที ด้วยการทำให้อาเจียน และดื่มน้ำตามพร้อมทำอาเจียน 2-3 รอบ ควรระวังไม่ให้ใช้เวลาทำอาเจียนนานหลังดื่มน้ำ เพราะอาจทำให้พิษกระจายมากขึ้น
2. หลังจากทำอาเจียนให้กินไข่ขาว และรีบนำส่งโรงพยาบาล
3. หากพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น ทรงตัว และเดินไม่ได้ มีอาการชัก ให้รีบนำส่งแพทย์ทันที หากหยุดหายใจ ต้องรีบช่วยการหายใจให้ได้ก่อน และรีบนำส่งแพทย์
การปลูกมันแกว
มันแกวจัดเป็นไม้เถา เลื้อยพันตามพื้นดินหรือกิ่งไม้ ไม่ชอบดินชื้นแฉะ มีน้ำขัง ดินเหนียวจัด หน้าแน่นแน่น จึงเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดินเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทราย สามารถทนต่อลักษณะอากาศ และดินที่แห้งแล้งได้ดี ปัจจุบันพบมีการปลูกเกือบทั่วประเทศ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉพียงเหนือ ได้แก่ มหาสารคาม ขอนแก่น หนองคาย ส่วนภาคอื่นมีปลูกน้อย พบในบางจังหวัดเท่านั้น
Yam-bean6
การปลูกมันแกว นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือหากมีน้ำชลประทานก็สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี การปลูกจะใช้วิธีการปลูกด้วยเมล็ดเท่านั้น แต่มีบางครั้งที่ปลูกโดยใช้หัวเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ และรักษาลักษณะที่ดีไว้
การปลูกจะปลูกด้วยการหยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะระหว่างแถว 15 x 15 เซนติเมตร โดยวิธีการปลูกด้วยการยกร่องเหมือนการปลูกมันสำปะหลัง โดยมีระยะระหว่างร่อง 80-100 เซนติเมตร โดยชนิดหัวเล็ก ระยะห่างระหว่างต้น 10-20 เซนติเมตร ชนิดหัวใหญ่ ระยะห่างระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 8 กิโลกรัม หรือประมาณครึ่งถัง
ต้นมันแกวปกติต้องกำจัดวัชพืช 2-3 ครั้ง สำหรับการปลูกมันแกวในฤดูแล้งไม่ให้น้ำ ไม่ต้องพรวนดินและกำจัดวัชพืช
ในช่วงการเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ 2-3 เดือน จำเป็นต้องเด็ดยอด และดอก โดยเฉพาะการปลูกนอกฤดูฝนที่ต้นเติบโตได้รวดเร็ว ด้วยวิธีการเด็ดหรือบางพื้นที่ใช้ไม้เรียวฟาดให้ยอดหรือดอกขาดออก หากไม่เด็ดยอดจะทำให้ต้นเติบโตมากทำให้มีหัวเล็ก ส่วนการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดทำพันธุ์ ไม่ต้องเด็ดยอด และดอก ให้ปล่อยต้นเจริญเติบโตตามปกติ
การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-8-8 ในระยะเริ่มแรก และสูตร 12-12-24 ในช่วงต้นเจริญเติบโต 2-3 เดือน ในอัตรา 50-65 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ ควรใช้ปุ๋ยคอกที่เป็นมูลสัตว์ในท้องถิ่นร่วมด้วย ในอัตรา 1-3 ตัน/ไร่

Sunday, January 24, 2016

Frangipani

การขยายพันธุ์ลีลาวดี 


การขยายพันธุ์ลีลาวดี 

1.การปักชำลีลาวดี เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้ การปักชำกิ่ง เป็นวิธีที่ใช้ในการขยายพันธุ์ลีลาวดีได้รับความนิยมมากที่สุด สามารถขยายพันธุ์ ได้จำนวนมากกว่าวิธีอื่น และเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ข้อเสียคือจะได้ลักษณะสายพันธุ์เดียวกับต้นแม่พันธุ์์
ควรทำในฤดูใบไม้ผลิคือช่วงก่อนฤดูฝนปลายเดือนมีนาคมไปถึงต้นเดือนมิถุนายน จะได้ผลดีกว่าปักชำในช่วงเดือนอื่นๆ การชำกิ่งอาจจะทำ ได้ตลอดปี แต่ควรมีการเลือกต้นพันธุ์และวิธีปฏิบัติดังนี้

1.1 . เลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์ ลักษณะเนื้อไม้แข็งแรงตัดตรงตำ แหน่งที่ตํ่ากว่าส่วนที่
เป็นยอดอ่อน ถ้าจะให้ดีควรยาวประมาณ 2 ฟุต
1.2. ควรตัดกิ่งให้อยู่ในมุมที่สูงกว่ารอยแผลของก้านใบเก่าที่ร่วงไป (Growth Tips) เพื่อ ที่จะให้กิ่งเดิมที่ถูกตัดสามารถแตกกิ่งอ่อนได้จาก Growth Tips ที่เปลี่ยนตา และในเวลาเดียวกันก็สามารถป้องกันกิ่งเดิมไม่ให้เน่าเสียเมื่อเวลาผ่านไป การใช้ปูขาวป้ายที่แผลรอยตัดในต้นเดิมจะช่วยสมานแผลได้ดีไม่เปิดโรคแทรกซ้อน
1.3. กิ่งที่ตัดควรนำมาเก็บไว้ที่ร่มประมาณ 4 วัน ให้แผลแห้งก่อนนำ มาเพาะชำ มีการพูดกันว่าถ้านำกิ่งที่ตัดใหม่ไปชำ จะทำให้เกิดการติดเชื้อราโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
1.4. ก่อนนำไปชำในโรงเพาะชำควรจะนำโคนกิ่งที่ตัดเตรียมไว้จุ่มในนํ้ายาเร่งราก หรือจะ
ให้ดีควรผสมนํ้ายาด้วยสารป้องกันเชื้อรา หลังจากนั้นจึงนำ กิ่งไปชำ ในกระถางหรือภาชนะที่
มีดินที่มีฮิวมัสสูงให้โคนกิ่งลึก 2-3 นิ้ว และรอยที่นํ้ายาควรจะสูงกว่าระดับเหนือดิน 1 นิ้ว
1.5. ผู้ที่มีประสบการณใ์นการปลูกลีลาวดีได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ก่อนนำกิ่งลงชำควรเด็ดใบ
ส่วนปลายออกให้เหลือครึ่งหนึ่งเพื่อลดการระเหยของนํ้า ซึ่งปลายกิ่งสามารถสังเคราะห์แสง
เพื่อเรียกรากที่งอก

2. การเพาะเมล็ดลีลาวดี จะใช้ฝักที่แก่จัด ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100 ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์ หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง

3. การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจ จะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า

4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก

Bougenville


http://www.thaikasetsart.com/การปลูกและการขยายพันธุ-2/

ถ้าจะถามว่าในวงการไม้ประดับนั้น ไม้ประดับชนิดไหนที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดอยู่ในขณะนี้ คำตอบก็เห็นทีจะหนีไม่พ้น “เฟื่องฟ้า” ที่ครองแชมป์ยอดฮิตติดอันดับ  โดยที่ยังไม่มีไม้ประดับชนิดใดสามารถชิงแชมป์ไปได้เลยตลอดระยะเวลา 4-5 ปีมานี้  ทั้งนี้เพราะว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้ประดับที่มีคุณสมบัติพิเศษที่น่าสนใจอยู่หลายอย่างเช่น
สีสัน มีมากมายหลายหลากสี และสีก็ล้วนแล้วแต่ค่อนข้างจะสวยสดงดงามบาดตาบาดใจเป็นส่วนใหญ่ ทรงพุ่มของลำต้นและกิ่งก้านก็อ่อนช้อย มีใบสีเขียวสด ไปช่วยแต้มแต่งให้สีดอกสวยเด่นยิ่งขึ้น ลักษณะสีสันตลอดจนรูปแบบของใบก็มีให้เลือกมากมายตามใจชอบ  สามารถตัดแต่ง ดัดโน้มรูปทรงได้ตามความพอใจ
การกลายพันธุ์ เฟื่องฟ้าสามารถกลายพันธุ์ทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งการกลายพันธุ์จากตาหรือบัดมิวเทชั่น (bud mutation) ซึ่งมีผลให้ตาที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้นมีลักษณะผิดแปลกแตกต่างไปจากต้นเดิม  ทำให้เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา  และกลายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด  จึงเป็นที่น่าสนใจของบรรดาผู้เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ไม้ประดับทั่ว ๆ ไป ทั้งที่เป็นมืออาชีพและมือสมัครเล่น
รูปแบบของการฟอร์มต้นและการปลูกเพื่อเป็นการค้า  เฟื่องฟ้ามีฟอร์มการเล่นหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การจัดเป็นเฟื่องฟ้าตอใหญ่ เฟื่องฟ้ากระถาง ส่วนมากผู้ซื้อนิยมนำไปปลูกเพื่อเป็นต้นไม้จัดสวน ตกแต่งภายในบริเวณบ้าน เช่น ระเบียง หน้ามุกดาดฟ้า หัวสนาม ซุ้มประตูทางเข้าบ้าน หรือตามซอกตามหลืบตรงมุมสวน หรือไม่ก็ปลูกคลุมพื้นที่ให้เกาะกันเป็นกลุ่ม ๆ ปลูกประดับเพื่อความสดใสตามสถานที่ทำงาน โรงแรม หรือแม้แต่สถานที่ราชการ ตามริมถนนหลวงภายในกรุง หรือ ทางหลวงสายต่าง ๆ ตลอดจนปลูกเป็นแถวเป็นแนวตามเกาะกลางถนน  นอกจากนี้แล้วเฟื่องฟ้ายังสามารถที่จะเปลี่ยนยอดให้มีสีสันต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ต้นหนึ่งอาจจะมีสีสันหลากหลายงดงามตระการตา ตามแต่ความประสงค์ของผู้ปลูก และผู้ซื้อ
ด้วยความสวยงามในรูปแบบที่หลากหลายนั้น ได้แพร่ขยายแผ่กระจายไปตามสถานที่ต่าง ๆ นี้เองทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกติดตาตรึงใจ  ซึ่งมีผลให้เกิดแรงบันดาลใจให้เกิดกิเลสและตัณหาอยากจะปลูกเฟื่องฟ้าประดับประดาบ้านเรือนของตนเองให้เหมือนกับสวนสวรรค์ไม่น้อยหน้าใคร
เฟื่องฟ้าปลูกเลี้ยงได้ตั้งแต่คนจนไปจนถึงเศรษฐีหรืออภิมหาเศรษฐี  เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประดับที่มีราคาต่ำสุดตั้งแต่กระถางละ 20 บาทขึ้นไปจนถึงโคตรแพงราคาต้นละเป็นหมื่นบาทขึ้นไปเรียกว่าใครมีเงินน้อยก็ลงทุนน้อย ใครมีเงินหนาก็ลงทุนเยอะหน่อย  พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นไม้ที่คนจนก็มีสิทธิที่จะปลูกได้
ส่วนใครจะซื้อแบบกระถางเล็กหรือซื้อประเภทต้นตอเฟื่องฟ้าขนาดใหญ่ฟอร์มดี ๆ ก็ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจในกระเป๋าของแต่ละคนว่า กระเป๋าใบโต ๆ หรือใบเล็กกระจิ๊ดริด และก็อย่างเพิ่งไปดูถูกดูแคลนพวกกระเป๋าใบจิ๋ว ๆ ก็แล้วกัน เพราะเผลอ ๆ เขาอาจจะดวงดีได้เป็นเจ้าของเงินแสนเงินล้านเพราะขายเฟื่องฟ้าให้คุณก็ได้  เรื่องอย่างนี้แล้วแต่ดวงใครดวงมัน ลงมีดวงเศรษฐีซะอย่างยังไง ๆ ก็ต้องเป็นเศรษฐีเข้าจนได้
เฟื่องฟ้าขยายพันธุ์ได้ง่าย  เฟื่องฟ้าสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้หลายรูปแบบ เช่น การปักชำ การตอน การเสียบยอด การติดตา  และขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ซึ่งเกษตรกรและบุคคลที่สนใจทั่วไปก็สามารถที่จะปฏิบัติได้โดยไม่สู้จะยากเย็นมากนัก
เฟื่องฟ้าปลูกง่ายเลี้ยงดูรักษาง่ายโรคแมลงศัตรูน้อย เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประดับไม่ต้องเลี้ยงดูเอาใจใส่มากนัก  เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ประดับและไม้ดอกชนิดอื่น ๆ คือ เลี้ยงง่าย ตายยาก ขยายพันธุ์ง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม คือ ทนน้ำ ทนแล้ง สามารถปลูกขึ้นได้ในดินทั่วประเทศ เช่น ดินทราย ดินเหนียว ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินลูกรัง ไม่มีโรค และแมลงศัตรูพืชรบกวน สามารถนำไปปลูกเลี้ยงในกระถางได้เป็นอย่างดี
จากปัจจัยและเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น  ทำให้เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประดับที่ยืนหยัดครองความนิยมเหนือไม้ดอกไม้ประดับชนิดอื่น ๆ จนตราบเท่าทุกวันนี้
ประวัติและถิ่นกำเนิดของเฟื่องฟ้า
เฟื่องฟ้าเป็นไม้เลื้อยมีหนาม มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปอเมริกาใต้  ได้มีผู้นำเข้าไปยังทวีปยุโรป  หลังจากนั้นก็ได้มีผู้นำเฟื่องฟ้าเข้าไปในทวีปเอเซีย เช่น ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ สำหรับในประเทศไทยนั้นเชื่อกันว่ามีการสั่งพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาครั้งแรกจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2423  ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 และเนื่องจากเฟื่องฟ้านั้นส่วนใหญ่จะออกดอกบานสะพรั่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์  ซึ่งตรงกับเทศกาลตรุษจีนพอดี ชาวบ้านในระยะนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า “ดอกตรุษจีน”
ความนิยม “เฟื่องฟ้า” ในประเทศไทยนั้นบางครั้งก็โด่งดังเป็นพลุ บางครั้งก็ซบเซาเงียบเหงาเช่นเดียวกับไม้ประดับชนิดอื่น ๆ เช่น โกสน บอนสี ขึ้นอยู่กับยุคสมัย  ซึ่งต่อมาในช่วงระยะหลัง ๆ นี้ ก็ได้มีผู้นำพันธุ์เฟื่องฟ้าจากต่างประเทศเข้ามามากมายหลายพันธุ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเฟื่องฟ้า
เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประดับใบที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์หรือแฟมมีลี่ (Family) ไนทาจีเนซีอี้ (Nyctaginaceae) สกุลหรือจีนัส (Genus) บูเกนวิลเลีย (Bougainvillea)
ลำต้น เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประเภทรอเลื้อยมีหนามสำหรับการเกาะเกี่ยว  และป้องกันอันตรายให้แก่ ทรงพุ่ม ลำต้นกลม เปลือกบาง เนื้อไม้แข็งและเหนียว
ใบ เป็นลักษณะของใบเดี่ยว มีทั้งลักษณะเป็นรูปไข่ และกลมรี ยาวรี แผ่นใบกว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. มีทั้งสีเขียวเข้มจนกระทั่งเขียวอ่อนและใบด่าง นอกจากนี้ยังมีใบประดับ  มีสีสันต่าง ๆ มากมายซึ่งคนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าคือดอกของเฟื่องฟ้าจะรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ใบ
ดอก มีขนาดเล็กติดอยู่กับใบประดับ  ไม่มีกลีบดอกมีแต่กลีบเลี้ยงเป็นรูป 5 แฉก ติดกันเป็นหลอด
ผล จะมี 5 เหลี่ยม เมล็ดติดแน่นกับเปลือกผล  เฟื่องฟ้าบางพันธุ์ก็ให้ผลและเมล็ดมากมายจึงมีโอกาสกลายพันธุ์ได้ง่าย แต่บางพันธุ์ก็มีผลและเมล็ดน้อย โอกาสที่จะกลายพันธุ์เนื่องจากการเพาะเมล็ดจึงยาก
พันธุ์เฟื่องฟ้าในเมืองไทย
ในวงการค้าขายเฟื่องฟ้าในปัจจุบันนี้มีการสั่งพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาใจประเทศไทยเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ก็ยังได้เฟื่องฟ้าพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการผสมพันธุ์และกลายพันธุ์จากเฟื่องฟ้าที่มีอยู่ในเมืองไทย  แต่ในบางครั้งก็มีการตั้งชื่อซ้ำซ้อนสับสนกันบ้าง เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนหรือจดทะเบียนเป็นชื่อพันธุ์ไม่ให้ตั้งซ้ำซ้อนกัน  นับว่าเป็นจุดบกพร่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างไร  ชื่อพันธุ์ที่ตั้งขึ้นมาจึงเป็นชื่อเพื่อการค้าและธุรกิจเสียมากกว่าที่จะให้เป็นชื่อที่มีระบบ และหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ
เท่าที่ค้นคว้าและสำรวจได้  ปัจจุบันนี้มีพันธุ์เฟื่องฟ้าในเมืองไทยมีอยู่ประมาณพันธุ์เช่น สุมาลีสยาม สุวรรณี ขาวสุมาลี ม่วงประเสริฐศรี ขาวน้ำผึ้ง พรสุมาลี ทิพมาลี สุมาลีสีทอง สุวรรณีสีทอง สุวรรณีดอกขาว ม่วงประเสริฐ ศรีจินดา ชมพูประเสริฐศรี ม่วงประเสริฐศรีด่างขาว ม่วงประเสริฐศรีด่างเหลือง ม่วงประเสริฐศรีด่างภายใน ทัศมาลีดอกขาว ทัศมาลีด่างมาก ชมพูประเสริฐศรีด่าง ม่วงประเสริฐศรีด่างมาก ด่างส้มเข้ม ศศิวิมล ด่างส้มอ่อน วาสิฎฐี วาสินี วิลาสินี แดงจินดา แดงรัตนา ชมพูนุช ชมพูทิพย์ ส้มมยุรี ส้มอุไรรัตน์ ส้มจินดา เหลืองไพล ไต้หวันแสงสำราญ ส้มจ่า แดงจ่า แดงสมประสงค์ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ใบเขียว ส้มมยุรีใบเขียว เหลืองอรทัย ชมพูทิพย์จินดา สาวิตรีใบเงิน  สาวิตรีศรีสยาม สาวิตรีด่างขอบเหลือง สาวิตรีด่างขอบขาว สาวิตรีศรีสยามด่างขอบขาว สาวิตรีศรีสยามด่างประ แดงมะนิลา ส้มซ้อน ชมพูซ้อน ขาวซ้อน ม่วงซ้อน
ข้อมูลจากการศึกษาและค้นคว้าของ ดร.ณรงค์  โฉมเฉลา
ปัจจุบันนี้ก็มีพันธุ์ใหม่ ๆ ออกสู่ท้องตลาดหลายพันธุ์ด้วยกันเช่น  ม่วงเบญจวรรณ แดงธงชัย ม่วงกุสุมา ใบด่าง ม่วงกุสุมาใบเขียว มุจรินทร์
การขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าเพื่อการค้า
การขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าเพื่อการค้านั้นนิยมทำกันอยู่ 2 ลักษณะ คือ การปักชำกิ่งและการเสียบยอด
การปักชำกิ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
1.  ปักชำกิ่งขนาดเล็กเท่ากับปลายตะเกียบไปจนถึงนิ้วมือ เพื่อปลูกเฟื่องฟ้ากระถางขาย
2.  การปักชำกิ่งใหญ่ หรือกิ่งเฟื่องฟ้าที่เป็นกิ่งแก่ กิ่งติดกับลำต้น ทั้งนี้เพราะว่าเฟื่องฟ้าตอนั้นหายากขึ้น  และมีปริมาณลดน้อยลง ประกอบกับกิ่งเฟื่องฟ้าบางกิ่งนั้นมีลักษณะที่จะจัดเป็นฟอร์มต้นที่สวยงามได้ ก็นำมาปักชำทดแทนต้นตอแท้ ๆ ที่หายาก
3.  การปักชำต้นตอซึ่งเป็นต้นตอเฟื่องฟ้าที่ขุดเอามาจากตามบ้านนอกที่ชาวบ้านปลูกเอาไว้นาน ๆ หลาย ๆ ปี บางต้นมีอายุร่วม 100 ปี ก็มี เมื่อเฟื่องฟ้าแตกยอดแตกกิ่งดีแล้วก็นำมาเสียบยอดเพื่อเปลี่ยนพันธุ์และสีสันต่อไป
การปักชำ
วัสดุ  ขี้เถ้าแกลบหรือแกลบดำจากโรงสี
ดินละเอียด  ส่วนมากเป็นดินจากท้องนาที่ทุบละเอียดดีแล้ว
อัตราส่วนการผสม  ขี้เถ้าแกลบ 5 ส่วน ใช้ดิน 1 ส่วน
วิธีการปักชำนั้น  เท่าที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้นั้น คือ
1.  ปักชำในถุงพลาสติกขนาด 3×5 นิ้วฟุต เจาะรูที่ก้นถึง 2 รู ให้สูงจากก้นถุงมา 1 นิ้วฟุต
2.  การปักชำในกระถางขนาดปากกว้าง 6 นิ้วฟุต  แล้วปักกิ่งชำกระถางละ 3-4 กิ่ง ตามแต่ขนาดของกิ่ง
3.  ปักชำในกะบะชำมีขนาดไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่  หรือความต้อการของเกษตรกร
4.  เกษตรกรบางรายมีเงินทุนสูงก็จะมีเครื่องพ่นหมอกหรือเรือนเพาะชำโดยเฉพาะ
วิธีปักชำ ตัดกิ่งเฟื่องฟ้าขนาดเท่ากับตะเกียบหรือประมาณขนาดนิ้วก้อยให้ยาวประมาณ 20 ซม. แล้วจุ่มในฮอร์โมนเร่งรากและนำมาปักชำลงไปในขี้เถ้าแกลบผสมดิน ตามอัตราส่วนที่กล่าวมาแล้ว  จากนั้นก็นำไปเข้าตู้อบเพื่อเก็บความชื้น  ซึ่งเกษตรกรโดยทั่วๆ ไป นิยมทำเป็นเรือนโรงพลาสติกใสคลุมหมดทุกด้าน อาจจะเป็นทรงหลังคาโค้งทรงหน้าจั่ว ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัดและความต้องการของเกษตรกร  ส่วนความกว้าง ความยาวนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้สอย หรือปริมาณกิ่งที่จะปักชำ แต่ความสูงส่วนมากจะประมาณ 1.00 เมตร ถึง 1.50 เมตร หลังจากปักชำและอบไว้ในตู้อบพลาสติกประมาณ 18-30 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของเฟื่องฟ้า หลังจากนั้นก็นำมาย้ายลงกระถาง ตู้พลาสติกนั้นไม่ควรอยู่กลางที่โล่งแจ้งหรือแดดร้อนจัดจนเกินไปควรจะอยู่ในที่ที่มีแสงแดดรำไร
เมื่อเฟื่องฟ้าแตกยอดแตกรากแล้ว ถ้าหากยังไม่ย้ายลงกระถางก็ให้นำมาพักไว้ในเพิงพักที่มุงหลังคาพลาสติก และคลุมด้วยตาข่ายสีดำเพื่อพรางแสงรดน้ำให้ชุ่ม  แต่อย่าให้แฉะเพราะเฟื่องฟ้าจะรากเน่า
การปลูกเฟื่องฟ้า
โดยปกติแล้วเฟื่องฟ้าเป็นต้นไม้ที่ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดีและค่อนข้างจะทนแล้ง  ปัจจุบันนี้เกษตรกรนิยมปลูกเฟื่องฟ้าลงกระถางมากกว่าวิธีอื่น ๆ เมื่อเฟื่องฟ้าที่ปักชำจนงอกรากดีแล้ว  เกษตรกรก็จะนำมาลงกระถาง  ขนาดปานกลาง 8 นิ้ว โดยใช้ส่วนผสมของดินดังต่อไปนี้
กาบมะพร้าวสับ                          4          ส่วน
ดิน                                            2          ส่วน
แกลบ                                        1          ส่วน
ปุ๋ยคอก                                      1          ส่วน
หญ้าคาสับ                                2          ส่วน
การผสมดินสำหรับปลูกนั้นนิยมนำกาบมะพร้าวทั้ง 4 ส่วนมากองเกลี่ยลงบนลานดินหรือลานซิเมนต์ก่อนแล้วเทหญ้าคาที่สับแล้วทับลงไปเป็นชั้นที่ 2  จากนั้นก็เทแกลบ ปุ๋ยคอก และดินทับลงไปตามลำดับชั้น  วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเวลาในการคลุกเคล้าผสมดินปลูกเฟื่องฟ้าได้มากขึ้น
สำหรับสูตรผสมดินปลูกเฟื่องฟ้านั้น เกษตรกรบางราย  จะใช้กาบมะพร้าวสับ 4 ส่วน ดิน 1 ส่วน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละบุคคล  เมื่อย้ายเฟื่องฟ้าลงปลูกในกระถาง 8 นิ้วเรียบร้อยแล้วก็นำต้นเฟื่องฟ้าไปพักไว้ในที่ร่ม รำไร หรือบังไพร ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เฟื่องฟ้าคายน้ำมากเกินไป เพราะจะเหี่ยวเฉาตายได้ง่ายถ้าถูกแดดราดมากเกินไป  หลังจากพักฟื้นเฟื่องฟ้าไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก็นำเฟื่องฟ้าออกมาวางกลางแดดต่อไป
การรดน้ำและใส่ปุ๋ย
เฟื่องฟ้า  เป็นไม้ประดับที่ไม่ชอบสภาพดินที่ชื้นแฉะเกินไป  ฉะนั้นการรดน้ำพึงควรระมัดระวังอย่าให้แฉะเกินไปและควรวางกระถางเฟื่องฟ้าให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก  ส่วนมากเกษตรกรจะรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น  สำหรับการให้ปุ๋ยนั้นจะใช้สูตรเสมอ 16-16-16 โรยรอบโคนต้นประมาณ 1 ช้อนแกงทุก ๆ 15 วัน และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตามขนาดของต้นเฟื่องฟ้า  ซึ่งจะสังเกตุได้จากความสมบูรณ์ของต้น ใบ และดอกเฟื่องฟ้า
การปลูกเฟื่องฟ้าโดยใช้ตอแขน
กิ่งของเฟื่องฟ้าที่เกษตรกรตัดมาจากต้นตอใหญ่ก็นำมาปักชำในขี้เถ้าแกลบ รดน้ำให้ชุ่มวันละ 1 ครั้งทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 2 เดือน ก็จะแตกรากออกมา เกษตรกรจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากหรือไม่ใช้ก็ได้ หลังจากนั้นย้ายลงกระถาง  โดยใช้ดินผสมเช่นเดียวกับการปลูกเฟื่องฟ้ากิ่งเล็กและนำมาเสียบยอด จัดแต่งทรงพุ่มกันต่อไป
การปลูกเฟื่องฟ้าโดยใช้ “ต้นตอ”
ต้นตอเฟื่องฟ้าที่มีขนาดใหญ่นั้น ปัจจุบันนับวันก็จะหายากยิ่งขึ้นทุกที ซึ่งมีผลให้ราคาค่อนข้างจะสูง  ส่วนมากแล้วจะเป็นต้นตอที่ขุดมาจากต่างจังหวัด ขนใส่รถบรรทุก 10 ล้อ มาขายให้กับบรรดาร้านขายไม้ดอกไม้ไม้ประดับอีกทอดหนึ่ง การปลูกเฟื่องฟ้าโดยใช้ตอใหญ่นั้นเกษตรกรนิยมตัดรากของต้นตอออกให้เหลือเพียงแต่โคนรากแล้วปลูกในกระถาง  โอ่งมังกรขนาดใหญ่  อัดด้วยขุยมะพร้าวให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม  แล้วนำไปวางไว้กลางแดด ถ้าหากเป็นต้นตอที่มีขนาดใหญ่ ใช้กระสอบป่านหุ้มพันกิ่ง  แล้วรดน้ำให้ชุ่มเพื่อป้องกันไม่ให้กิ่งและต้นแห้งตาย  รดน้ำตอนเช้าให้ชุ่มแต่อย่าให้ถึงกับแฉะและควรจะรดน้ำที่กระสอบป่านให้กระสอบชุ่มอยู่เสมอ หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หรือ 2 เดือนกว่า ๆ เฟื่องฟ้าก็จะแตกกิ่งแล้วเราก็เลือกกิ่งที่จะเสียบยอดเพื่อจัดแต่งทรงพุ่มต่อไป
เมื่อขุยมะพร้าวยุบตัวก็ใช้ดินผสมชุดใหม่เติมลงไปให้เต็มกระถางอยู่เสมอและใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ใส่ต้นละ 1-2 กำมือทุก ๆ 15 วัน
ธุรกิจการค้าขายเฟื่องฟ้า
การขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าเพื่อการค้าในปัจจุบันนี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.  การขยายพันธุ์เพื่อเป็นเฟื่องฟ้ากระถาง ตั้งแต่กระถางขนาด 8 นิ้วขึ้นไป จนถึงกระถางมังกร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเฟื่องฟ้ากิ่งเล็ก  ซึ่งอาศัยการปักชำเป็นส่วนใหญ่
2.  การขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าประเภทติดตากับกิ่งที่แตกออกจากตอที่ปักชำในกระถางใหญ่และในขณะเดียวกันก็ทำมาค้าขายเฟื่องฟ้ากระถางดังข้อ 1 ไปด้วย
การขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าตามข้อ 1 นั้นลงทุนน้อยกว่าการขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าในลักษณะติดตาจากกิ่งที่แตกจากตอเฟื่องฟ้า ซึ่งจำเป็นที่จะต้องลงทุนในการซื้อตอค่อนข้างจะสูง  ฉะนั้นผู้ที่จะค้าขายเฟื่องฟ้าในลักษณะเช่นนี้จะต้องมีเงินทุนสูงกว่าลักษณะข้อ 1
ปัจจุบันนี้ตอเฟื่องฟ้าที่ขุดมาจากตามชนบทในเมืองไทยนั้นมีจำนวนลดลงไปมากจนถึงกับต้องมีการสั่งเข้ามาจากประเทศเขมร ทำให้ราคาของต้นตอเพิ่มขึ้น  ส่วนใหญ่แล้วจะมีพ่อค้าไปรับเหมาซื้อบรรทุกรถสิบล้อมาขายต่ออีกทอดหนึ่ง บางต้นหรือบางตอราคาสูงถึง 3,000 -4,000 บาท ก็เคยมี  แต่ถ้าหากติดตาและจัดรูปแบบให้สวยงามแล้ว อาจจะขายได้ในราคา 10,000 บาทขึ้นไปก็ได้  กำไรน่าดูชมเลย
ตอที่เป็นต้นนั้นเรียกว่า “ต้นตอ” ส่วนกิ่งเฟื่องฟ้าก็สามารถนำมาทำตอได้เรียกกันว่า “ตอแขน” เกษตรกรจะซื้อแล้วนำมาปักชำจนแตกกิ่งแล้วก็ติดตาขายได้ ราคากระถางละ 200-1,000 บาทขึ้นไป
ทิศทางของตลาดเฟื่องฟ้าและอนาคต
แหล่งผลิตกิ่งเฟื่องฟ้าเพื่อการค้ามากที่สุดก็ได้แก่ แถบริมเส้นทางสายกรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี สายใหญ่ ช่วงอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย  จังหวัดนนทบุรี อำเภอกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เส้นทาง อ.กระทุ่มแบน ต.ท่าเสา เส้นทางพุทธมณฑล สาย 2 เส้นทางพุทธมณฑล สาย 4
เกษตรกรจากแหล่งดังกล่าวได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันนี้อาชีพการผลิตเฟื่องฟ้าเพื่อการค้านั้นยังคงทำตลาดได้ดีตลอดมาถึงแม้ว่าระยะหลังการปฏิวัตเศรษฐกิจจะซบเซาลงไปบ้าง ทำให้บรรดาบ้านจัดสรรหมู่บ้านต่าง ๆ สร้างน้อยลงและที่สร้างไว้แล้วก็ขายไม่ค่อยจะได้  ก็มีผลกระทบต่อตลาดไม้ดอกไม้ประดับแทบทุกชนิด  โดยเฉพาะบรรดาไม้ประดับที่ใช้ในการจัดสวน
แต่อย่างไรก็ดี ช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เป็นช่วงที่เฟื่องฟ้าออกดอกบานสะพรั่งและสวยงามมากก็ยังคงเป็นที่ดึงดูดใจลูกค้าได้พอสมควร  แต่พอถึงช่วงฤดูฝนดอกเฟื่องฟ้าจะโทรมและร่วงโรยทำให้ความสวยงามลดลง ยอดขายก็จะลดลงด้วย
ฉะนั้นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพปลูกไม้ดอกไม้ประดับจึงมักจะมีไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิดผสมผสานกันเพื่อให้มีรายได้ตลอดทั้งปี  แต่ก็จะมีไม้หลัก ของแต่ละร้าน เพื่อเป็นแหล่งใหญ่ในการจัดซื้อของลูกค้า เช่น เกษตรที่ปลูกเฟื่องฟ้าเป็นไม้หลัก ก็จะมีพวกสน ปาล์ม ตะโก ข่อย เป็นไม้รอง
การลงทุนและผลกำไร
ถ้าจะมองกันเพียงผิวเผินแล้วบางท่านอาจจะคิดว่าอาชีพการปลูกไม้ดอกไม้ประดับนั้นจะต้องร่ำรวยเสมอไป  แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว  เกษตรกรนั้นต้องลงทุนในขั้นต้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะค่าดิน ค่ากระถาง ค่าปุ๋ย ค่าสารพิษฆ่าแมลงศัตรูพืช ค่าแรงงาน
ถ้าหากเป็นเกษตรกรที่ปลูกเฟื่องฟ้ากระถางนั้นจะลงทุนน้อยกว่า เกษตรกรที่ปลูกเฟื่องฟ้าตอใหญ่ขาย ซึ่งจะต้องลงทุนค่าซื้อตอ ๆ หนึ่งไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 บาท ถึงแม้ว่าจะขายได้ราคาตอละ 5,000 – 10,000 บาทขึ้นไปก็ตามแต่ต้องใช้ระยะเวลาการเลี้ยงดูนานนับเป็นปี  อีกทั้งยังต้องรอลูกค้ามาซื้ออีกด้วย มิได้หมายความว่า เมื่อผลิตออกมาแล้วจะขายได้ทันที
สรุปแล้วเฟื่องฟ้ากระถางที่ถ่ายใส่กระถางมังกรแล้ว  ใช้เวลาในการดูแลประมาณ 1 ปี ราคาขายกระถาง 120- 200 บาทขึ้นอยู่กับสีสันและความสวยงาม ต้นทุนในการผลิตทั้งค่าดิน ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย ค่าน้ำ ค่ากระถางรวมแล้วประมาณ 80-90 บาท ฉะนั้นจึงต้องอาศัยการขายให้ได้จำนวนมากกันเข้าไว้ซึ่งเกษตรกรก็ต้องอาศัยลูกค้าประจำลูกค้าจรที่เป็นนักจัดสวน หรือร้านค้าไม้ดอกไม้ประดับในต่างจังหวัด  หรือร้านค้าไม้ดอกไม้ประดับในต่างจังหวัด  ตัวอย่างเช่นขณะนี้จังหวัดสุพรรณบุรีก็กำลังนิยมเฟื่องฟ้ากัน ก็จะมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้ามากว้านซื้อไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกไม้ประดับชนิดอื่นเฟื่องฟ้าก็ยังคงเป็นดาวค้างฟ้าอีกต่อไป และคาดการณ์เอาไว้ว่า ถ้าหากหลังมีการเลือกตั้งแล้ว เศรษฐกินดีขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปโดยไม่ชะงักงันก็ตั้งความหวังไว้ว่า การค้าขาย คงจะดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

Thai Forest Law

กาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2518 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา 7 ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา"

ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2518 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา 48 ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตั้งโรงค้าไม้แปรรูป มีไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยูงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย แปรรูป ไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง หรือมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต"

ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น
(1) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พยุง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า ไม้เก็ตเขาควาย หรือไม้หวงห้ามประเภท ข หรือ

(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว รวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร

ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท”

ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 72 ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ในกรณีความผิดมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น
(1) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พยุง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า ไม้เก็ตเขาควาย หรือไม้หวงห้ามประเภท ข หรือ

(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เกินห้าต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้ที่ครอบครองเกินหนึ่งลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว รวมปริมาตรไม้เกินหนึ่งลูกบาศก์เมตร

ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท”

ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2525 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าการกระทำผิดนั้นเกี่ยวกับ

(1) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระชิก ไม้กระชิบ ไม้พยุง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า ไม้เก็ตเขาควาย หรือไม้หวงห้ามประเภท ข หรือ

(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว รวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตร

ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในลำดับที่ 53 ในช่องประเภท ก ไม้หวงห้ามธรรมดาของบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

Pepper

การปลูกพริกไทย

http://www.dailynews.co.th/agriculture/328882
https://www.facebook.com/pigthaiseelonfanpage/


Cost: 25 B/tree

ปลูกพริกไทยสดเพียง 100 หลัก ได้เงินแสนที่วังทอง
พริกไทย” เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกไปเพียงปีเศษเท่านั้น ต้นจะขึ้นพุ่มจนสุดหลักเสาแต่พุ่มยังไม่แน่นมากและเริ่มออกช่อขายเป็นพริกไทยสดได้บ้างแต่จะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่อต้นพริกไทยมีอายุได้ 3 ปี คุณสมบูรณ์ วงศา บ้านเลขที่ 183/1 บ้านซำนกเหลือง ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65130 เริ่มต้นปลูกพริกไทยพันธุ์ซีลอน (พันธุ์ศรีลังกา) เพื่อผลิตเป็นพริกไทยสดจาก 30 หลัก ขยายพื้นที่ปลูกเป็น 300 กว่าหลักในปัจจุบัน ทำเงินนับแสนบาทต่อปีทำรายได้สูงกว่าไม้ผลทุกชนิดที่เคยปลูกมา

คุณสมบูรณ์จะปลูกพริกไทยหลักละ 4 ต้น ปลูกทั้ง 4 มุม เพื่อให้ต้นพริกไทยเลื้อยเต็มหลักได้เร็วหรือเกิดปัญหาต้นพริกไทยบางต้นที่ปลูกอาจจะตายไม่ต้องเสียเวลาปลูกใหม่ เสาที่ใช้ทำหลักทั่ว ๆ ไปจะใช้ความสูงประมาณ 4 เมตร แต่คุณสมบูรณ์จะสั่งให้หล่อเป็นเสาหน้า 4 สูงเพียง 6 เมตรราคาประมาณต้นละ 150 บาท บริเวณเสาจะมีรอยขีดตามผิวเสาจะช่วยให้ต้นพริกไทยเลื้อยเกาะได้ดี เมื่อต้นพริกไทยเริ่มสูงขึ้นจะต้องใช้เชือกฟางมัดให้ลำต้นเลื้อยขึ้นเถาอยู่เสมอ ถ้าปล่อยให้ต้นเลื้อยลงมาจะพบปัญหาต้นชะงักการเจริญเติบโต เชือกฟางที่ใช้มัดควรเลือกแบบเส้นกลมจะทนทานกว่าเส้นแบน

ปัจจุบันคุณสมบูรณ์จะผลิตพริกไทยสดปีละ 2 รุ่น และมีพ่อค้าจาก จ.จันทบุรีมารับซื้อเป็นประจำ ราคาพริกไทยสด  จะแพงมากในช่วง ต้นปีไปจนตลอด ฤดูแล้งและมีราคา ถูกในช่วงฤดูฝน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา คุณสมบูรณ์ ขายพริกไทยสดจากสวนได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท ในขณะที่ช่วงต้นปี 2551 เป็นต้นมาเคยได้ราคาสูงสุดกิโลกรัมละ 150 บาท คุณสมบูรณ์ยังได้ บอกถึงเทคนิคในการผลิตพริกไทยสด 2 รุ่นต่อปี พริกไทยสดรุ่นที่ 1 จะออกช่อในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม และจะต้องเก็บผลผลิตพริกไทยสดให้หมดภายในเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นให้บำรุง ต้นด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15, สูตร 13-13-21 และสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) ผสมพร้อมกันทั้ง 3 สูตรในอัตราส่วน 1:1:2 และอัตราการ ใส่สำหรับต้นพริกไทยที่มีอายุ 1 ปี ใส่ให้ 1 กำมือ ถ้าเป็นต้นพริกไทยที่ให้ผลผลิตเต็มที่แล้วอายุต้น 5-8 ปี จะใส่ให้ต้นละ 1 กิโลกรัม สำหรับปุ๋ยคอกควรใส่เป็นประจำทุกปีเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินใส่ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี จากประสบการณ์ในการใช้ปุ๋ยคอกของคุณสมบูรณ์ ควรใช้ขี้วัวเก่าจะดีที่สุด ในการปลูกพริกไทย นั้นสภาพดินควรจะมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้าในการกำจัดวัชพืช เนื่องจากต้นพริกไทยเป็นพืชที่ค่อนข้างอ่อนแอ เมื่อถูก ละอองยาของยาฆ่าหญ้าอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวเฉาจนถึงตายได้ แนะนำให้ใช้จอบถากหญ้าบริเวณโคนต้นรัศมี 50 เซนติเมตร ระวังให้กระทบกระเทือนต่อรากพริกไทยให้น้อยที่สุด.

Saturday, January 23, 2016

How to grow banana (ปลูกกล้วยกลับหัว)


Sauropus androgynus (ผักหวานบ้าน)

 ผักหวานบ้าน  เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโตเร็วไม่เหมือนผักหวานป่าที่มีการปลูกค่อนข้างยากกว่ามากซึ่งเป็นข้อดีของผักหวานบ้าน ยอดผักหวานบ้านจะมียอดที่อวบและใหญ่กว่าผักหวานป่าและให้น้ำหนักดี และเป็นที่ต้องการของตลาดทุกวันนี้ แถมราคาถือว่าดีมากเลยทีเดียวครับ วันนี้ผมจึจะมาแนะนำการปลูก ผักหวานบ้าน ไว้ทานเองหรือจะปลูกขายสร้างรายได้กันครับ 

ลักษณะ : เป็นไม้พุ่ม สูง 0.8 - 2 เมตร ไนิยมกินยอดอ่อน กิ่งก้านค่อนข้างเล็ก สีเขียวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ประมาณ 2 - 4 มม. ใบออกแบบสลับ รูปร่างกลมรูปขอบขนาน หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกว้าง 2 - 3.2 ซม. ยาว 3.2 - 6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบใบเรียบ และมีหูใบเป็นแผ่นเล็ก ๆ ที่โคนก้านใบ ดอกสีม่วงแดงหรือแดงเข้มกลุ่มละ 2 - 4 ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกเพศกัน ผลรูปร่างคล้ายลูก มะยม เรียงกันอยู่ใต้ใบ ผลมี 3 พู สีขาวนวลและออกสีชมพูเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0 - 1.5 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก

ทำไมจึงเลือกปลูกผักหวานบ้าน ?


1.ผักหวานบ้านเป็นพืชที่สามารถปลูกครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวได้นานอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นอยู่กับการดูแลที่ถูกวิธี นั้นหมายความว่าเกษตรกรจะลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่มีรายได้ตลอด โดยอาจจะทยอยเก็บทุกวัน ทุก3วันหรือทุก7วันก็ได้

2.ให้ผลตอบแทนเร็ว เพียง 3 เดือนหลังปลูกก็สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ เมื่อผักหวานบ้านอายุได้6เดือน ให้ผลตอบแทนต่อเดือนสูง 1ไร่สามารถทำเงินได้ 15,000 – 30,000 /เดือนขึ้นอยู่กับการดูแลการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

3.ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อยเมื่อเทียบกับพืชผักชนิดอื่นๆ

4.ทางด้านการตลาด ผักหวานปัจจุบันมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ราคาขายในตลาดบางช่วงสูงถึง 200 บาท/กิโลกรัม และราคาไม่ต่ำกว่า 100 บาท/กิโลกรัม ผักหวานบ้านยังคงเป็นสินค้าที่ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก

5.ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูก และเติบโตง่าย สามารถปลูกได้ในสภาพดินที่ไม่ดี ต้านทานโรคได้ดี มีศัตรูทางธรรมชาติน้อยมาก ง่ายต่อการดูแลรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักชนิดอื่นๆ เกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง

6.ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยและการดูแลน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักชนิดอื่นๆ

7.สามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งปี และเมื่อเกษตรยังไม่เก็บผลผลิตก็ไม่เสียหายแต่กลับโตและพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆสามารถตัดกิ่งขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

8.ผักหวานบ้านไม่มีหนาม ต้นไม่สูง การเก็บผลผลิตทำได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว

9.ผักหวานบ้านสามารถปลูกเป็นพืชรองร่วมกับต้นไม้อื่นๆได้ เช่นปลูกในสวนมะนาว สวนมะม่วง สวนฝรั่ง เป็นต้น ที่สำคัญผักหวานบ้านสามารถปลูกเป็นพืชคลุมหน้าดินกันวัชพืชเจริญเติบโตได้ และขายได้อีกด้วย

วิธิการปลูกผักหวานบ้าน

1. เตรียมกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ดี 2500 - 4000 กิ่ง/ไร่

2. เตรียมดินเพื่อทำแปลงปลูก ให้เป็นคันสูงจากพื้นเล็กน้อยเพื่อระบายน้ำ 

3. ระยะห่างการปลูก ระยะร่องปลูก 0.8-1.0 m. ระยะห่างในแถว 0.5-1.0 m.


4. ดูแลใส่ปุ๋ยและให้น้ำเป็นประจำ เพียง 3 เดือนหลังปลูกก็สามารถเริ่มเก็บยอดขายได้แล้วครับ







ต้นทุนในการปลูกผักหวานบ้าน

 กิ่งพันธุ์ผักหวานบ้าน  4,000 กิ่ง (กิ่งล่ะ 3 บาท)12,000 บาท

-  ราคาค่าแรงในการปลูกหรือปรับปรุงพื้นที่ แนะนำให้ปลูกแบบยกแปลง  1ไร่ปลูกได้ ประมาณ 4,000 ต้น  2,000 บาท

-  ราคาค่าอุปกรณ์ระบบจ่ายน้ำ  15,000 บาท


-  ค่าอุปกรณ์อื่นๆ  2,300 บาทรวมต้นทุนในการลงทุนปลูกผักหวานบ้าน พื้นที่ 1 ไร่ เท่ากับ 31,300 บาท

ระยะคืนทุน

ผักหวานจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 3 เดือน โดยเว้นระยะห่าง วัน เก็บได้ ครั้ง  เมื่อผักหวานอายุ มากกว่า 6 เดือนจะได้ผลผลิตผักหวานอยู่ที่ 300 กก./ไร่/เดือนราคาขาย ส่งรถรับซื้อ ราคาต่ำสุด 40 บาท/กิโลกรัม เท่ากับ 12,000 บาท/เดือนราคาขายส่งแผงผักในตลาด(ส่งเอง) 60 บาท/กิโลกรัม เท่ากับ 18,000 บาท/เดือนราคาขายด้วยตนเอง 100 บาท/กิโลกรัม (แต่ปกติจะมากกว่า โดยทั่วไปขายกิโลกรัมล่ะ 200 บาท)  เท่ากับ 30,000 บาท/เดือน



ฝากกดไลค์เพจ : เศรษฐกิจพอเพียง คนรุ้นใหม่หัวใจพอเพียง ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/sedtagidpurpearng